วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน (Inter Library Loan / ILL)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน


ประจำวันที่  24  มิถุนายน  พ.ศ.2554
___________________________________

บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน


บริการยืมระหว่างห้องสมุด

  • ความหมายของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    -เป็นบริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน

    Library

  • ลักษณะการยืม  มีดังต่อไปนี้
    (1)ยืมระหว่างสถาบันสาขากับศูนย์กลาง
    -แบ่งออกเป็นสองส่วน  คือ  ภายใน กับ ภายนอก
    (2)ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ
    -การยืมเพื่อวัตถประสงค์ของผู้ใช้หรือห้องสมุด 
    (3)ยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
    -เป็นการยืมระหว่างประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน  โดยอาจจะยืมผ่านทางหอสมุดแห่งชาติของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก


  • บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  ประกอบไปด้วย
    (1)การขอยืม (Borrowing)
    -การขอยืมเป็นการให้ความช่วยเหลือห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีจำนวนทรัพยากรที่จำกัดและไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้ที่มาใช้บริการ  จึงทำให้เกิดการขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันอื่นๆ เกิดขึ้นมา  เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือในด้านทรัพยากรสารสนเทศ ช่วยทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการกระจายไปสู่ผู้ใช้บริการอื่นๆ มากขึ้น  นับว่าเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    (2)การให้ยืม (Lending)
    -การให้ยืมเป็นความช่วยเหลือของห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศแก่ห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่ให้สามารถติดต่อขอหยิบยืมทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดของตนเองได้  เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีไม่สามารถให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการยืม-คืน นับว่าเป็นการรักษากลุ่มผู้ใช้เพื่อให้ยังคงกลับมาใช้ห้องสมุดของตนได้


    ความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้

  • ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ (User Expectation)
    (1)ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้
    -ห้องสมุดจะต้องมีทรัพยากรสารสนเทศที่จำเป็นและเพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้  และต้องทราบว่าผู้ใช้มีความต้องการใช้ทรัพยากรสารเทศใดบ้าง  เพื่อที่ห้องสมุดสามารถจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการแก่ผู้ที่มาใช้บริการได้
    (2)มีความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ
    -เนื่องจากห้องสมุดเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกประเภท  ห้องสมุดจึงต้องจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ  เนื่องจากผู้ใช้คาดหวังว่าจะได้รับสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  อีกทั้งผู้ใช้คาดหวังว่าห้องสมุดจะสามารถจัดหาหนทางที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้จากภายในและภายนอกห้องสมุด
    (3)ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการและมีความเหมาะสม
    -หลังจากที่ห้องสมุดสามารถจัดหาสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้แล้ว ก็ควรทำการสำรวจเพื่อประเมินว่าการให้บริการของห้องสมุดนั้นมีความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ได้มากน้อยเพียงใด  เพื่อให้เกิดการนำไปพัฒนาการให้บริการของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยเพิ่มศักยภาพของห้องสมุดได้  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและให้ความไว้วางใจในห้องสมุดว่าสามารถจัดหาสารสนเทศที่ตนต้องการได้อย่างดีที่สุด  แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในการให้บริการของห้องสมุดได้เป็นอย่างดี  นับว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพของห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจและกลับมาใช้บริการของห้องสมุดอีกในภายหลัง
    (4)มีความน่าเชื่อถือ
    -ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้  สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความน่าเชื่อถือในทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ว่าสามารถให้ข้อมูลได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แล้วก็ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาที่มีความน่าเชื่อถือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดทำก็ย่อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆได้เป็นอย่างดี  หากยิ่งเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนเองจัดทำด้วยแล้ว  ยิ่งทำให้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้เป็นอย่างมาก
    (5)ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง
    -ผู้ใช้ย่อมคาดหวังในการได้รับสารสนเทศที่ตนต้องการใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้เลือกที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง และช่วยสร้างทัศนคติที่ดีในการเข้าใช้บริการในห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้ว่าหากเลือกที่จะมาใช้บริการที่ห้องสมุดจะทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาของผู้ที่มาใช้บริการ  อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการเพราะนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้วยังได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ
    (6)สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้
    -ห้องสมุดสามารถที่จะจัดหาสารสนเทศที่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างดีที่สุด ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถจัดให้ได้ตรงตามความต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในงานบริการให้แก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดคุณภาพในการให้บริการของห้องสมุด ก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านคุณภาพทางด้านการศึกษาว่าห้องสมุดใดสามารถเป็นแหล่งจัดหาและรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี





  • ปรัชญาของการบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)ไม่มีห้องสมุดใดสามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด  เนื่องจาก  มีทรัพยากรสารสนเทศอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงกระจัดกระจายและไม่สามารถเข้าถึงได้  ห้องสมุดจึงไม่สามารถจัดหาสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ทั้งหมด  อีกทั้งห้องสมุดไม่สามารถจัดหาหรือรวบรวมความรู้อีกเป็นจำนวนมากที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างครบถ้วน  จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดขึ้นมา  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมือในการให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อสามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    (2)ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน เนื่องจาก ห้องสมุดอาจจะมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งห้องสมุดจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศกับห้องสมุดอื่นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการยืม-คืนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากห้องสมุดที่อยู่ในเขตภูมิภาคเดียวกันเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายในการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรในแต่ละห้องสมุดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างอาจไม่เป็นที่ต้องการใช้ของผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกในห้องสมุดนั้นๆ แต่อาจเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกของห้องสมุดอื่นๆ เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่าดีกว่าที่ไม่มีผู้ใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด


  • ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)ขยายความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
    (1.1)ช่วยลดปัญหาการมีวัสดุในห้องสมุดไม่เพียงพอ เนื่องจากการใช้สารสนเทศของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลหรือผู้ใช้ของสถาบันขนาดเล็กมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรมีจำนวนน้อย ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการในการใช้เท่าที่ควร
    (1.2)ช่วยลดช่องว่างระหว่างสถาบัน รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้  สามารถช่วยเพิ่มในการขยายการเข้าถึงได้  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีองค์ความรู้ในการศึกษาค้นคว้าได้มากขึ้น ตรงต่อความต้องการใช้มากขึ้น  รวมทั้งมีความหลากหลายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ สามารถเลือกใช้สารสนเทศที่ตนต้องการได้มากยิ่งขึ้น
    (2)ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง
    -การที่จะให้ผู้ใช้ไปใช้บริการในห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่พร้อมนั้นก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เนื่องจากไม่สะดวก และผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ไปใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ เพราะ เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเสียทั้งเวลา เพื่อที่จะให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นความร่วมมือของห้องสมุดขึ้นมา ในการสร้างเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศซึ่งกันและกันในระหว่างห้องสมุด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดปัญหาข้อจำกัดด้านระยะทางได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ใช้ก็ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่นอกเหนือจากห้องสมุดที่ตนเลือกใช้บริการอีกด้วย
    (3)มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่าทุน
    -การที่ห้องสมุดจะจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดนั้นจะต้องมีการพิจารณาและตรวจสอบดูก่อนว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นผู้ใช้มีความจำเป็นหรือความต้องการในการใช้หรือไม่ เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้ทำการสั่งซื้อมาแล้วนั้นตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ย่อมทำให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ไม่มีผู้ใช้มาหยิบยืมเลย เท่ากับเป็นการใช้งบประมาณที่สิ้นเปลือง เนื่องจากห้องสมุดมีงบประมาณอย่างจำกัด หากมีการวางแผนในการจัดซื้อแล้วนั้นก็จะทำให้ทรัพยากรสารสนเทศถูกใช้งานอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ใช้ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง
    (4)ช่วยประหยัดงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงในการซื้อซ้ำซ้อน
    -หากห้องสมุดเกิดความร่วมมือในการจัดทำบรรณานุกรมร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการหลีกเลี่ยงการซื้อทรัพยากรที่ซ้ำซ้อน หากห้องสมุดใดมีทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆแล้ว ก็จะทำให้ห้องสมุดอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันไม่ซื้อทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆอีก เพื่อที่จะได้นำเงินงบประมาณไปซื้อทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ไม่ซ้ำกันแทน ช่วยทำให้ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลายหลายในการให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เป็นทางเลือกให้ผู้ใช้เลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างตรงตามความต้องการและเหมาะสมในการใช้งานได้เป็นอย่างดี
    (5)ช่วยทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายาก
    -เมื่อเกิดเป็นความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศด้วยกันเอง ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการแต่ละห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้มากขึ้น ย่อมหมายความว่าสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของแต่ละห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศๆด้ด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถหายืมได้จากห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่ตนใช้บริการได้  ช่วยทำให้ประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้และช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากได้อีกด้วย
    (6)สร้างความแข็งแรงในการจัดการ
    -ในการร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศย่อมทำให้เกิดการบริหารจัดการร่วมกันได้ดีกว่าการบริหารจัดการของห้องสมุดเพียงลำพัง ซึ่งจะช่วยทำให้ห้องสมุดแต่ละแห่งสามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการให้บริการได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
    (7)สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ
    -บริการยืมระหว่างห้องสมุดจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้หลากหลายและตรงกับความต้องการในการนำไปใช้งานได้มากขึ้น ย่อมทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้เกิดความเชื่อถือในการให้บริการของห้องสมุดและพึงพอใจในการให้บริการ ย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในบริการ และผู้ใช้รู้สึกต้องการที่จะกลับมาใช้บริการอีกในภายหลัง ย่อมส่งผลให้ห้องสมุดเกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้ใช้เป็นอย่างดี




    องค์ประกอบของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    -ในการสร้างเครือข่ายย่อมทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการนอกเหนือจากห้องสมุดที่ตนเองเป็นสมาชิกได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดการกระจายทรัพยากรสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการแลกเปลี่ยนในระหว่างห้องสมุดมากขึ้น ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการใช้งานมากขึ้น ย่อมทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมากและช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในการให้บริการได้เป็นอย่างดี
    (2)การสร้างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
    -การสร้างความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด ย่อมจะต้องมีหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่จัดการบริหารเพื่อให้ห้องสมุดดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีการกำหนดกฎระเบียบหรือข้อบังคับในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศเพื่อให้เกิดการปฎิบัติร่วมกันในการใช้เป็นแนวทางในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดแก่ผู้ที่มาใช้บริการ
    (3)แบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุด
    -การมีแบบฟอร์มในการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศเพื่อให้ห้องสมุดแต่ละแห่งใช้เป็นแบบในการติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดอื่นๆ ในเครือข่ายให้เป็นไปอย่างมีแบบแผนอย่างเดียวกัน ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในการจัดการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
    (4)การเป็นสมาชิกระหว่างห้องสมุด
    -การเป็นสมาชิกระหว่างห้องสมุดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น ช่วยทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศมากขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไกลไปติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง ห้องสมุดจะช่วยจัดการดำเนินการแทนผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น








    การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
    จะเห็นได้ว่าจะต้องมีคณะกรรมการช่วยควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนา มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศในการดำเนินงาน ซึ่งจะมีการจัดทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    (1)การจัดทำคู่มือ
    (2)การกำหนดมาตรฐานร่วมกัน
    (3)กำหนดรูปแบบรายการประสานงาน





    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น