วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการหนังสือสำรอง

ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554
___________________________________________

บริการหนังสือสำรอง


  • ควาหมายของบริการหนังสือสำรอง
    -บริการหนังสือสำรองเป็นบริการที่ห้องสมุดจัดเพื่อให้อาจารย์นำหนังสือที่ให้บริการของห้องสมุดในการนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนสำหรับวิชาต่างๆ โดยนักศึกษาสามารถสืบค้นรายการหนังสือสำรองได้จากระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดได้จากชื่ออาจารย์ผู้สอน รายวิชาที่สอน หนังสือของห้องสมุดที่นำมาจัดเป็นบริการหนังสือสำรองจะมีระยะเวลาให้ยืมที่สั้น อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับนโยบายห้องสมุดว่าจะกำหนดให้ผู้ใช้ยืมหนังสือสำรองได้นานเท่าใด  หากเป็นสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถยืมหนังสือสำรองได้นานถึง 3 วัน เพื่อให้มีการหมุนเวียนการใช้งานอย่างทั่วถึง นอกจากหนังสือสำรองจะเป็นหนังสือที่อาจารย์กำหนดให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาต่างๆ แล้ว ห้องสมุดยังได้นำหนังสือที่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่ต้องการใช้มาก หรือหนังสือที่มีความน่าสนใจมาจัดทำเป็นหนังสือสำรองด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับบริการยืมได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือของห้องสมุดได้ทุกแห่ง
    -สำหรับการสืบค้นรายการหนังสือสำรองของทางสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถเรียกรายการหนังสือสำรองได้จากระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดได้ 2 ทาง ดังนี้
    (1)สืบค้นจากชื่ออาจารย์ผู้สอน
    (2)สืบค้นจากรายวิชา
  • ปรัชญาของหนังสือสำรอง
    (1)ส่งเสริมการเรียนการสอน
    (2)มีสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ
  • หลักการยืมหนังสือสำรอง
    (1)หนังสือสำรองเป็นทรัพยากรที่มีการจำกัดระยะเวลาในการยืม เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมีอยู่อย่างจำกัด ในบางครั้ง หนังสืออาจไม่เพียงพอให้ผู้ใช้สามารถยืมได้เป็นระยะเวลานาน อีกทั้งผู้ใช้แต่ละคนต่างก็มีความจำเป็นในการใช้เหมือนกัน ก่อให้เกิดการนำทรัพยากรสารสนเทศมาหมุนเวียนให้ผู้ใช้รายอื่นได้อย่างทั่วถึง
    (2)หนังสือสำรองมีการจัดให้บริการที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน และจะมีบรรณารักษ์แผนกยืม-คืนคอยแนะนำและให้บริการแก่ผู้ใช้
    (3)หนังสือสำรองเป็นบริการที่ให้ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ห้องสมุดจะไม่อนุญาตให้นำออกมา
    นอกห้องสมุดได้  แต่ก็มีบางห้องสมุดอาจมีการให้บริการนำไปใช้ภายนอกห้องสมุดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโบบายการให้บริการของห้องสมุดเป็นสำคัญ
    (4)หากอนุญาตให้ยืมหนังสือสำรองจะมีขั้นตอนการยืมตามปกติ โดยติดต่อขอยืมได้ที่โต๊ะบริการยืม-คืน
    (5)การยืมหนังสือสำรองมีการจำกัดเอกสารที่ให้ยืมไว้อย่างแน่นอน
  • ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดให้บริการยืม มีดังต่อไปนี้
    (1)ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
    (2)ทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล ซึ่งหมายความถึงหนังสือของอาจารย์ผู้สอนที่สามารถยืมได้
    (3)ซีดี
    (4)บทความ
    (5)ตัวอย่างบททดสอบ ข้อสอบ ความเรียง
  • ความสำคัญของบริการหนังสือสำรอง
    (1)มีบทบาทในการสนับสนุนการเรียนการสอน
    -เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนแทนอาจารย์ผู้สอน เพื่อเพิ่มโอกาสให้นักศึกษาได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น
    (2)นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
    -เนื่องจากหนังสือสำรองมีการให้บริการยืมในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนให้นักศึกษาได้ใช้อย่างทั่วถึง
    (3)ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
    -บรรณารักษ์มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้โดยตรง เกิดความร่วมมือในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
    (4)คุณภาพการบริการ
    -เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในการให้บริการของห้องสมุดได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงคุณภาพในการให้บริการ ทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้
    (5)นิยมให้บริการในห้องสมุดอุดมศึกษา
    -เนื่องจากมีจำนวนอาจารย์และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความไม่เพียงพอในการให้บริการ  ห้องสมุดจึงจัดให้บริการเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงหนังสือที่ใช้ในการประกอบการเรียนการสอนได้อย่างสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน
    (6)อาจมีการให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนในบางแห่ง
    (7)มีการปรับเปลี่ยนในแต่ละเทอม
    -หลักสูตรที่มีการเปิดการเรียนการสอนในแต่ละเทอมนั้นมีความแตกต่างกัน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน
  • ขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังนี้
    งานที่ปฏิบัติ
    (1)รับใบขอใช้บริการ
    -ใบขอใช้บริการจะเป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลลงไป หรือ อาจเป็นแบบออนไลน์เพื่อความสะดวกในการให้บริการผู้ใช้
    (2)การรับเอกสาร หรือ การคัดทรัพยากรสารสนเทศจัดบริการ ตกลงระยะเวลายืม
    (3)การจัดทำสำเนาหรือสแกน
    -เนื่องจาก หนังสือภายในห้องสมุดมีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องมีการทำสำเนาหรือสแกน ซึ่งทางห้องสมุดจะต้องมีหนังสือที่เป็นฉบับจริงอยู่จึงจะสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำสำเนาหรือสแกนหนังสือเหล่านั้นจนทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานได้รับความเสียหาย ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้บริการผู้ใช้ นอกจากนั้น หากผู้ใช้ต้องการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้งานก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากผู้ใช้คนนั้นไม่ใช่สมาชิกของห้องสมุด บรรณารักษ์ก็ต้องทำการชี้แจงแก่ผู้ใช้ให้เข้าใจว่าไม่สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาให้บริการได้ เพราะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ หากห้องสมุดนำมาให้บริการอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาในภายหลังได้
    (4)การเข้าเล่ม
    -เพื่อให้สามารถดูแลรักษาได้ง่าย ทำให้คงทนถาวร ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หรืออาจจัดทำเป็นแฟ้มเอกสาร
    (5)การจัดระเบียบเอกสารโดยการนำไปจัดหมวดหมู่หรือการจัดระบบที่ทำให้สามารถหยิบยืมได้ง่าย  ซึ่งนิยมนำไปจัดเรียงตามชื่อ กระบวนวิชา ผู้สอน หรือมีการกำหนดหมายเลข ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วและสามารถเข้าใช้ได้ง่ายหากมีการจัดทำเป็นรูปเล่ม
    การทำบัตรยืม
    (1)การกำหนดระยะเวลา ระเบียบในการให้ยืม
    -เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรภายในห้องสมุดที่มีไม่เพียงพอ อีกทั้งงบประมาณของห้องสมุดก็มีอยู่อย่างจำกัด
    (2)การให้บริการยืม-คืน
    (3)การจัดเก็บค่าปรับ
    -เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้นำทรัพยากรสารสนเทศมาคืนห้องสมุดภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศเกิดการกระจายสู่ผู้ใช้รายอื่นได้อย่างทั่วถึง
    (4)การคืน ย้ายเอกสารเก็บ
    (5)การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น บรรณารักษ์จะต้องสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพื่อทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการของห้องสมุด
    (6)การจัดเก็บสถิติ
    -เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบจำนวนบุคลากร บรรณารักษ์ ทรัพยากรสารสนเทศ รวมถึงการให้บริการที่มีอยู่ภายในห้องสมุด ซึ่งการจัดเก็บสถิติจะทำให้ทราบถึงจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการจากห้องสมุด จำนวนบรรณารักษ์ในการให้บริการผู้ใช้ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการผู้ใช้ ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการใช้งานของผู้ใช้ เป็นต้น
    (7)การดูแลรักษาเอกสาร
    -หากเอกสารเกิดความชำรุด เสียหาย บรรณารักษ์ต้องทำการซ่อมแซมเอกสารเหล่านั้นให้สามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    (8)การรักษาความปลอดภัย
    -บรรณารักษ์ต้องดูแลรักษาไม่ให้หนังสือสูญหายไปจากห้องสมุด เพื่อให้สามารถมีไว้ให้บริการผู้ใช้ได้ หากสูญหายอาจเกิดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ตามมาได้ในกรณีที่เป็นหนังสือสำรอง เพราะ หนังสือสำรองอาจมาจากการทำสำเนาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองกรณีที่มีการนำไปใช้งานในห้องสมุดเท่านั้น หากสูญหายย่อมส่งผลกระทบต่อห้องสมุดได้
  • การจัดเก็บ
    -มีการจัดเก็บตามหมายเลขกระบวนวิชา ชื่อผู้สอน เรียงอีกครั้งตามชื่อเรื่อง หรือ ผู้แต่ง หรือมีการกำหนดหมายเลข
    -บทความ แบบทดสอบ จัดเก็บในแฟ้ม และใส่บาร์โค้ดสำหรับยืมออก ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
    -เอกสารที่มีการสแกน ให้มีการจัดเก็บไว้บน OPAC และแจ้งแหล่งจัดเก็บ หรือมีการจัดทำรายชื่อแจ้งแยกไว้และให้สามารถถ่ายโอนได้ทันที
  • การจัดเอกสาร
    (1)การจัดการเอกสาร ต้องมีการประทับตรา
    -ตัวอย่าง ใช้ภายในห้องนี้เท่านั้น
                 ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น
    (2)จัดทำบัตรยืมและมีคำแนะนำเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
    (3)ใช้สีแตกต่างกันในกรณีที่มีระยะเวลาในการให้ยืมแตกต่างกัน
    (4)ใส่ชื่อผู้สอนกระบวนวิชา เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหา
  • ระยะเวลาการยืม
    -ยืมในห้องสมุด โดยทั่วไปกำหนดให้ผู้ใช้ 1 คน สามารถยืมได้ 2 ชั่วโมง และไม่มีการให้บริการยืมต่อได้
    -หากยืมออกนอกห้องสมุดเป็นเวลา 1-2 วัน หรือเฉพาะนอกเวลาทำการ และต้องนำมาคืนภายในเวลาที่กำหนด หากนำมาคืนหลังกำหนดจะมีค่าปรับสูงสำหรับกรณีที่ส่งช้าจะถูกคิดค่าปรับเป็นรายชั่วโมง
    -โดยทั่วไปสำหรับการยืมจะมีระยะเวลาสั้นกว่าการยืมปกติ เพื่อให้ทรัพยากรสามารถหมุนเวียนแก่ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง
    -มีการคิดค่าปรับหากส่งช้า แล้วแต่ห้องสมุดจะกำหนดไว้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่คิดค่าปรับมากจนเกินไป และควรมีระบบการเตือนตามจุดต่างๆ ทีผู้ใช้สามารถเห็นได้ง่าย เช่น บริเวณทางออกของห้องให้บริการหนังสือสำรอง
  • การเข้าถึง
    -โปรแกรมห้องสมุดจะมีงานหนังสือสำรองให้
    -รายการที่มีการสำรองจะมีการแจ้งผลในการค้นหาผ่านทาง OPAC
    -ห้องสมุดอัตโนมัติจะมีโปรแกรมจัดการหนังสือสำรองให้
    -มีการทำรายการแจ้งแยกให้สามารถค้นหาสิ่งตีพิมพ์ได้
    -มีการแจ้งผู้สอนถึงการจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ เพื่อให้ผู้สอนแจ้งนักศึกษาทราบ เนื่องจาก หน้าเว็บไซต์ของทางห้องสมุดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบรรณารักษ์ต้องทำการตรวจสอบในการใช้เว็บไซต์ทุกครั้งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์ โดยเฉพาะบริการที่มีอยู่บนหน้าเว็บไซต์นั้นเมื่อเปลี่ยนแล้วยังคงมีบริการอยู่ครบหรือไม่ หากไม่ครบบรรณารักษ์ควรทำการแจ้งผู้จัดทำเว็บไซต์ให้ทำการเพิ่มเติมบริการที่ขาดหายลงในเว็บ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาว่ามีการใช้ไวยากรณ์บนเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการให้บริการแก่ผู้ใช้
  • ความสัมพันธ์กับผู้สอน
    -ควรพยายามติดต่อสื่อสารกับผู้สอนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
    -ผู้สอนมักลืมว่าได้มอบเอกสารให้ห้องสมุดเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ บรรณารักษ์จึงต้องดำเนินการแจ้งให้มารับ หรือ ประสานงานในรูปแบบการส่งคืนที่ต้องการว่าต้องการจะมารับกลับคืนไป หรือ จะให้เก็บไว้เพื่อดำเนินการใช้ต่อ
  • การจัดเจ้าหน้าที่ คุณสมบัติ
    (1)ควรมีการปรับจำนวนผู้ให้บริการตามจำนวนการเข้าใช้ เนื่องจาก ไม่สามารถกำหนดผู้ใช้ได้อย่างแน่นอน
    (2)มีทักษะการสื่อสาร การประสานงาน การต่อรอง การยืดหยุ่น
    -ต้องมีการประสานงานกับผู้ใช้เมื่อผู้ใช้ประสบปัญหาในการใช้บริการ บรรณารักษ์จึงต้องพยายามแก้ไขปัญหาของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ และควรมีการต่อรองกับผู้ใช้ในการขอความร่วมมือให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามกฎของห้องสมุด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อผู้ใช้ นอกจากนี้บรรณารักษ์ต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อลดปัญหาการสร้างความไม่พอใจในการให้บริการแก่ผู้ใช้
    -มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจาก การทำสำเนาหนังสือ หรือ เอกสารซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
  • Reserve Card หรือ บัตรจอง
    -ควรมีการใช้บัตรสีสำหรับระยะเวลาการยืมที่แตกต่างกัน
    -ควรแทรกบัตรไว้กับเอกสารที่ให้ผู้ใช้ยืม
  • Confidentiality ความลับ และ Reserves
    -ไม่ควรเปิดเผยชื่อผู้ยืม เช่นเดียวกับการยืมแบบปกติ
    -ต้องไม่แจ้งชื่อผู้ยืมแก่ผู้สอน
    -ผู้สอนอาจใช้วิธีการลงชื่อขอยืมไว้
  • การจัดเก็บหนังสือสำรอง
    -บริการหนังสือสำรองจัดเก็บเป็นแบบชั้นปิด
    -บริเวณให้บริการยืม-คืน เพื่อให้สามารถเข้าไปค้นเพื่อให้บริการผู้ใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
    -บริเวณใกล้เคียงกับบริการยืม-คืน
    -ห้องแยกเฉพาะ จะพบว่าตามห้องสมุดขนาดใหญ่จะมีห้องให้บริการหนังสือสำรองแยกเฉพาะจากบริการอื่นๆ
  • การจัดบริเวณบริการ
    -ควรอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับเคาน์เตอร์จ่ายรับ
    -ต้องสามารถมองเห็นได้ง่าย
    -เป็นบริการแบบชั้นปิด
    -ควรมีเครื่องถ่ายเอกสารอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
  • คู่มือการใช้ การแนะนำ
    -สามารถทำผ่านเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
    -มีการแจ้งให้ผู้ใช้ได้ทราบอยู่เสมอ
    -เป็นการอธิบายถึงการใช้งานและขั้นตอนในการทำ
    -การแจ้ง Copyright หรือสิทธิในการใช้ ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าในการใช้งานนั้นต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน ดังนั้น ต้องมีการแจ้งผู้ใช้ให้ทราบอยู่ตลอดเวลาในการให้บริการยืม-คืน
  • แนวโน้มการบริการในอนาคต
    -มีเอกสารดิจิทัลให้สามารถถ่ายโอน และมีแสดงรายการบน OPAC หรือจัดทำรายการฉบับพิมพ์
    -สามารถเข้าถึงได้ทุกที่และทุกเวลา เนื่องจากในปัจจุบันมีการจัดทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้
    -มีการป้องกันสิทธิ มี Password Protected สำหรับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความเป็นส่วนตัว
    -คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง สามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจาก ไม่มีขั้นตอนในการเข้าที่ซับซ้อนยุ่งยากในการเข้าถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น