วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน (Inter Library Loan / ILL)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน


ประจำวันที่  24  มิถุนายน  พ.ศ.2554
___________________________________

บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน


บริการยืมระหว่างห้องสมุด

  • ความหมายของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    -เป็นบริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน

    Library

  • ลักษณะการยืม  มีดังต่อไปนี้
    (1)ยืมระหว่างสถาบันสาขากับศูนย์กลาง
    -แบ่งออกเป็นสองส่วน  คือ  ภายใน กับ ภายนอก
    (2)ยืมระหว่างสถาบันในประเทศ
    -การยืมเพื่อวัตถประสงค์ของผู้ใช้หรือห้องสมุด 
    (3)ยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ
    -เป็นการยืมระหว่างประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน  โดยอาจจะยืมผ่านทางหอสมุดแห่งชาติของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก


  • บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  ประกอบไปด้วย
    (1)การขอยืม (Borrowing)
    -การขอยืมเป็นการให้ความช่วยเหลือห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีจำนวนทรัพยากรที่จำกัดและไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้ที่มาใช้บริการ  จึงทำให้เกิดการขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันอื่นๆ เกิดขึ้นมา  เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือในด้านทรัพยากรสารสนเทศ ช่วยทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการกระจายไปสู่ผู้ใช้บริการอื่นๆ มากขึ้น  นับว่าเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    (2)การให้ยืม (Lending)
    -การให้ยืมเป็นความช่วยเหลือของห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศแก่ห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่ให้สามารถติดต่อขอหยิบยืมทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดของตนเองได้  เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่มีไม่สามารถให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการยืม-คืน นับว่าเป็นการรักษากลุ่มผู้ใช้เพื่อให้ยังคงกลับมาใช้ห้องสมุดของตนได้


    ความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้

  • ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ (User Expectation)
    (1)ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้
    -ห้องสมุดจะต้องมีทรัพยากรสารสนเทศที่จำเป็นและเพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้  และต้องทราบว่าผู้ใช้มีความต้องการใช้ทรัพยากรสารเทศใดบ้าง  เพื่อที่ห้องสมุดสามารถจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการแก่ผู้ที่มาใช้บริการได้
    (2)มีความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ
    -เนื่องจากห้องสมุดเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกประเภท  ห้องสมุดจึงต้องจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ  เนื่องจากผู้ใช้คาดหวังว่าจะได้รับสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  อีกทั้งผู้ใช้คาดหวังว่าห้องสมุดจะสามารถจัดหาหนทางที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้จากภายในและภายนอกห้องสมุด
    (3)ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการและมีความเหมาะสม
    -หลังจากที่ห้องสมุดสามารถจัดหาสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้แล้ว ก็ควรทำการสำรวจเพื่อประเมินว่าการให้บริการของห้องสมุดนั้นมีความสะดวกรวดเร็วและเหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้ได้มากน้อยเพียงใด  เพื่อให้เกิดการนำไปพัฒนาการให้บริการของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยเพิ่มศักยภาพของห้องสมุดได้  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและให้ความไว้วางใจในห้องสมุดว่าสามารถจัดหาสารสนเทศที่ตนต้องการได้อย่างดีที่สุด  แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในการให้บริการของห้องสมุดได้เป็นอย่างดี  นับว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพของห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจและกลับมาใช้บริการของห้องสมุดอีกในภายหลัง
    (4)มีความน่าเชื่อถือ
    -ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้  สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความน่าเชื่อถือในทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ว่าสามารถให้ข้อมูลได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แล้วก็ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาที่มีความน่าเชื่อถือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดทำก็ย่อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆได้เป็นอย่างดี  หากยิ่งเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนเองจัดทำด้วยแล้ว  ยิ่งทำให้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้เป็นอย่างมาก
    (5)ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง
    -ผู้ใช้ย่อมคาดหวังในการได้รับสารสนเทศที่ตนต้องการใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้เลือกที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง และช่วยสร้างทัศนคติที่ดีในการเข้าใช้บริการในห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้ว่าหากเลือกที่จะมาใช้บริการที่ห้องสมุดจะทำให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาของผู้ที่มาใช้บริการ  อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการเพราะนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้วยังได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ
    (6)สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้
    -ห้องสมุดสามารถที่จะจัดหาสารสนเทศที่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างดีที่สุด ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถจัดให้ได้ตรงตามความต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบ ก็แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในงานบริการให้แก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดคุณภาพในการให้บริการของห้องสมุด ก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านคุณภาพทางด้านการศึกษาว่าห้องสมุดใดสามารถเป็นแหล่งจัดหาและรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี





  • ปรัชญาของการบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)ไม่มีห้องสมุดใดสามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้ได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด  เนื่องจาก  มีทรัพยากรสารสนเทศอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงกระจัดกระจายและไม่สามารถเข้าถึงได้  ห้องสมุดจึงไม่สามารถจัดหาสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ทั้งหมด  อีกทั้งห้องสมุดไม่สามารถจัดหาหรือรวบรวมความรู้อีกเป็นจำนวนมากที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างครบถ้วน  จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดขึ้นมา  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศซึ่งกันและกัน เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมือในการให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อสามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    (2)ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน เนื่องจาก ห้องสมุดอาจจะมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งห้องสมุดจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศกับห้องสมุดอื่นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการยืม-คืนได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากห้องสมุดที่อยู่ในเขตภูมิภาคเดียวกันเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายในการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรในแต่ละห้องสมุดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างอาจไม่เป็นที่ต้องการใช้ของผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกในห้องสมุดนั้นๆ แต่อาจเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกของห้องสมุดอื่นๆ เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่าดีกว่าที่ไม่มีผู้ใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด


  • ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)ขยายความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
    (1.1)ช่วยลดปัญหาการมีวัสดุในห้องสมุดไม่เพียงพอ เนื่องจากการใช้สารสนเทศของผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลหรือผู้ใช้ของสถาบันขนาดเล็กมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรมีจำนวนน้อย ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการในการใช้เท่าที่ควร
    (1.2)ช่วยลดช่องว่างระหว่างสถาบัน รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้  สามารถช่วยเพิ่มในการขยายการเข้าถึงได้  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีองค์ความรู้ในการศึกษาค้นคว้าได้มากขึ้น ตรงต่อความต้องการใช้มากขึ้น  รวมทั้งมีความหลากหลายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ สามารถเลือกใช้สารสนเทศที่ตนต้องการได้มากยิ่งขึ้น
    (2)ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง
    -การที่จะให้ผู้ใช้ไปใช้บริการในห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่พร้อมนั้นก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก เนื่องจากไม่สะดวก และผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ไปใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ เพราะ เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเสียทั้งเวลา เพื่อที่จะให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นความร่วมมือของห้องสมุดขึ้นมา ในการสร้างเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศซึ่งกันและกันในระหว่างห้องสมุด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดปัญหาข้อจำกัดด้านระยะทางได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ใช้ก็ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่นอกเหนือจากห้องสมุดที่ตนเลือกใช้บริการอีกด้วย
    (3)มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่าทุน
    -การที่ห้องสมุดจะจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดนั้นจะต้องมีการพิจารณาและตรวจสอบดูก่อนว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นผู้ใช้มีความจำเป็นหรือความต้องการในการใช้หรือไม่ เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้ทำการสั่งซื้อมาแล้วนั้นตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ย่อมทำให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ไม่มีผู้ใช้มาหยิบยืมเลย เท่ากับเป็นการใช้งบประมาณที่สิ้นเปลือง เนื่องจากห้องสมุดมีงบประมาณอย่างจำกัด หากมีการวางแผนในการจัดซื้อแล้วนั้นก็จะทำให้ทรัพยากรสารสนเทศถูกใช้งานอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ใช้ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง
    (4)ช่วยประหยัดงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงในการซื้อซ้ำซ้อน
    -หากห้องสมุดเกิดความร่วมมือในการจัดทำบรรณานุกรมร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการหลีกเลี่ยงการซื้อทรัพยากรที่ซ้ำซ้อน หากห้องสมุดใดมีทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆแล้ว ก็จะทำให้ห้องสมุดอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันไม่ซื้อทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆอีก เพื่อที่จะได้นำเงินงบประมาณไปซื้อทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่ไม่ซ้ำกันแทน ช่วยทำให้ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่หลายหลายในการให้บริการผู้ใช้ได้มากขึ้น เป็นทางเลือกให้ผู้ใช้เลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างตรงตามความต้องการและเหมาะสมในการใช้งานได้เป็นอย่างดี
    (5)ช่วยทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายาก
    -เมื่อเกิดเป็นความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศด้วยกันเอง ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการแต่ละห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้มากขึ้น ย่อมหมายความว่าสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของแต่ละห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศๆด้ด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถหายืมได้จากห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศที่ตนใช้บริการได้  ช่วยทำให้ประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้และช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่หายากได้อีกด้วย
    (6)สร้างความแข็งแรงในการจัดการ
    -ในการร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศย่อมทำให้เกิดการบริหารจัดการร่วมกันได้ดีกว่าการบริหารจัดการของห้องสมุดเพียงลำพัง ซึ่งจะช่วยทำให้ห้องสมุดแต่ละแห่งสามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการให้บริการได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
    (7)สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ
    -บริการยืมระหว่างห้องสมุดจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้หลากหลายและตรงกับความต้องการในการนำไปใช้งานได้มากขึ้น ย่อมทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้เกิดความเชื่อถือในการให้บริการของห้องสมุดและพึงพอใจในการให้บริการ ย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในบริการ และผู้ใช้รู้สึกต้องการที่จะกลับมาใช้บริการอีกในภายหลัง ย่อมส่งผลให้ห้องสมุดเกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้ใช้เป็นอย่างดี




    องค์ประกอบของบริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน
    (1)การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    -ในการสร้างเครือข่ายย่อมทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการนอกเหนือจากห้องสมุดที่ตนเองเป็นสมาชิกได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดการกระจายทรัพยากรสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการแลกเปลี่ยนในระหว่างห้องสมุดมากขึ้น ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการใช้งานมากขึ้น ย่อมทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เป็นอย่างมากและช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในการให้บริการได้เป็นอย่างดี
    (2)การสร้างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
    -การสร้างความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด ย่อมจะต้องมีหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่จัดการบริหารเพื่อให้ห้องสมุดดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีการกำหนดกฎระเบียบหรือข้อบังคับในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศเพื่อให้เกิดการปฎิบัติร่วมกันในการใช้เป็นแนวทางในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดแก่ผู้ที่มาใช้บริการ
    (3)แบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุด
    -การมีแบบฟอร์มในการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศเพื่อให้ห้องสมุดแต่ละแห่งใช้เป็นแบบในการติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดอื่นๆ ในเครือข่ายให้เป็นไปอย่างมีแบบแผนอย่างเดียวกัน ทำให้เกิดความเป็นระเบียบในการจัดการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
    (4)การเป็นสมาชิกระหว่างห้องสมุด
    -การเป็นสมาชิกระหว่างห้องสมุดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น ช่วยทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศมากขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไกลไปติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง ห้องสมุดจะช่วยจัดการดำเนินการแทนผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น








    การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด
    จะเห็นได้ว่าจะต้องมีคณะกรรมการช่วยควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนา มีคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศในการดำเนินงาน ซึ่งจะมีการจัดทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    (1)การจัดทำคู่มือ
    (2)การกำหนดมาตรฐานร่วมกัน
    (3)กำหนดรูปแบบรายการประสานงาน





    วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    ค่าปรับ

    กระบวนวิชา 009355  บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ


    สรุปเรื่อง  ค่าปรับ


    ประจำวันที่  21  มิถุนายน  พ.ศ.2554
    ______________________________

    บริการยืม-คืน


    เรื่อง  ค่าปรับ
    ------------------


    การให้บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด
    • ความหมายของค่าปรับ
      ค่าปรับ  เป็นนโยบายส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่มีการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ห้องสมุดที่ฝ่ายบริการยืม-คืน  เนื่องจาก มีการส่งคืนทรัพยาการสารสนเทศหลังกำหนด  เพื่อช่วยให้ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดเกิดการกระจายอย่างทั่วถึงแก่ผู้ที่มาใช้บริการ  ไม่ทำให้เกิดการครอบครองทรัพยากรสารสนเทศที่คนใดคนหนึ่งเป็นระยะเวลานานจนเกินไป  รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการที่ฝ่ายยืม-คืน  นอกจากนี้  ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่มาใช้บริการยืม-คืนมีการส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ตนเองยืมตามวันและเวลาที่ทางห้องสมุดได้กำหนดไว้  ค่าปรับจึงเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นให้ผู้ยืมมีการตรวจสอบและนำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนตามที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้นั่นเอง
    • การกำหนดค่าปรับ มีลักษณะการกำหนด  ดังนี้
      (1)การกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน  จะเห็นได้ว่าแต่ละห้องสมุดมีการกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน  และการกำหนดค่าปรับนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากรที่ห้องสมุดที่ผู้ผู้ใช้ยืมจากห้องสมุด  รวมทั้งจำนวนทรัพยากรที่ยืมจากห้องสมุดนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงใด  หากยืมเป็นจำนวนมากก็ย่อมเสียค่าปรับสูงกว่าการยืมในจำนวนน้อย  และยังขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ยืมว่าได้มีการนำมาคืนเกินกำหนดเป็นจำนวนกี่วัน
      (2)ค่าปรับระยะสั้นจะสูงกว่าการยืมระยะยาว  เนื่องจาก  การยืมระยะสั้นส่วนมากนั้นใช้กับหนังสือที่ผู้ใช้มีความต้องการใช้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาเดียวกัน  อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่เป็นที่รู้จักหรือได้รับความนิยมจากผู้อ่าน  ทำให้ห้องสมุดทำการลดระยะเวลาในการยืมให้เหลือน้อยลง  เพื่อให้หนังสือนั้นเกิดการกระจายสู่ผู้อ่านหรือผู้ที่ต้องการใช้ในการทำงานในขณะนั้นได้อย่างครบถ้วน  เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไม่สามารถยืมหนังสือเล่มนั้นได้  จึงมีการเสียค่าปรับในราคาที่สูงกว่าการยืมระยะยาวเป็นจำนวนมาก สำหรับการยืมระยะยาวส่วนมากนั้นใช้กับหนังสือที่ผู้ใช้บริการไม่มีความต้องการในการใช้เท่าที่ควร มีผู้ยืมน้อย  อีกทั้งอาจเป็นหนังสือที่ไม่ได้รับความนิยมหรือเป็นหนังสือที่มีความล้าสมัยไปแล้ว ห้องสมุดก็จะมีการขยายระยะเวลาในการยืมให้นานขึ้น  และลดค่่าปรับให้น้อยลง  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้หนังสือที่ตนยืมไว้ได้อย่างเต็มที่  เนื่องจาก  หนังสือไม่ค่อยมีผู้ใช้ยืม จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ที่ยืมต้องรีบนำมาคืน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรในห้องสมุดได้อย่างคุ้มค่าและใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการในการใช้งาน
      (3)ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีความแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีความหลากหลาย  มีระดับความสำคัญ  รวมถึงการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน  จึงทำให้ต้องมีการกำหนดค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศตามความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งตีพิมพ์  เช่น  หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล เป็นต้น หรือสิ่งที่ไม่ตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนวัสดุ  ไมโครฟิล์ม  ไมโครฟิช เป็นต้น ยิ่งถ้าหากเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่หาได้ยาก หรือไม่มีการวางขายตามร้านค้าทั่วไปแล้ว  ยิ่งทำให้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ มีความสำคัญมาก ย่อมทำให้มีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้สูง หากผู้ใช้ทำให้เกิดการชำรุดหรือสูญหาย เพื่อนำไปหาซื้อทรัพยากรสารสนเทศอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ อาจทำให้มีการเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อใหม่เพิ่มเข้าไปกับราคาทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดสั่งซื้อ
      (4)ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพื่อแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืน  เป็นสิ่งที่ห้องสมุดควรทำในการแจ้งเตือนวันส่งคืน เพื่อป้องกันผู้ยืมลืมคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ตนนั้นยืมไปให้นำสิ่งที่ตนนั้นยืมมาคืนตามวันและเวลาที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้  เพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการหมุนเวียนไปยังผู้ใช้คนอื่นๆได้อย่างทั่วถึง  หรือห้องสมุดอาจมีระบบในการแจ้งเตือนอัตโนมัติเพื่อทำการส่งกำหนดการแจ้งเตือนในการคืนทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ได้รับทราบ  เพื่อรีบนำสิ่งที่ตนยืมมาคีนห้องสมุดได้ทันตามที่ห้องสมุดกำหนดไว้
    • การจัดการปัญหาในการปรับ มีวิธีการดังต่อไปนี้
      (1)มีการยกเว้น  เนื่องมาจากการทำงานผิดพลาดของบรรณารักษ์เอง ทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ยืมและบรรณารักษ์ รวมทั้ง การสื่อสารของบรรณารักษ์กับผู้ยืมมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดวันคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการยืมไป ทำให้ผู้ใช้บริการนำสิ่งที่ตนยืมมาคืนเกินกำหนด
      (2)มีการผ่อนผัน  เป็นการยืดระยะเวลาในการคืนทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ได้ยืมไป เพื่อลดค่าปรับให้แก่ผู้ยืม  ทำให้ผู้ยืมเสียค่าปรับเป็นจำนวนที่น้อยที่สุด  เนื่องจาก  ค่าปรับไม่ใช่เงินรายได้ของห้องสมุดที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการภายในห้องสมุด  อีกทั้งเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ยืมนำสิ่งที่ตนยืมมาคืนห้องสมุด  ช่วยทำให้ห้องสมุดสามารถนำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมาให้บริการให้ผู้ยืมคนอื่นได้นำไปใช้งาน
      (3)หากไม่มีการคืนและไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ คือ การยกเลิกการเป็นสมาชิกของห้องสมุด  ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการของห้องสมุดได้อีกต่อไป หากประสงค์จะยังคงเป็นสมาชิกของห้องสมุด ต้องทำการสมัครสมาชิกใหม่รวมทั้งชำระค่าปรับที่ยังไม่ได้จ่ายให้แก่ทางห้องสมุด
      (4)ห้องสมุดบางที่อาจจะมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม  หมายความว่าทางห้องสมุดมีการว่าจ้างบริษัทติดตามทวงคืน  โดยจะมีการใช้วิธีการจัดการขั้นเด็ดขาดเพื่อให้ทรัพยากรสารสนเทศกลับคืนสู่ห้องสมุูด  ซึ่งไม่เป็นที่นิยมสำหรับห้องสมุดเท่าที่ควร เนื่องจาก เป็นวิธีที่มีการจัดการขั้นเด็ดขาดกลับผู้ใช้มากเกินไป
      (5)ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำการระงับออก  เป็นระเบียบของมหาวิทยาลัยที่จะต้องทำ จะมีการดำเนินและส่งเรื่องมายังอาจารย์ที่ปรึกษา  เพื่อไม่ให้อนุมัติการสำเร็จการศึกษา (Transcripts)  หากยังคงไม่ชำระค่าปรับที่ค้างไว้กับทางห้องสมุด
      (6)หลังจาก Grace Periodควรกำหนดค่าปรับตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้โดยไม่นับตามความเป็นจริง  ซึ่งเป็นหลัการที่ไม่ได้มุ่งแสวงหารายได้ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ยืมนำทรัพยากรสารสนเทศที่ตนยืมคืนแก่ห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้มีความรับผิดชอบต่อการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการกระจายได้อย่างทั่วถึงสู่ผู้ใช้คนอื่นๆ ดังนั้นห้องสมุดจึงไม่ควรนำค่าปรับมาเป็นสิ่งที่ใช้แสวงหากำไรจากผู้ยืม เพราะ ค่าปรับไม่ใช่แหล่งที่ใช้หาเงินของห้องสมุด  ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ เนื่องจาก ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมและขาดการยืดหยุ่นที่ดี  ห้องสมุดที่ดีจึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีคนเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดให้มากขึ้น ไม่ใช่ส่งเสริมการเสียค่าปรับของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งจะไปลดจำนวนผู้ใช้ให้เข้ามาใช้บริการภายในห้องสมุดลดลงได้
      (7)มีการติดประกาศแจ้งข้อความร่วมมือจากผู้ใช้ เป็นการขอความร่วมมือจากห้องสมุดและผู้ที่มาใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้มีความเข้าใจตรงกันในการให้บริการของทางห้องสมุดแก่ผู้ใช้
      (8)มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนการดำเนินการใดๆ ที่จะระงับสิทธิ เพื่อให้ห้องสมุดทำการแจ้งเตือนเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่ห้องสมุดจะทำการระงับสิทธิของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้มีการดำเนินการรักษาสิทธิของตนเพื่อไม่ให้ถูกตัดสิทธิจากห้องสมุดในทันที
    • การจ่ายค่าปรับ  สามารถดำเนินการจ่ายค่าปรับได้ดังต่อไปนี้
      (1)จ่ายที่บริการยืม-คืน  ซึ่งเป็นแผนกที่ให้บริการผู้ใช้ในการจ่ายค่าปรับได้โดยตรง
      (2)จ่ายผ่านระบบจ่ายเงินอัตโนมัติ
      (3)เปิดให้มีโอกาสผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
      (4)สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย เงินที่ได้จากค่าปรับจะต้องมีการนำส่งให้แก่มหาวิทยาลัย  เนื่องจาก  เป็นเงินรายได้  แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ห้องสมุดทำเรื่องขอใช้เงินงบประมาณจากเงินค่าปรับได้  หากห้องสมุดมีรายจ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับห้องสมุด
    การเสียค่าปรับหากคืนหลังกำหนด

    • นอกจากนี้  การมีคนมาใช้บริการในห้องสมุดเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะการเข้ามาใช้บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด  ย่อมแสดงให้เห็นว่าห้องสมุดได้รับการไว้วางใจจากผู้ที่มาใช้บริการ ย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและเลือกที่จะเข้ามาใช้บริการห้องสมุด ส่งผลให้ห้องสมุดเกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้ที่มาใช้บริการมากกว่าการที่ห้องสมุดได้รับรายได้จากเงินค่าปรับเป็นจำนวนมากขึ้น  ส่งผลให้ผู้ใช้เกิดความไม่พอใจหากจะต้องเสียเงินค่าปรับเหล่านั้น  ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อห้องสมุดและอาจจะทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจไม่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดอีกเลย  ย่อมเป็นสิ่งที่ยากหากห้องสมุดจะทำให้ผู้ใช้บริการกลับมารู้สึกพึงพอใจในการให้บริการของห้องสมุดได้เหมือนเดิม  และมีโอกาสเสี่ยงมากที่จะทำให้ผู้ใช้ไม่กลับมาใช้บริการห้องสมุดและเกิดการนำไปบอกต่อแก่ผู้อื่น ย่อมส่งผลให้ห้องสมุดได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  จนทำให้มีผุ้ใช้ลดลง
    • ค่าสมาชิก ค่าธรรมเนียม
      (1)ห้องสมุดมีการกำหนดค่าธรรมเนียมในกรณีที่ทรัพยากรสารสนเทศได้รับความเสียหายหรือเกิดการชำรุด
      (2)ห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายซึ่่งขึ้นอยู่กับห้องสมุดว่าจะกำหนดในลักษณะใด  โดยจะต้องกำหนดค่าธรรมเนียมที่แน่นอน  ไม่เป็นไปในลักษณะที่จ่ายเกินจริง  และไปเป็นไปเพื่อการค้ากำไร
      (3)ห้องสมุดจะต้องมีการตรวจสอบก่อนหลังจากที่ผู้ยืมนำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนแก่ห้องสมุด  เพื่อตรวจสภาพของทรัพยากรสารสนเทศว่าได้รับความเสียหายหรือไม่  รวมถึงในกรณีที่ผู้ใช้ทำหนังสือหาย  ทางห้องสมุดก็จะดำเนินการตกลงกับผู้ใช้ว่าผู้ใช้จะเป็นผู้ดำเนินการในการรับผิดชอบเพื่อชดใช้ค่าเสียหายด้วยตนเองรวมถึงการติดตามหาซื้อมาทดแทนในสิ่งที่ตนนั้นได้ทำหายไป  หรือจะให้ห้องสมุดเป็นผู้ดำเนินการและจัดการเองทั้งหมด  แต่ทั้งนี้ผู้ยืมจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ห้องสมุดด้วย  เนื่องจากห้องสมุดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
      (4)ผู้ยืมทำหนังสือหายากสูญหาย  ซึ่งหนังสือเล่มนั้นไม่มีการวางขายตามท้องตลาดแล้ว รวมถึงสำนักพิมพ์ไม่ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือเหล่านั้นแล้ว การที่จะหาหนังสือเล่มอื่นๆมาทดแทนหนังสือที่หายากจึงเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาในการดำเนินการ เนื่องจาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดำเนินการสั่งซื้อเพื่อทดแทนหนังสือเล่มเดิม จึงทำให้ต้องมีการเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าปกติ
    • จริยธรรมในการบริการ
      บรรณารักษ์ต้องป้องกันสิทธิของผู้ใช้ โดยสอดคล้องกับหลักการหรือนโยบายของห้องสมุดที่จะต้องให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการหมุนเวียนสู่ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกคน  ป้องกันการเกิดสิทธิการครอบครองเพียงคนใดคนหนึ่งมากจนเกินไป  และบรรณารักษ์ก็ต้องสร้างความเป็นกันเองกับผู้ใช้  เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและเลือกที่จะกลับมาใช้บริการจากห้องสมุดในภายหลัง
    การให้บริการของบรรณารักษ์ยืม-คืน

    • การจัดชั้นหนังสือ
      (1)เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ยืม-คืน จะต้องมีการจัดหนังสือที่อยู่บนชั้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ตนต้องการพบ เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสิ่งที่ตนต้องการได้
      (2)ควรมีการจัดหนังสือให้อยู่ในตำแหน่งเดิม  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้หาหนังสือไม่พบ เนื่องจาก  ตำแหน่งหนังสือเกิดความคลาดเคลื่อนไปจากเดิม

    • การค้นหาหนังสือบนชั้นของผู้ใช้

      (3)บรรณารักษ์ต้องสร้างแนวคิดการมีส่วนร่วมให้กับผู้ใช้  เพื่อให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น  หรือมีการแนะนำให้คนอื่นเลือกที่จะมาใช้บริการของห้องสมุดมากขึ้น
      (4)บรรณารักษ์จะต้องดำเนินการติดต่อกับผู้ใช้เพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้เกิดขึ้นภายในห้องสมุด โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสืออย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ห้องสมุดได้วางเอาไว้
      (5)บรรณารักษ์จะต้องมีการตรวจสอบและคอยหมั่นติดตามหนังสือที่อยู่บนชั้นอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือวางผิดชั้น  หรือสูญหายไปจากชั้น
      (6)หนังสือที่ได้รับความนิยมหรือหนังสือขายดีควรมีการนำมาจัดวางบนชั้นที่สามารถเห็นได้ง่าย  สะดุดตาผู้ที่มาใช้บริการ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามหนังสือที่ได้รับความนิยมหรือหนังสือขายดีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
      (7)บรรณารักษ์ต้องทำการตรวจสอบสถิติหนังสืออย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการตรวจสอบหนังสือว่าหนังสือที่ตนต้องการยังมีการจัดให้บริการยืม-คืนอยู่หรือไม่  ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ที่มาใช้บริการ

    การจัดชั้นวางหนังสือในห้องสมุด

    ความพึงพอใจของผู้ใช้ในการสืบค้นหนังสือบนชั้น

    • การดูแลรักษา
      บรรณารักษ์ต้องมีการแนะนำวิธีการดูแลรักษาหนังสือให้แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้รักษาทะนุถนอมหนังสือ  ไม่นั่งทับหนังสือ  หรือกินขนมในระหว่างที่อ่านหนังสือ อาจทำให้หนังสือเปรอะเปรื้อนขนมได้ บรรณารักษ์จึงต้องสร้างความร่วมมือให้ผู้ใช้ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อให้หนังสือสามารถใช้งานได้นานขึ้น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหนังสือที่ได้รับความเสียหายหรือชำรุด  รวมทั้งหนังสือเกิดการสูญหายได้อีกด้วย  เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณในการดำเนินการสั่งซื้อหนังสือเข้ามายังห้องสมุดใหม่  ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มขึ้นในการสั่งซื้อทดแทนของเดิม  นอกจากนั้นทางห้องสมุดควรมีการจัดทำคำแนะนำวิธีการดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดีไว้ตามมุมอ่านหนังสือที่มีอยู่ภายในห้องสมุด  เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปฏิบัติในการดูแลรักษาหนังสือ  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ใช้หนังสืออย่างทะนุถนอม  ซึ่งเป็นการช่วยดูแลหนังสือให้สามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานานยิ่งขึ้น อย่างเช่น ในการเปิดหนังสือก็ไม่ควรจะกางหนังสือมากจนเกินไป อาจทำให้หนังสือเกิดความชำรุดได้เร็วมากขึ้นและอาจทำให้หน้าหนังสือขาดหายได้ง่าย
    ตัวอย่างการเปิดหนังสือของผู้ใช้
    • บัตรสมาชิก
      (1)บัตรพลาสติก
      (2)บัตรติดแถบแม่เหล็ก
      (3)บัตรติดรหัสแถบ
      (4)บัตรอัจฉริยะ
    • บริการจองหรือบริการหนังสือสำรอง
      -เป็นบริการเสริมที่ช่วยกระตุ้นให้มีการยืมทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดมากขึ้น  ซึ่งจะมีระยะเวลาในการยืมที่สั้น  เนื่องจาก  เพื่อให้หนังสือสามารถกระจายสู่ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง
    • IM บน OPAC
      -ต้องมีการสมัครสมาชิกก่อนจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้  ซึ่งเป็นบริการที่มีไว้สนทนาระหว่างผู้ใช้และบรรณารักษ์ในกรณีที่ผู้ใช้เกิดปัญหาหรือต้องการสอบถามบรรณารักษ์ได้ทันที โปรแกรมที่ห้องสมุดส่วนใหญ่นิยมใช้ก็จะเป็นโปรแกรม Meebo
    • สาเหตุที่ผู้ใช้บริการไม่พอใจ
      (1)ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้
      (2)ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง แจ้งเตือนการส่งช้า
      (3)จำกัดครั้งการยืมต่อ
      (4)ระยะเวลาในการยืมสั้น
      (5)ค่าปรับในการยืมหนังสือ
      (6)เสียงรบกวน
      (7)ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์
      (8)อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
      (9)เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทำงาน  

    วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    บริการยืม-คืน หรือ จ่าย-รับ (Circulation Service)


    กระบวนวิชา  009355  บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ  

    สรุปเรื่อง  บริการยืม-คืน (Circulation Service)

    ประจำวันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ. 2554
    _______________________________

    บริการพื้นฐานของห้องสมุด

    บริการยืม-คืน
    -------------------


              บริการยืม-คืนจัดเป็นบริการแรกสุดที่ห้องสมุดทุกแห่งจำเป็นต้องมีขึ้น  เนื่องจาก  เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่ในห้องสมุดให้แก่คนทั่วๆไป  และช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน  เป็นการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ภายในห้องสมุด  แต่บริการยืม-คืน  ก็มีข้อจำกัดในการให้บริการ  คือ  จะมีทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างที่ห้องสมุดไม่สามารถให้ยืมได้  ซึ่งก็คือ  หนังสืออ้างอิง  วารสาร  หนังสือพิมพ์  และอื่นๆ  ที่ห้องสมุดเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะงดให้บริการยืม-คืน  เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการทุกคน  อย่างเช่น  หนังสืออ้างอิง  เป็นหนังสือที่ให้ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงความรู้  จึงไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อหาภายในหนังสือทั้งเล่ม  ใช้เนื้อหาเพียงบางส่วนเท่านั้น  เพราะหนังสืออ้างอิงให้เพียงข้อเท็จจริงสั้นๆ  หากให้ผู้ใช้สามารยืมได้จะก่อให้เกิดปัญหาทำให้ผู้อื่นที่ต้องการใช้ไม่สามารถใช้หนังสืออ้างอิงได้  เนื่องจาก  หนังสืออ้างอิงมีจำกัด  จึงทำให้ห้องสมุดทุกแห่งเห็นตรงกันว่า  ให้ใช้ได้ภายในห้องสมุดเท่านั้น  หากจำเป็นจะต้องใช้ต่อ  ทางห้องสมุดก็จะมีการจัดบริการถ่ายเอกสารให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้หนังสืออ้างอิงนั้นๆ เป็นต้น

       

    เป้าหมายหลักในการให้บริการ  คือ
    • การเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้
    • สามารถนนำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้
    บทบาทหน้าที่ของบริการยืม-คืน
    1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน
      บริการยืม-คืนนับเป็นบริการพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในห้องสมุดสมัยใหม่  เนื่องมาจาก  นโยบายของห้องสมุดรวมทั้งการให้บริการของสถาบันสารสนเทศต่างๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน  อำนวยความสะดวกในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้  ให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศได้ตรงตามที่ต้องการ  ทันต่อการใช้งาน  นับว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ให้เกิดความพึงพอใจในการให้บริการ  เน้นความสะดวกรวดเร็ว  ช่วยประหยัดเวลาให้แก่ผู้ใช้ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
    2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
      งานบริการยืม-คืนเป็นบริการแรกที่ผู้ใช้มองเห็นเป็นสิ่งแรกเมื่อเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด  รวมทั้งมีการเข้ามาติดต่อมากที่สุดในงานห้องสมุด  การบริการยืม-คืนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  บรรณารักษ์จึงต้องมีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่มาใช้บริการ  อย่างเช่น  ให้บริการข้อมูลพื้นฐานของห้องสมุด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการ  ไม่ว่าจะเป็นบริการแนะนำการใช้งานห้องสมุด  การแนะนำทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ที่มีการจัดบริการไว้ในห้องสมุด  เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงการเตรียมพร้อมในการให้บริการของห้องสมุด  ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อห้องสมุด  ช่วยทำให้เกิดความประทับใจจากการให้ความช่วยเหลือในการให้บริการ  อีกทั้งยังมีผลต่อทัศนคติของผู้ที่มาใช้บริการ  ซึ่งการให้บริการถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินคุณภาพในการให้บริการของห้องสมุด
    งานบริการ



    1. ห้องสมุดขนาดเล็ก (The small libraries) 
      บรรณารักษ์มีหน้าที่ในการดูแลจัดการห้องสมุดด้วยตนเอง  จะต้องเป็นคนจัดการงานต่างๆที่มีอยู่ในห้องสมุดทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนโยบายห้องสมุด  การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน  กฎระเบียบต่างๆ ที่จะให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามเพื่อความสะดวกเรียบร้อยของห้องสมุด  การแนะนำงานภายในขอบข่ายงานของห้องสมุดให้ผู้ร่วมงานทุกคนทราบถึงหน้าที่ของตนที่มีต่อห้องสมุด  เพื่อให้เกิดการจัดการงานอย่างมีระบบ  เกิดความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ไม่เพียงแต่บรรณารักษ์ยืม-คืนจะต้องตอบคำถามหรือข้อสงสัยให้แก่ผู้ใช้บริการ  เจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายในห้องสมุดก็จะต้องสามารถตอบคำถามง่ายๆ แทนบรรณารักษ์ได้อีกด้วย
    2. ห้องสมุดขนาดกลาง (The Larger Libraries) 
      เป็นห้องสมุดที่มีจำนวนบรรณารักษ์เพิ่มมากขึ้นกว่าห้องสมุดขนาดเล็ก  จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดสรรบรรณารักษ์ในการทำงาน  โดยมีการแบ่งหน้าที่ในการทำงานในแต่ส่วนของห้องสมุด  จึงต้องมีการตั้งหัวหน้าบรรณารักษ์ขึ้นมา  เพื่อช่วยดูแลจัดการการทำงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุด  ควบคุมให้บรรณารักษ์แต่ละคนมีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง  อีกทั้ง  ผู้ช่วยบรรณารักษ์  รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ห้องสมุด  จำเป็นต้องมีการทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  เพราะมีการทำงานร่วมกันหลายคน  อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้  หากขาดการติดต่อสื่อสารกัน  เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในการให้บริการแก่ผู้ใช้  หากมีความเข้าใจที่ตรงกันแล้ว  จะก่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และสามารถให้ความช่วยเหลือแทนกันได้หากเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นมา  นับว่าเป็นการลดความเสี่ยงในข้อผิดพลาดของห้องสมุดให้ลดน้อยลงไปได้  ก็จะทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นในการใช้บริการของห้องสมุดและจะกลับมาใช้บริการอีกในภายหลัง
    3. ห้องสมุดขนาดใหญ่ (The very large libraries)
      ห้องสมุดขนาดใหญ่ย่อมมีการทำงานซับซ้อนมากขึ้น  จำเป็นที่จะต้องการจัดตั้งหัวหน้าแผนกในแต่ละหน่วยงานขึ้นมา  เพื่อช่วยดูแลจัดการงานในห้องสมุดแต่ละแผนกให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ ในการทำงานย่อมต้องมีการแบ่งหน้าที่หรือแบ่งงานให้แต่ละแผนกรับผิดชอบ  จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แต่ละแผนกเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำงานร่วมกัน  เพื่อป้องกันปัญญาเรื่องคนในการทำงาน  ก็จะช่วยทำให้ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นภายในห้องสมุด  เนื่องจาก  มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก  ย่อมก่อให้เกิดปัญหาได้ง่าย  เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาย่อมส่งผลกระทบต่อห้องสมุดเป็นอย่างมาก  จึงต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในการทำงานของทุกหน่วยงาน
    ความรู้และทักษะที่ต้องการของบรรณารักษ์ยืม-คืน




    • มีใจรักในงานบริการและมีความอดทนสูง
      ในการทำงานย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้บริการได้  เนื่องจาก  งานของบรรณารักษ์ยืม-คืนจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  อาจจะต้องประสบกับปัญหาในการให้บริการไม่ถูกใจแก่ผู้ใช้บริการ  หรือผู้ใช้บริการร้องขอให้ช่วยเหลือเกินกว่าที่ตนจะทำได้  และเมื่อตนไม่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจได้  ผู้ใช้บริการก็อาจจะมีการต่อว่าตนนั้นได้  ย่อมต้องอาศัยความอดทนต่อการพูดคุยกับผู้ที่มาใช้บริการ  และต้องมีความเข้าใจว่าเราไม่สามารถบริการได้ตรงใจให้แก่ผู้ใช้บริการได้ทุกคน  ก็ต้องรู้จักควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งต่อผู้ใช้บริการ  อีกทั้งยังทำงานเกี่ยวกับด้านการบริการ  ก็ต้องให้ความสำคัญต่อผู้ใช้บริการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการไม่พอใจจนนำไปบอกต่อ  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห้องสมุดเป็นอย่างมาก
    • มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้ให้บริการ
      บรรณารักษ์ยืม-คืนย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงต่อทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด  จึงจำเป็นที่จะต้องอธิบายหรือแนะนำเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี  เพื่อเป็นการสร้างเสริมความเข้าใจให้แก่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการได้มากยิ่งขึ้น  ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานให้แก่ผู้ใช้ได้  และยังช่วยทำให้ผู้ใช้เลือกที่จะมาใช้บริการที่ห้องสมุดมากขึ้น
    • มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ฐานข้อมูล OPAC
      สืบเนื่องมาจากยุคสมัยนี้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานของห้องสมุดมากขึ้น  เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ผู้ใช้  เพื่อประหยัดเวลาให้แก่ผู้ใช้ในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด  และยังสามารถให้บริการได้เป็นจำนวนมาก  โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนคน  บรรณารักษ์จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี  เพื่อสามารถให้คำแนะนำหรือช่วยอธิบายการใช้งานให้แก่ผู้ใช้  เนื่องจาก  ผู้ใช้บางคนอาจจะไม่มีความชำนาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์  บรรณารักษ์จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสืบค้นฐานข้อมูล OPAC  เพื่อให้การยืม-คืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และผู้ที่มาใช้งานห้องสมุดสามารถใช้งานบริการการสืบค้นฐานข้อมูล OPAC  ย่อมเป็นการช่วยประหยัดเวลาให้แก่บรรณารักษ์ได้อีกด้วย
    • มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
      การทำงานของบรรณารักษ์ย่อมจะต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้บริการโดยตรง  จึงจะต้องรู้จักที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างชาญฉลาด  โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความรู้ของผู้ที่มาใช้บริการให้เกิดความรู้สึกไม่ดี  บรรณารักษ์จึงต้องมีความระมัดระวังในการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ที่มาใช้บริการ  จึงต้องแก้ปัญหาอย่างรอบคอบและมีเหตุผล  เพราะหากบรรณารักษ์แก้ปัญหาผิดพลาดย่อมมีผลต่อห้องสมุดตามไปด้วย  
    • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
      เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะพบเห็นบริการยืม-คืนเป็นสิ่งแรก  บรรณารักษ์ยืม-คืน  จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเชื้อเชิญให้ผู้ที่มาใช้บริการเข้ามาใช้บริการภายในห้องสมุดด้วยความเต็มใจ  ย่อมเป็นการสร้างความประทับใจแรกเริ่มในการเข้ามาใช้งานบริการของห้องสมุด  สร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้งานในทันทีเมื่อเดินเข้ามาในห้องสมุด  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่มาใช้บริการเกิดทัศนคติที่ดีต่อห้องสมุด  ย่อมก่อให้เกิดความพึงพอใจและส่งผลให้ผู้ใช้บริการกลับมาใช้บริการอีกในภายหลัง  นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกมีความเป็นกันเองกับบรรณารักษ์  ย่อมที่จะกล้าเข้าไปพูดคุยกับบรรณารักษ์มากขึ้น  และบรรณารักษ์ก็ต้องมีการระมัดระวังในการใช้คำพูดด้วยเช่นกัน  ควรมีการใช้คำพูดที่สุภาพไพเราะ  เพื่อทำให้ผู้ฟังแล้วเกิดความสบายใจและเกิดความไว้ใจในตัวบรรณารักษ์  จึงเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของบรรณารักษ์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก  ผู้ใช้บริการจะมาใช้บริการอีกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์เป็นสำคัญ  และบรรณารักษ์เองก็ต้องสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการ  เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย 
    งานที่เกี่ยวข้องกับบริการยืม-คืน  มีดังต่อไปนี้



    1. การยืมและการคืน
      1.1)บริการยืมคืนทรัพยากรห้องสมุดประเภทต่างๆ  ได้แก่  หนังสือ  หนังสือสำรอง  วารสาร   วิทยานิพนธ์  รายงานการวิจัย  สิ่งพิมพ์บริจาค  สิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ด  ซีดีรอม
      1.2)กำหนดระยะเวลาในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศตามนโยบายสถาบัน  โดยทั่วไปหากมีทรัพยากรน้อย  อัตราการยืมสูง  ช่วงเวลาการให้ยืมจะมีระยะเวลาสั้นลง  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีโอกาสได้ใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึง
      1.3)บริการจับจองสิ่งพิมพ์ที่มีผู้ยืมออก  ให้บริการต่ออายุการยืมอัตโนมัติ
      1.4)บริการหนังสือสำรอง
      1.5)บริการตรวจสอบหนังสือ  เมื่อผู้ใช้หาตัวเล่มจากชั้นไม่พบ
      1.6)ปรับสิ่งพิมพ์เกินกำหนดส่งหรือได้รับความเสียหาย  โดยการกำหนดอัตราการปรับและการออกใบเสร็จรับเงิน
      1.7)บริการตอบคำถามชี้แนะสารนิเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดและผู้ติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์
      1.8)บริการยืมระหว่างห้องสมุด (ภายใน) การจัดส่งเอกสาร
      1.9)บริการล็อคเกอร์รับฝากสิ่งของ ตรวจกระเป๋า และสิ่งของที่ผู้ใช้บริการนำติดตัวก่อนออกจากห้องสมุด
    2. การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้  มีการจัดทำขึ้นเพื่อ
      2.1)เพื่อจำแนกว่าใครมีสิทธิ์ยืมทรัพยากรหรือมีสิทธิ์ใช้บริการของสถาบันบริการสารสนเทศ
      2.2)ข้อมูลส่วนบุคคล  ได้แก่  ชื่อ  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์  เพื่อสะดวกในการติดต่อกับผู้ใช้  เช่น การแจ้งให้มารับรายงานรายการที่จองไว้ การทวงรายการที่ค้างส่ง  เป็นต้น
      2.3)สถาบันสารสนเทศจำเป้นต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย  และลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ
    3. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
      - The Integrated Library System (ILS)
      - The Automated Library System
      - The Library Automation System
      -  Library Automation
      ระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาจาก...
      = พัฒนาขึ้นเอง (In-house Developed System)
      = ยืมและนำมาดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมกับห้องสมุดของหน่วยงานนั้น (Adapted System)
      = ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป (Tumkey System)
      = ใช้งานร่วมกับผู้อื่น (Share-System)
    4. เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม-คืน  โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ภายในการดำเนินงานบริการยืม-คืนภายในห้องสมุด  ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว  ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบงานห้องสมุด
      โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริการยืม-คืน  ดังต่อไปนี้


      4.1) เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode)
      - นำมาใช้ในงานการลงทะเบียนยืม-คืนของผู้ใช้
      - ช่วยป้องกันความผิดพลาดในการพิมพ์รหัสข้อมูล
      - เก็บข้อมูลได้ไม่มาก
      - ทำการปรับข้อมูลใหม่ไม่ได้


      4.2)รหัสบาร์โค้ดแบบสองมิติ (QR Code , 2D Barcode)
      -เป็นการพัฒนามาจากเทคโนโลยีรหัสแถบ
      -สามารถบรรจุได้ทั้งสองแนว คือ แนวนอนและแนวตั้ง
      -ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผลิต  เนื่องจากสามารถผลิตได้จากระบบการทำรายการห้องสมุด
      -สามารถจัดเก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ รวมถึงใช้ในการบริการยืม-คืนหนังสือ


      4.3) เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identification)
      -เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ  เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของวัตถุแต่ละชิ้น  ทำให้ทราบถึงประวัติของวัตถุนั้นๆ
      -สามารถใช้ในการติดตามและตรวจสอบวัตถุนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น  ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล  การนำส่งและงานอื่นๆ เช่น การสำรวจทรัพยากรของห้องสมุด การจัดเก็บหนังสือ  เป็นต้น
      -มีการนำมาใช้งานแทนระบบรหัสแถบ
      -สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากตัวเลขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ในภายหลัง
    การใช้บริการยืม-คืนตู้ยืม-คืนอัตโนมัติของผู้ใช้



        การออกแบบห้องสมุด (Library Building)

        กระบวนวิชา  009355  บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ  

        สรุปเรื่อง  Library  Building

        ประจำวันที่  14  มิถุนายน  พ.ศ. 2554
        __________________________

        ความสำคัญของการออกแบบห้องสมุด
        -----------------------------------------------

        Seattle Central Library , USA

                  การออกแบบทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญประการหนึ่งในการดึงดูดให้คนทั่วไปสนใจที่จะเข้ามาใช้บริการ  เราจะเห็นได้ว่าห้องสมุดใดที่มีคนทั่วไปเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก  แสดงว่าห้องสมุดประสบความสำเร็จในการให้บริการ  เนื่องจาก  ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้  และสามารถให้บริการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการในระยะเวลาที่รวเร็วทันต่อการใช้งานของผู้ใช้  อีกทั้งห้องสมุดมีการจัดบริการภายในห้องสมุดที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีร้านกาแฟ ร้านขายอาหาร  ร้านขายเครื่องดื่ม  ร้านขายของที่ระลึกจากห้องสมุด ลานแสดงกิจกรรม มุมสำหรับฟังเพลง ดูวิดีโอ ห้องออกกำลังกาย  ร้านถ่ายเอกสาร  ห้องเรียนพิเศษ ลานกิจกรรม และอื่นๆ  นับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดให้ผู้คนหันมาใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น  และมีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  อีกทั้งยังช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนทั่วๆ ไป  ที่มีความคิดความเข้าใจที่ผิดว่า  ห้องสมุดเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ  เพราะ  เป็นสถานที่ที่มีแต่หนังสือ  จึงเป็นสถานที่ที่มีไว้อ่านหนังสือหรือทำรายงานทำการบ้าน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าลักษณะการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันปรับเปลี่ยนไป  ห้องสมุดจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในสังคมให้มากขึ้น

        การออกแบบห้องสมุด
        ----------------------------
        Birmingham Central Library , England

                  การออกแบบห้องสมุดมีบทบาทต่อการดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการมากที่สุด  ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าหลายๆประเทศมีความพยายามที่จะให้คนเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดมากขึ้น  โดยมีการออกแบบห้องสมุดให้เกิดความน่าสนใจและดึงดูดต่างๆ ดังนี้

        (1)ภายนอกอาคาร  ควรมีความทันสมัย  และมีความแปลกใหม่น่าสนใจ  มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  อย่างเช่น  การออกแบบอาคารให้มีรูปร่างเหมือนห้างสรรพสินค้า  ซึ่งทำให้คนทั่วไปเกิดความสนใจและดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการห้องสมุด

        (2)ภายในอาคาร  ควรเน้นความหรูหราซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการใช้บริการของห้องสมุดประกอบกับรูปลักษณ์ที่ทันสมัย  ย่อมดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการ  อีกทั้งมีการใช้โทนสีในการตกแต่งในแต่ละส่วนของห้องสมุดได้อย่างลงตัวและมีความน่าดึงดูด  รวมถึงชั้นวางหนังสือที่มีมีการตกแต่งชั้นวางหนังสือให้เกิดความแปลกใหม่และสวยงาม  เหมาะสมต่อการใช้งาน  และมีความหลากหลาย  นอกจากนี้โต๊ะและเก้าอี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเน้นความสวยงาม  มีความแปลกใหม่  ทันสมัย  มีรูปทรงที่หลากหลาย  และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อการใช้งานได้  มีการออกแบบที่ทันสมัยเพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่  เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกประทับใจและมีความต้องการอยากที่จะกลับมาใช้บริการที่ห้องสมุดอีกครั้ง  

        (3)สีสันของห้องสมุด  จะพบว่ามีการใช้สีสันที่สดใสภายในห้องสมุดมากขึ้น นอกจากใช้สีโทนเรียบๆ หรือสีอ่อน ๆ เพื่อให้ห้องสมุดรู้สึกมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดเด็กนับว่าสีสันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในห้องสมุดเด็กๆ  สีสันจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เด็กๆเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดมากขึ้น  ช่วยทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็ก

        (4)แสงสว่าง  ห้องสมุดที่ดีจะต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ มีการเน้นใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด  เพื่อช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในห้องสมุด  อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการสามารถมองเห็นได้ชัดเจน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาอ่านหนังสือจำเป็นต้องใช้แสงสว่างที่เพียงพอเพื่อไม่ให้เสียสายตาเวลาอ่านหนังสือหรือขณะใช้คอมพิวเตอร์

        (5)ความสะดวกสบายของผู้ใช้ สามารถเคลื่อนย้ายโต๊ะหรือเก้าอี้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้  จากเมื่อก่อนจะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องสมุด  แต่ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ  แม้ว่าจะทำให้ห้องสมุดขาดความเป็นระเบียบ  แต่จะทำให้ผู้ใช้ได้มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถได้ตามต้องการ  ไม่ว่าจะนั่ง นอนก็สามารถทำได้  ซึ่งเป็นการพักผ่อนไปในตัว ผู้ใช้จะเกิดความรู้สึกพึงพอใจและผ่อนคลาย  ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้าน

        (6)ป้ายและสัญลักษณ์  เป็นสิ่งที่ช่วยแจ้งบริการที่มีอยู่ในห้องสมุดและยังเป็นสิ่งที่ช่วยนำทางให้ผู้ใช้บริการสามารถไปยังบริการต่างๆที่ห้องสมุดจัดบริการไว้ได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการหลงทางหรือสับสน  นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งที่ช่วยแจ้งการเดินทางภายในห้องสมุด   กฎการใช้ห้องสมุด  บทบาทหน้าที่ของห้องสมุด  แสดงสถานที่ตั้งของห้องสมุด แผนผังห้องสมุด แสดงเลขหมู่หนังสือที่ชั้นหนังสือ  ป้ายแสดงการห้ามสูบบุหรี่ แสดงข้อมูลที่จะใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุด  ป้ายโฆษณาการอ่าน  รวมทั้งคำคมหรือข้อคิดดีๆ ให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการได้อีกด้วย  อีกทั้งการทำป้ายที่ดีจึงต้องมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย  มีการจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม  คือ  สามารถมองเห็นป้ายได้ง่าย  ไม่ถูกบดบังหรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้  ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการใช้บริการ
          
        (7)เฟอร์นิเจอร์  เฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในห้องสมุดต้องมีความทันสมัย  มีโต๊ะและเก้าอี้ที่มีรูปทรงที่แปลกใหม่  หลายหลายรูปแบบ  เต็มไปด้วยสีสัน  จะช่วยทำให้ห้องสมุดดูมีชีวิตชีวา  อีกทั้งยังต้องมีการออกแบบเพื่อให้ดึงดูดให้ผู้ใช้เกิดความต้องการอยากจะมาใช้บริการภายในห้องสมุดมากขึ้น  รวมทั้งมีการนำรูปปั้นหรือศิลปะอื่นๆ เช่น  ภาพวาดจิตรกรรม มาตกแต่งในห้องสมุดเพื่อเพิ่มความสวยงามในห้องสมุด  โดยคำนึงถึงความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุด  และยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดได้อีกด้วย

        (8)อุปกรณ์  มีความสำคัญต่อห้องสมุดเป็นอย่างมาก  จะต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ไว้บริการผู้ใช้  เพื่ออำนวยความสะดวกต่อความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้  อย่างเช่น  กระดานไวท์บอร์ด  ปากกาและแปรงลบกระดานไวท์บอร์ด  โปรเจคเตอร์ที่มีไว้นำเสนองานภายในห้องสมุดหรือเพื่อประกอบการเรียนการสอน  Book Binder  Smart Board     Intelligence Board     Wireless Lab Card     Digital Microfilm Scanning     Document Archive Writer   Shelves Reader     Movable Shelving     Key-Lock for system security     Copy Card Vending Machine     Security Gate  เป็นต้น