วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับ

กระบวนวิชา 009355  บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ


สรุปเรื่อง  ค่าปรับ


ประจำวันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.2554
______________________________

บริการยืม-คืน


เรื่อง  ค่าปรับ
------------------


การให้บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด
  • ความหมายของค่าปรับ
    ค่าปรับ  เป็นนโยบายส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่มีการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ห้องสมุดที่ฝ่ายบริการยืม-คืน  เนื่องจาก มีการส่งคืนทรัพยาการสารสนเทศหลังกำหนด  เพื่อช่วยให้ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดเกิดการกระจายอย่างทั่วถึงแก่ผู้ที่มาใช้บริการ  ไม่ทำให้เกิดการครอบครองทรัพยากรสารสนเทศที่คนใดคนหนึ่งเป็นระยะเวลานานจนเกินไป  รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการที่ฝ่ายยืม-คืน  นอกจากนี้  ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่มาใช้บริการยืม-คืนมีการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ตนเองยืมตามวันและเวลาที่ทางห้องสมุดได้กำหนดไว้  ค่าปรับจึงเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้ผู้ยืมมีการตรวจสอบและนำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนตามที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้นั่นเอง
  • การกำหนดค่าปรับ มีลักษณะการกำหนด  ดังนี้
    (1)การกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน  จะเห็นได้ว่าแต่ละห้องสมุดมีการกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน  และการกำหนดค่าปรับนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากรที่ห้องสมุดที่ผู้ผู้ใช้ยืมจากห้องสมุด  รวมทั้งจำนวนทรัพยากรที่ยืมจากห้องสมุดนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงใด  หากยืมเป็นจำนวนมากก็ย่อมเสียค่าปรับสูงกว่าการยืมในจำนวนน้อย  และยังขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ยืมว่าได้มีการนำมาคืนเกินกำหนดเป็นจำนวนกี่วัน
    (2)ค่าปรับระยะสั้นจะสูงกว่าการยืมระยะยาว  เนื่องจาก  การยืมระยะสั้นส่วนมากนั้นใช้กับหนังสือที่ผู้ใช้มีความต้องการใช้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาเดียวกัน  อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่เป็นที่รู้จักหรือได้รับความนิยมจากผู้อ่าน  ทำให้ห้องสมุดทำการลดระยะเวลาในการยืมให้เหลือน้อยลง  เพื่อให้หนังสือนั้นเกิดการกระจายสู่ผู้อ่านหรือผู้ที่ต้องการใช้ในการทำงานในขณะนั้นได้อย่างครบถ้วน  เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไม่สามารถยืมหนังสือเล่มนั้นได้  จึงมีการเสียค่าปรับในราคาที่สูงกว่าการยืมระยะยาวเป็นจำนวนมาก สำหรับการยืมระยะยาวส่วนมากนั้นใช้กับหนังสือที่ผู้ใช้บริการไม่มีความต้องการในการใช้เท่าที่ควร มีผู้ยืมน้อย  อีกทั้งอาจเป็นหนังสือที่ไม่ได้รับความนิยมหรือเป็นหนังสือที่มีความล้าสมัยไปแล้ว ห้องสมุดก็จะมีการขยายระยะเวลาในการยืมให้นานขึ้น  และลดค่่าปรับให้น้อยลง  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้หนังสือที่ตนยืมไว้ได้อย่างเต็มที่  เนื่องจาก  หนังสือไม่ค่อยมีผู้ใช้ยืม จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ที่ยืมต้องรีบนำมาคืน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรในห้องสมุดได้อย่างคุ้มค่าและใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการในการใช้งาน
    (3)ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีความแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีความหลากหลาย  มีระดับความสำคัญ  รวมถึงการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน  จึงทำให้ต้องมีการกำหนดค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศตามความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งตีพิมพ์  เช่น  หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล เป็นต้น หรือสิ่งที่ไม่ตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนวัสดุ  ไมโครฟิล์ม  ไมโครฟิช เป็นต้น ยิ่งถ้าหากเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่หาได้ยาก หรือไม่มีการวางขายตามร้านค้าทั่วไปแล้ว  ยิ่งทำให้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ มีความสำคัญมาก ย่อมทำให้มีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้สูง หากผู้ใช้ทำให้เกิดการชำรุดหรือสูญหาย เพื่อนำไปหาซื้อทรัพยากรสารสนเทศอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ อาจทำให้มีการเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อใหม่เพิ่มเข้าไปกับราคาทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดสั่งซื้อ
    (4)ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพื่อแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืน  เป็นสิ่งที่ห้องสมุดควรทำในการแจ้งเตือนวันส่งคืน เพื่อป้องกันผู้ยืมลืมคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ตนนั้นยืมไปให้นำสิ่งที่ตนนั้นยืมมาคืนตามวันและเวลาที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้  เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการหมุนเวียนไปยังผู้ใช้คนอื่นๆได้อย่างทั่วถึง  หรือห้องสมุดอาจมีระบบในการแจ้งเตือนอัตโนมัติเพื่อทำการส่งกำหนดการแจ้งเตือนในการคืนทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ได้รับทราบ  เพื่อรีบนำสิ่งที่ตนยืมมาคีนห้องสมุดได้ทันตามที่ห้องสมุดกำหนดไว้
  • การจัดการปัญหาในการปรับ มีวิธีการดังต่อไปนี้
    (1)มีการยกเว้น  เนื่องมาจากการทำงานผิดพลาดของบรรณารักษ์เอง ทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ยืมและบรรณารักษ์ รวมทั้ง การสื่อสารของบรรณารักษ์กับผู้ยืมมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดวันคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการยืมไป ทำให้ผู้ใช้บริการนำสิ่งที่ตนยืมมาคืนเกินกำหนด
    (2)มีการผ่อนผัน  เป็นการยืดระยะเวลาในการคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ได้ยืมไป เพื่อลดค่าปรับให้แก่ผู้ยืม  ทำให้ผู้ยืมเสียค่าปรับเป็นจำนวนที่น้อยที่สุด  เนื่องจาก  ค่าปรับไม่ใช่เงินรายได้ของห้องสมุดที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการภายในห้องสมุด  อีกทั้งเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ยืมนำสิ่งที่ตนยืมมาคืนห้องสมุด  ช่วยทำให้ห้องสมุดสามารถนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาให้บริการให้ผู้ยืมคนอื่นได้นำไปใช้งาน
    (3)หากไม่มีการคืนและไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ คือ การยกเลิกการเป็นสมาชิกของห้องสมุด  ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการของห้องสมุดได้อีกต่อไป หากประสงค์จะยังคงเป็นสมาชิกของห้องสมุด ต้องทำการสมัครสมาชิกใหม่รวมทั้งชำระค่าปรับที่ยังไม่ได้จ่ายให้แก่ทางห้องสมุด
    (4)ห้องสมุดบางที่อาจจะมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม  หมายความว่าทางห้องสมุดมีการว่าจ้างบริษัทติดตามทวงคืน  โดยจะมีการใช้วิธีการจัดการขั้นเด็ดขาดเพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศกลับคืนสู่ห้องสมุูด  ซึ่งไม่เป็นที่นิยมสำหรับห้องสมุดเท่าที่ควร เนื่องจาก เป็นวิธีที่มีการจัดการขั้นเด็ดขาดกลับผู้ใช้มากเกินไป
    (5)ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำการระงับออก  เป็นระเบียบของมหาวิทยาลัยที่จะต้องทำ จะมีการดำเนินและส่งเรื่องมายังอาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อไม่ให้อนุมัติการสำเร็จการศึกษา (Transcripts)  หากยังคงไม่ชำระค่าปรับที่ค้างไว้กับทางห้องสมุด
    (6)หลังจาก Grace Periodควรกำหนดค่าปรับตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้โดยไม่นับตามความเป็นจริง  ซึ่งเป็นหลัการที่ไม่ได้มุ่งแสวงหารายได้ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ยืมนำทรัพยากรสารสนเทศที่ตนยืมคืนแก่ห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้มีความรับผิดชอบต่อการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการกระจายได้อย่างทั่วถึงสู่ผู้ใช้คนอื่นๆ ดังนั้นห้องสมุดจึงไม่ควรนำค่าปรับมาเป็นสิ่งที่ใช้แสวงหากำไรจากผู้ยืม เพราะ ค่าปรับไม่ใช่แหล่งที่ใช้หาเงินของห้องสมุด  ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ เนื่องจาก ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมและขาดการยืดหยุ่นที่ดี  ห้องสมุดที่ดีจึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีคนเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดให้มากขึ้น ไม่ใช่ส่งเสริมการเสียค่าปรับของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งจะไปลดจำนวนผู้ใช้ให้เข้ามาใช้บริการภายในห้องสมุดลดลงได้
    (7)มีการติดประกาศแจ้งข้อความร่วมมือจากผู้ใช้ เป็นการขอความร่วมมือจากห้องสมุดและผู้ที่มาใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้มีความเข้าใจตรงกันในการให้บริการของทางห้องสมุดแก่ผู้ใช้
    (8)มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนการดำเนินการใดๆ ที่จะระงับสิทธิ เพื่อให้ห้องสมุดทำการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่ห้องสมุดจะทำการระงับสิทธิของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้มีการดำเนินการรักษาสิทธิของตนเพื่อไม่ให้ถูกตัดสิทธิจากห้องสมุดในทันที
  • การจ่ายค่าปรับ  สามารถดำเนินการจ่ายค่าปรับได้ดังต่อไปนี้
    (1)จ่ายที่บริการยืม-คืน  ซึ่งเป็นแผนกที่ให้บริการผู้ใช้ในการจ่ายค่าปรับได้โดยตรง
    (2)จ่ายผ่านระบบจ่ายเงินอัตโนมัติ
    (3)เปิดให้มีโอกาสผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
    (4)สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย เงินที่ได้จากค่าปรับจะต้องมีการนำส่งให้แก่มหาวิทยาลัย  เนื่องจาก  เป็นเงินรายได้  แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ห้องสมุดทำเรื่องขอใช้เงินงบประมาณจากเงินค่าปรับได้  หากห้องสมุดมีรายจ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับห้องสมุด
การเสียค่าปรับหากคืนหลังกำหนด

  • นอกจากนี้  การมีคนมาใช้บริการในห้องสมุดเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะการเข้ามาใช้บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด  ย่อมแสดงให้เห็นว่าห้องสมุดได้รับการไว้วางใจจากผู้ที่มาใช้บริการ ย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและเลือกที่จะเข้ามาใช้บริการห้องสมุด ส่งผลให้ห้องสมุดเกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้ที่มาใช้บริการมากกว่าการที่ห้องสมุดได้รับรายได้จากเงินค่าปรับเป็นจำนวนมากขึ้น  ส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความไม่พอใจหากจะต้องเสียเงินค่าปรับเหล่านั้น  ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อห้องสมุดและอาจจะทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจไม่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกเลย  ย่อมเป็นสิ่งที่ยากหากห้องสมุดจะทำให้ผู้ใช้บริการกลับมารู้สึกพึงพอใจในการให้บริการของห้องสมุดได้เหมือนเดิม  และมีโอกาสเสี่ยงมากที่จะทำให้ผู้ใช้ไม่กลับมาใช้บริการห้องสมุดและเกิดการนำไปบอกต่อแก่ผู้อื่น ย่อมส่งผลให้ห้องสมุดได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  จนทำให้มีผุ้ใช้ลดลง
  • ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม
    (1)ห้องสมุดมีการกำหนดค่าธรรมเนียมในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศได้รับความเสียหายหรือเกิดการชำรุด
    (2)ห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายซึ่่งขึ้นอยู่กับห้องสมุดว่าจะกำหนดในลักษณะใด  โดยจะต้องกำหนดค่าธรรมเนียมที่แน่นอน  ไม่เป็นไปในลักษณะที่จ่ายเกินจริง  และไปเป็นไปเพื่อการค้ากำไร
    (3)ห้องสมุดจะต้องมีการตรวจสอบก่อนหลังจากที่ผู้ยืมนำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนแก่ห้องสมุด  เพื่อตรวจสภาพของทรัพยากรสารสนเทศว่าได้รับความเสียหายหรือไม่  รวมถึงในกรณีที่ผู้ใช้ทำหนังสือหาย  ทางห้องสมุดก็จะดำเนินการตกลงกับผู้ใช้ว่าผู้ใช้จะเป็นผู้ดำเนินการในการรับผิดชอบเพื่อชดใช้ค่าเสียหายด้วยตนเองรวมถึงการติดตามหาซื้อมาทดแทนในสิ่งที่ตนนั้นได้ทำหายไป  หรือจะให้ห้องสมุดเป็นผู้ดำเนินการและจัดการเองทั้งหมด  แต่ทั้งนี้ผู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ห้องสมุดด้วย  เนื่องจากห้องสมุดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
    (4)ผู้ยืมทำหนังสือหายากสูญหาย  ซึ่งหนังสือเล่มนั้นไม่มีการวางขายตามท้องตลาดแล้ว รวมถึงสำนักพิมพ์ไม่ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือเหล่านั้นแล้ว การที่จะหาหนังสือเล่มอื่นๆมาทดแทนหนังสือที่หายากจึงเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาในการดำเนินการ เนื่องจาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดำเนินการสั่งซื้อเพื่อทดแทนหนังสือเล่มเดิม จึงทำให้ต้องมีการเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าปกติ
  • จริยธรรมในการบริการ
    บรรณารักษ์ต้องป้องกันสิทธิของผู้ใช้ โดยสอดคล้องกับหลักการหรือนโยบายของห้องสมุดที่จะต้องให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการหมุนเวียนสู่ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกคน  ป้องกันการเกิดสิทธิการครอบครองเพียงคนใดคนหนึ่งมากจนเกินไป  และบรรณารักษ์ก็ต้องสร้างความเป็นกันเองกับผู้ใช้  เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและเลือกที่จะกลับมาใช้บริการจากห้องสมุดในภายหลัง
การให้บริการของบรรณารักษ์ยืม-คืน

  • การจัดชั้นหนังสือ
    (1)เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ยืม-คืน จะต้องมีการจัดหนังสือที่อยู่บนชั้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ตนต้องการพบ เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสิ่งที่ตนต้องการได้
    (2)ควรมีการจัดหนังสือให้อยู่ในตำแหน่งเดิม  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้หาหนังสือไม่พบ เนื่องจาก  ตำแหน่งหนังสือเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากเดิม

  • การค้นหาหนังสือบนชั้นของผู้ใช้

    (3)บรรณารักษ์ต้องสร้างแนวคิดการมีส่วนร่วมให้กับผู้ใช้  เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น  หรือมีการแนะนำให้คนอื่นเลือกที่จะมาใช้บริการของห้องสมุดมากขึ้น
    (4)บรรณารักษ์จะต้องดำเนินการติดต่อกับผู้ใช้เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้เกิดขึ้นภายในห้องสมุด โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสืออย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ห้องสมุดได้วางเอาไว้
    (5)บรรณารักษ์จะต้องมีการตรวจสอบและคอยหมั่นติดตามหนังสือที่อยู่บนชั้นอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือวางผิดชั้น  หรือสูญหายไปจากชั้น
    (6)หนังสือที่ได้รับความนิยมหรือหนังสือขายดีควรมีการนำมาจัดวางบนชั้นที่สามารถเห็นได้ง่าย  สะดุดตาผู้ที่มาใช้บริการ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามหนังสือที่ได้รับความนิยมหรือหนังสือขายดีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
    (7)บรรณารักษ์ต้องทำการตรวจสอบสถิติหนังสืออย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการตรวจสอบหนังสือว่าหนังสือที่ตนต้องการยังมีการจัดให้บริการยืม-คืนอยู่หรือไม่  ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ที่มาใช้บริการ

การจัดชั้นวางหนังสือในห้องสมุด

ความพึงพอใจของผู้ใช้ในการสืบค้นหนังสือบนชั้น

  • การดูแลรักษา
    บรรณารักษ์ต้องมีการแนะนำวิธีการดูแลรักษาหนังสือให้แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้รักษาทะนุถนอมหนังสือ  ไม่นั่งทับหนังสือ  หรือกินขนมในระหว่างที่อ่านหนังสือ อาจทำให้หนังสือเปรอะเปรื้อนขนมได้ บรรณารักษ์จึงต้องสร้างความร่วมมือให้ผู้ใช้ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อให้หนังสือสามารถใช้งานได้นานขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหนังสือที่ได้รับความเสียหายหรือชำรุด  รวมทั้งหนังสือเกิดการสูญหายได้อีกด้วย  เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการสั่งซื้อหนังสือเข้ามายังห้องสมุดใหม่  ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มขึ้นในการสั่งซื้อทดแทนของเดิม  นอกจากนั้นทางห้องสมุดควรมีการจัดทำคำแนะนำวิธีการดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดีไว้ตามมุมอ่านหนังสือที่มีอยู่ภายในห้องสมุด  เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปฏิบัติในการดูแลรักษาหนังสือ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ใช้หนังสืออย่างทะนุถนอม  ซึ่งเป็นการช่วยดูแลหนังสือให้สามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานานยิ่งขึ้น อย่างเช่น ในการเปิดหนังสือก็ไม่ควรจะกางหนังสือมากจนเกินไป อาจทำให้หนังสือเกิดความชำรุดได้เร็วมากขึ้นและอาจทำให้หน้าหนังสือขาดหายได้ง่าย
ตัวอย่างการเปิดหนังสือของผู้ใช้
  • บัตรสมาชิก
    (1)บัตรพลาสติก
    (2)บัตรติดแถบแม่เหล็ก
    (3)บัตรติดรหัสแถบ
    (4)บัตรอัจฉริยะ
  • บริการจองหรือบริการหนังสือสำรอง
    -เป็นบริการเสริมที่ช่วยกระตุ้นให้มีการยืมทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดมากขึ้น  ซึ่งจะมีระยะเวลาในการยืมที่สั้น  เนื่องจาก  เพื่อให้หนังสือสามารถกระจายสู่ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง
  • IM บน OPAC
    -ต้องมีการสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้  ซึ่งเป็นบริการที่มีไว้สนทนาระหว่างผู้ใช้และบรรณารักษ์ในกรณีที่ผู้ใช้เกิดปัญหาหรือต้องการสอบถามบรรณารักษ์ได้ทันที โปรแกรมที่ห้องสมุดส่วนใหญ่นิยมใช้ก็จะเป็นโปรแกรม Meebo
  • สาเหตุที่ผู้ใช้บริการไม่พอใจ
    (1)ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้
    (2)ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง แจ้งเตือนการส่งช้า
    (3)จำกัดครั้งการยืมต่อ
    (4)ระยะเวลาในการยืมสั้น
    (5)ค่าปรับในการยืมหนังสือ
    (6)เสียงรบกวน
    (7)ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์
    (8)อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
    (9)เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทำงาน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น