วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

ประจำวันที่  28  มิถุนายน  พ.ศ.2554
___________________________________________

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  • ความหมายของการดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด  เป็นบริการที่มีการจัดระบบการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดแก่ผู้ใช้  โดยจะมีคณะกรรมการทำงานกลางทำการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนาบริการยืมระหว่างห้องสมุด  ก่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน ทำให้เกิดการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น  ซึ่งการดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังต่อไปนี้
(1)การจัดทำคู่มือ
-เพื่อให้แต่ละห้องสมุดทราบถึงหลักปฏิบัติในการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดภายในเครือข่าย ก่อ
(2)การกำหนดมาตรฐานร่วมกัน
-เป็นการกำหนดมาตรฐานของห้องสมุดในเครือข่ายร่วมกัน  เพื่อให้เกิดการให้บริการผู้ใช้ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการใช้ข้อตกลงร่วมกันสำหรับห้องสมุดที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันทั้งหมด  ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการให้บริการผู้ใช้ที่มาใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
(3)การกำหนดรูปแบบการดำเนินงานการประสานงาน
-เป็นการกำหนดนโยบาย สิทธิพิเศษของแต่ละห้องสมุด รวมถึงวิธีการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นสิ่งที่แต่ละห้องสมุดเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษของวิธีการยืมระหว่างห้องสมุดในการให้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดว่ามีข้อจำกัดในการให้บริการยืมมากน้อยเพียงใด
กำหนดรายละเอียดระบบการยืมระหว่างห้องสมุด
-คณะผู้จัดทำจะมีการทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนของการยืมระหว่างห้องสมุดที่ดำเนินการกันในปัจจุบัน
การสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์
-คณะทำงานทำการสำรวจการให้บริการยืมฉบับจริงทางไปรษณีย์ ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะว่ามหาวิทยาลัยหรือสถาบันใดที่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรประเภทใดได้บ้าง จำนวนมากน้อยเพียงใด เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่อาจจะตามมาในภายหลัง และยังเป็นคู่มือการบริการฉบับจริงทางไปรษณีย์ระหว่างห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังต่อไปนี้
(1)การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-Automated ILL)
-เป็นการดำเนินงานที่มีการติดต่อโดยทางไปรษณีย์ อีเมล์ และโทรศัพท์ ซึ่งจะมีการให้กรอกแบบฟอร์มเพื่อยืนยันในการติดต่อขอรับบริการยืมระหว่างห้องสมุด ซึ่งแบบฟอร์มจะมีทั้งแบบที่เป็นเอกสารแบบกระดาษหรือให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากอินเตอร์เน็ตมากรอกข้อมูล  ในบางครั้งการใช้วิธีการเหล่านี้ล้วนทำให้ประสบปัญหาในการติดต่อขอยืมได้ เนื่องจากมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ทำให้ผ้ใช้เกิดความสับสนได้  อีกทั้งหากเป็นห้องสมุดในสถาบันขนาดเล็ก จะพบว่ามีจำนวนบรรณารักษ์ให้บริการไม่เพียงพอ เนื่องจากมีจำนวนน้อย ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการให้บริการผู้ใช้ได้  ในแต่ละห้องสมุดจึงควรมีวิธีการดำเนินการให้บริการ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้บริการผู้ใช้  ดังนี้
(1.1)ควรมีการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต้องมีรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงที่จะใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการใช้
(1.2)ใช้แบบฟอร์ม (Manual Request) เดียวกัน เพื่อช่วยใในการกรอกข้อมูลเกิดความผิดพลาดน้อยลงและไม่ลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ  ดังนั้น แบบฟอร์มที่ดี และการกรอกข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้สถาบันผู้ให้ยืม (Lending Library) ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น
-ในช่วงเวลาที่มีงานมาก แบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลไม่ครบหรือผิดพลาดอาจถูกเก็บไว้ล่างสุด บางสถาบันมีนโยบายไม่รับพิจารณาแบบฟอร์มที่กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง
(2)การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL)
-เป็นการดำเนินงานภายในสถาบันหรือผ่านทางเครือข่าย เพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้นในการรองรับความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบัน หรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ
-สำหรับการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Interlibrary Loan SW-ILL SW) เป็นบริการที่ช่วยทำให้ผู้ใช้ทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศที่มีการจัดให้บริการมีอะไรบ้างและอยู่ที่ใด เพื่อให้การยืมระหว่างสถาบันเกิดความสะดวกรวดเร็วและง่ายยต่อการใช้บริการ รวมถึงการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่าอินเทอร์เน็ตนั้นยังช่วยทำให้สถาบันที่ยืมสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะเลือกยืมจากสถาบันแห่งใดมากที่สุดเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการลดระยะทางในการจัดส่ง หากห้องสมุดติดต่อขอยืมระหว่างห้องสมุดที่ใกล้ที่สุด และยังทำให้ได้ับริการที่ดีที่สุดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
โปรแกรมยืมระหว่างห้องสมุด
-เชื่อมโยงฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมของเครือข่าย ผลการค้นหาจะแสดงรายการห้องสมุดที่มีให้บริการ (Holding Location)
-แสดงฟอร์มขอยืมระหว่างห้องสมุด (ILL Request Form)
-ตรวจสอบการเป็นสมาชิกและต้นสังกัด
-รับคำร้องขอแล้วส่งไปยังสถาบันที่เลือก
-จัดเก็บสถิติและรายงานผลการยืมระหว่างห้องสมุดของแต่ละสถาบัน
การคิดค่าบริการของบริการยืมระหว่างห้องสมุด มีดังนี้
(1)การคิดค่าบริการผู้ใช้
-ในการให้บริการผู้ใช้ควรมีการคิดค่าบริการ ทั้งนี้ อย่างน้อยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน และผู้ใช้ก็มั่นใจว่าสถาบันจะต้องดำเนินการให้อย่างแน่นอน
(2)การคิดค่าบริการพิเศษบางประเภท
-โดยปกติจะมีการคิดค่าบริการสำหรับบริการพิเศษบางอย่างอยู่แล้ว เช่น ค่าใช้บริการค้นข้อมูลออนไลน์ ค่าค้นฐานข้อมูล เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ ค่าไปรษณีย์ ค่าประกันความเสียหาย ค่าบริการจากสถาบันผู้ให้ยืม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น ถ้าหากเกิดความผิดพลาดสถาบันควรมีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ใช้

การจัดส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์

การจัดส่งเอกสาร มีวิธีการดังนี้
-ไปรษณีย์
-บริการส่งพัสดุ
-บริการรับส่งเอกสาร (Courier Service)
-จัดส่งเอกสาร
-ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Delivery [ARIEL]) CD-ROM , Laser Disk , เทคโนโลยี Electronic Image Transfer ช่วยให้สามารถจัดส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลของผู้รับได้ ทั้งนี้ ในการจัดส่งข้อมูลนั้นควรคำนึงถึงจริยธรรมและความถูกต้องทางกฎหมายด้วย
การบรรจุหีบห่อและการจัดส่ง
-การบรรจุหีบห่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวะการณ์ต่างๆ เช่น ฝนตก ความร้อน ความชื้น หรือความเสียหายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นในระบบเครือข่าย สำหรับวัสดุที่ใช้บรรจุทรัพยากรสารสนเทศบางอย่าง เช่น บทความ หรือ หนังสือเล่มบาง อาจบรรจุลงในซองกระดาษ แต่หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรหุ้มปกพลาสติกกันกระแทก หากเป็นหนังสือเล่มใหญ่ หรือบทความหลายๆ บทความอาจต้องใช้กล่องที่มีความแข็งแรงและอาจทำการรับประกันความเสียหาย ในการจัดส่งรูปแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้กัน คือ การจัดส่งทางไปรษณีย์
การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร ควรมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1)แจ้งผู้ขอทันที
-เป็นการแจ้งให้ทราบว่าผู้ใช้ได้รับเอกสารที่ทางสถาบันผู้ให้ยืมจัดส่งให้
(2)จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
-หลังจากที่ผู้ใช้ได้ใช้งานทรัพยากรสารสนเทศที่ตนได้ยืมเสร็จแล้วก็ต้องมีการส่งคืนตามระยะเวลาที่สถาบันผู้ให้ยืมได้กำหนดไว้ เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นเกิดการเปลี่ยนมือไปยังผู้ใช้รายอื่น
(3)หากเป็นบทความ หรือเอกสารที่มีการสำเนาไว้เป็นชุด เป็นของผู้ขอใช้ ไม่ต้องส่งกลับคืนให้แก่ห้องสมุด
ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
-การยืมระหว่างสถาบันเป็นบริการที่ต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ วารสาร วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวัสดุสถาบันอื่นๆ ซึ่งการคัดลอก หรือทำสำเนางานของผู้อื่น แม้ในบางเรื่องจะไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการคัดลอกงานของผู้อื่นด้วย เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของหรือสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของผลงาน
-การยืมระหว่างสถาบันควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติ และป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการทำสำเนา โดยอาจติดไว้ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน หรือที่บริการยืมระหว่างสถาบัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการให้บริการยืมระหว่างสถาบันกับกฎหมายลิขสิทธิ์
การให้บริการยืมระหว่างสถาบันเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ เนื่องจาก มีการทำสำเนาจากสิ่งรีพิมพ์ รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ในห้องสมุดเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซีดี วีซีดี ดีวีดี เป็นต้น ถึงแม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นในการนำไปใช้งานภายในห้องสมุดหรือการให้บริการจากบรรณารักษ์ แต่ก็ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการนำผลงานของเจ้าของผลงานไปใช้งานด้วย โดยที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของ อีกทั้งหากต้องการนำผลงานที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้งานก็ควรที่จะขออนุญาตจากเจ้าของผลงานเสียก่อน เพื่อเป็นการให้เกียรติและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังในการให้บริการเป็นอย่างมาก
Thai Royal Command.jpg

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-มาตรา 27
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-มาตรา 69
ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือ มาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับบตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายลิขสิทธิ์

ความหมายของลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์  หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้น
กฏหมายลิขสิทธิ์ไทย
เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง  ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
เหตุผลที่กฎหมายให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์
เนื่องจาก ผู้เป็นเจ้าของสิขสิทธิ์เป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมา โดยการสร้างสรรค์นั้นต้องใช้สติปัญญาและความสามารถ ผู้สร้างสรรค์จึงต้องได้รับความคุ้มครองจากการที่บุคคลอื่นจะนำงานนั้นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะหากไม่ให้ความคุ้มครองเสียแล้วย่อมทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ
ขอบเขตคุ้มครองงานลิขสิทธิ์
เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองกว้างขวางมากเพียงใด โดยกฎหมายกำหนดสิทธิ์ไว้ดังต่อไปนี้
(1)ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2)เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3)ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4)ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5)อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำทั้ง 5 ข้อนี้ ผู้ใดที่ทำละเมิดสิทธิของเจ้าของงานซึ่งกฎหมายคุ้มครองไว้ จะต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายทางแพ่งแก่เจ้าของงาน การคุ้มครองสิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ มิใช่การคัดลอก ดัดแปลงงายของผู้อื่น กฎหมายจึงกำหนดบทลงโทษหนักและค่าปรับที่สูงมาก ซึ่งไม่คุ้มกับการเสียเวลาคัดลอกงานแล้วอ้างเป็นฝีมือของตน นอกจากนั้นยังเสียโอกาสในการแสดงฝีมือสร้างสรรค์งานของตัวเองไป การเป็นแค่เงาดำจะต้องอยู่ข้างหลังตัวตนแท้จริงเสมอ ถ้ามีฝีมือเก่งจริงต้องก้าวออกจากเงามืดแล้วปรากฏกายแสดงพลังแท้จริงให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นเพื่อชื่นชมผลงานของตน
ระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครองในกฎหมายลิขสิทธิ์
เดิมกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองเป็นระยะเวลา 50 ปี แต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มมาเป็นคุ้มครองขั้นต่ำเป็นเวลา 70 ปี หากเสียชีวิตลงแล้วสามารถคุ้มครองต่ออีกเป็นเวลา 20 ปี สำหรับในอเมริกาถ้าเป็นผลงานขององค์กรให้ระยะเวลาการคุ้มครองถึง 120 ปี

ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

ปัญหาของลิขสิทธิ์  การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สามารถพบเห็นได้ โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นซีดีเพลง วีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ เกม และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ สะทอ้นให้เห็นถึงการไม่เอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์และการที่ผู้ซื้อไม่เห็นความสำคัญของการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่มีปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยในปี พ.ศ.2550 นั้น ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์
-กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการดังต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
(1)ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(2)เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3)แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(4)นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
การละเมิดนำงานลิขสิทธิ์ไปหากำไรโดยรู้หรือมีเหตุควรรู้ได้ จะใช้ลงโทษเจ้าของร้านค้า ผู้จัดการ ลูกจ้างที่รู้ชัดหรือมีเหตุควรรู้ว่ากำลังขาย เผยแพร่ นำเข้างานอันมีลิขสิทธิ์ ดังนั้น ร้าค้าใดขายแผ่นซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ หนังสือ ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ที่ต้องได้รับโทษในดคีประเภทนี้ คือ เจ้าของร้าน ผู้จัดการ ลูกจ้างขายของ ซึ่งต้องรู้หรือควรรู้ว่ากำลังจำหน่ายงานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย พวกเขาจึงรับโทษอาญาหรือจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงาน กรณีสำนักพิมพ์ผลิตหนังสือที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น นอกจากนักเขียนที่ลอกหรือดัดแปลงงานนั้นต้องรับโทษอาญาแล้ว หากสำนักพิมพ์ทราบว่าผลิตงานโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของงานก่อน แล้วยังออกจำหน่ายอีก จะต้องรับโทษร่วมกับนักลอกด้วย ซึ่งการทำเพื่อเห็นแก่การค้าหากำไร ผู้กระทำจะรับโทษจำคุกสูงขึ้นและปรับมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น การผลิตงานเผยแพร่จึงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีการแจ้งเตือนให้พิจารณาว่าละเมิดงานลิขสิทธิ์ต้องรีบตรวจสอบทันทีและงดเผยแพร่งานเพื่อมิให้ต้องรับโทษอาญาร่วมกับนักคัดลอกด้วย แต่สำนักพิมพ์มิได้เสียสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากนักคัดลอกเหล่านั้น จะเป็นการปรามนักคัดลอกรุ่นต่อไปมให้ยึดเป็นเยี่ยงอย่างด้วยและลดความเสียหายของตนลงได้
ลิขสิทธิ์โดยธรรม (Fair use)
-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้บัญญัติเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ในมาตรา 32 โดยกำหนดให้การใช้งานลิขสิทธิ์ในบางลักษณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจาก ถือว่าเป็นการใช้ที่มีความเป็นธรรม เช่น การใช้งานในการเรียนการสอน การเสนอรายงานข่าว หรือการใช้งานโดยบรรณารักษ์ห้องสมุด เป็นต้น
-แต่การใช้งานลิขสิทธิ์ดังกล่าวตามที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้จะต้องอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ 2 ประการ ประกอบกัน คือ
(1)ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ
(2)ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิเกินสมควร
สรุปลิขสิทธิ์โดยธรรม
-อนุญาตให้ทำสำเนา งานที่มีลิขสิทธิ์ในจำนวนจำกัด เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษา และวิจัย ห้องสมุด การใช้งานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์ งานศิลปกรรม งานสถาปัตยกรรม
-การทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการวิจารณ์ รายงานข่าว ใช้ในการสอน (รวมถึงการทำสำเนาหลายชุดเพื่อใช้ในห้องเรียน) งานวิชาการ หรืองานวิจัย ไม่ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ และไม่ต้องขออนุญาต


สิทธิ์โดยธรรม (Fair use)
-มาตรา 33
การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
-อนุญาตให้ทำสำเนา งานที่มีลิขสิทธิ์ในจำนวนจำกัด เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย
-การทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการวิจารณ์ รายงานข่าว ใช้ในการสอน (รวมถึงการทำสำเนาไว้หลายชุดเพื่อใช้ในห้องเรียน) งานวิชาการ หรืองานวิจัย ไม่ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ และไม่ต้องขออนุญาต
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
-มาตรา 32
การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
-หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการเฉพาะตัว สามารถที่จะกระทำได้หากมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1)วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2)ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3)ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4)เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5)ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6)ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7)ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8)นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
ลิขสิทธิ์โดยธรรม ห้องสมุด พ.ศ.2537
-มาตรา 34
หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมด้วยการทำซ้ำ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป้นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ในกรณีดังต่อไปนี้
(1)การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(2)การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
จำนวนที่ทำซ้ำตามข้อ (1) และข้อ (2) ต้องไม่เกินจำนวนที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย
งานไม่มีลิขสิทธิ์
-กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดงานที่ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ด้วย หมายความว่า ทุกคนสามารถนำชิ้นงานทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนก่อน อันได้แก่
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น


    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น