วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเล่าหนังสือ (Book Talk)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

เรื่อง การเล่าหนังสือ (Book Talk)

ประจำวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2554
_______________________________________________


การเล่าหนังสือ (Book Talk)
  • ความหมายของการเล่าหนังสือ
    การเล่าหนังสือ (Book Talk) เป็นการนำเอาหนังสือที่เลือกมาพูดให้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ โดยเลือกจากจุดเด่นของหนังสือมาเล่า พร้อมทั้งมีหนังสือมาแสดงในขณะที่ผู้เล่ากำลังเล่าเรื่องด้วย เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือเพือดึงดูดให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้ฟังที่จะติดตามหนังสือเล่มนั้นมากยิ่งขึ้น 
  • การเตรียมการและวิธีการเล่าเรื่องหนังสือ
    (1)ทำการเลือกหนังสือที่จะเล่า โดยต้องมีการคำนึงถึงผู้ฟังและผู้เล่าด้วย
    (2)พิจารณาจำนวนผู้ฟัง ระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงจะเห็นได้ว่ามีความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกัน เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะสนใจในเรื่องที่ไม่เหมือนกัน หรืออาจมีความสนใจร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ฟังต้องทำการพิจารณาว่าจะนำประเด็นใดในหนังสือมาพูดเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ฟัง ดังนั้น ต้องอาศัยจิตวิทยาในการเล่าให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังที่มาฟัง
    (3)พิจารณาภูมิหลังของกลุ่มผู้ฟัง ผู้เล่าจะต้องทราบว่ากลุ่มผู้ฟังที่มาฟังเป็นใคร กำลังสนใจในเรื่องอะไร มีประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร และกำลังประสบปัญหาในเรื่องใด เพื่อให้สามารถเลือกหนังสือที่มีความเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มฟังได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางก่อให้เกิดการส่งเสริมการค้นคว้าหาข้อมูลมากขึ้นในกลุ่มผู้ฟัง
    (4)จัดหัวข้อเรื่องที่จะเล่า กำหนดจำนวนหนังสือที่จะนำมาเล่าในหัวข้อนั้นๆ ต้องมีการจัดระเบียบในการฟัง มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเล่า คือ เพื่อรณรงค์ให้มีคนสนใจอ่านหนังสือในห้องสมุดมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ใช้รู้จักหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น
    (5)กำหนดเวลาในการเล่า หลังจากที่ผู้เล่าสามารถกำหนดหัวข้อในการนำมาเล่าได้แล้ว จะใช้เวลาในการเล่าประมาณ 40 นาที และเหลือเวลาไว้อีกประมาณ 10 นาที เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้สอบถามข้อสงสัย หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติหรือความคิดเห็นในเชิงวิชาการระหว่างผู้ฟังกับผู้เล่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ คือ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือมากยิ่งขึ้น
    (6)ทำโน้ตที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด หรือทำเป็นโครงเรื่องก่อนที่จะมีการพูด เป็นการบันทึกประเด็นสำคัญในการพูด ต้องมีการจัดทำบรรณานุกรมและมีการอ้างอิงที่ถูกต้อง
    (7)บางครั้งใช้วิธีการอ่านก็ได้ เช่น อ่านโคลงหรือกลอน หรือความเรียงบางเรื่องที่ใช้ภาษาไพเราะ และสละสลวย
  • การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
    การวิจารณ์หนังสือเป็นการพิจารณาหนังสือเกี่ยวกับลักษณะการเขียนเนื้อว่ามีจุดดีหรือจุดเด่น ความประทับใจ หรือการให้ความรู้ ข้อคิดในเรื่องใด มีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนอยู่ในวิธีการเขียน หรือเนื้อหาสาระของเรื่องในตอนใดบ้าง อาจจะมีการเชิญนักเขียน หรือวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิจารณ์หนังสือ และเป็นบุคคลที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ฟังมาวิจารณ์หนังสือ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจในหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น ส่งเสริมการอ่านให้กับผู้ใช้ในห้องสมุด เนื่องจาก เป็นการแนะนำเนื้อหาภายในหนังสือว่ามีเนื้อหาที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
  • จุดประสงค์ของการจัดการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด
    (1)ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือที่มีคุณค่ามากขึ้น
    (2)ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณในการอ่าน
    (3)เป็นการแนะนำหนังสือดีที่ควรอ่าน
  • ลักษณะของนักวิจารณ์หนังสือที่ดี
    (1)เป็นนักอ่าน หรือชอบอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
    (2)เป็นผู้พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของหนังสือ และวิธีการวิจารณ์
    (3)ควรได้ศึกษาชีวิตและงานของนักเขียน ทัศนคติที่ปรากฏเด่นในงานประพันธ์ ลีลาการเขียน และควรศึกษาผลงานอื่นๆ ของผู้เขียนด้วย
    (4)มีความสามารถในการอ่านและมีวิจารณญาณอันดี
    (5)มีใจเป็นกลาง
  • ประโยชน์จากการวิจารณ์ (นักวิจารณ์หนังสือที่มีความรู้และมีใจเป็นธรรมย่อมได้รับสิ่งประโยชน์จากการวิจารณ์ เนืองจากปราศจากอคติในการวิจารณ์ ย่อมวิจารณ์อย่างมีเหตุมีผล และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟัง)
    (1)ทำให้เกิดความคิด สติปัญญา ไม่ปล่อยให้สิ่งใดผ่านไป โดยไม่พิจารณา
    (2)ทำให้ผู้วิจารณ์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น
    (3)สามารถแก้ไขสิ่งบกพร่องให้ดีได้
    (4)ช่วยทำให้เป็นผู้มีเหตุผล เพราะการวิจารณ์จะต้องคำนึงถึงหลัก และต้องวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
    (5)ความเที่ยงธรรมในการวิจารณ์ การไม่ใช้อารมณ์ จะช่วยปลูกฝังนิสัยดีติดตัวไปด้วย
  • การจัดนิทรรศการ (Library Display)
    ความหมายของนิทรรศการ
    นิทรรศการ ถือเป็นการแสดงการให้การศึกษาแก่ผู้ที่มาชมอย่างหนึ่ง ซึ่งการแสดงงานให้ชมนั้นอาจมีผู้บรรยายให้ฟัง หรือไม่มีก็ได้ จะใช้สถานที่ในอาคาร หรือภายนอกอาคารก็ได้ ข้อควรคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการต้องจัดอย่างมีระเบียบเรียบร้อย สามารถดูได้ง่าย อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความแจ่มชัด และก่อให้เกิดความรู้
  • วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการของห้องสมุด
    (1)กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการอ่านหนังสือ
    (2)แสดงให้ผู้ใช้ทราบว่ามีการให้บริการใดในห้องสมุด และทรัพยากรภายในห้องสมุดจะช่วยคนในชุมชนได้อย่างไร
    (3)แจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวของห้องสมุด และเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกภายนอกให้ผู้ใช้ทราบ
    (4)เชิญชวนให้ผู้ใช้เข้าใช้ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น
    (5)เพื่อจัดบรรยากาศในห้งอสมุดให้สดใส สวยงาม สบายตา น่าเข้าไปอ่านหนังสือ และน่าใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้น
  • ความรู้ที่บรรณารักษ์พึงมีเพื่อประโยชน์ในการจัดนิทรรศการที่ดี
    (1)ความรู้เรื่องศิลปะ
    (2)ความรู้ในสาระของข้อมูลแต่ละเรื่อง
    (3)มีความคิดสร้างสรรค์
    (4)มีความเข้าใจในองค์ประกอบศิลปะ
  • การแบ่งประเภทนิทรรศการ สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
    (1)นิทรรศการใหญ่
    (2)นิทรรศการย่อย
    (3)นิทรรศการให้คำแนะนำโดยตรง
    (4)นิทรรศการความรู้
    (5)นิทรรศการหนังสือ
    (6)นิทรรศการเทศกาลและวันสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น