วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Library Trend

กระบวนวิชา 009355

สรุปเรื่อง Library Trend

ประจำวันที่  23  กรกฎาคม  พ.ศ.2554
________________________________

Library Trend

  • บทนำ
    -Library Trend  จัดเป็นการบริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ (New Service) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ประเภท  มีดังต่อไปนี้
  1. Cloud  Computing
    -การบริการของห้องสมุดทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ Cloud Computing ทั้งระบบ
    -ข้อควรระมัดระวังในการนำมาประยุกต์ใช้ ควรตรวจสอบดูก่อนว่ามีความเหมาะสมต่อสถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดหรือไม่  ตัวอย่างของ Cloud Computing เช่น Facebook , Gmail
    Cloud Computing สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 มิติ ดังนี้
    1.1ที่ตั้ง การทำงานที่เราไม่สามารถประมวลผลบบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ โดยที่ไม่รู้ว่าถูกเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด เป็นการทำงานโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แล้วประมวลผลโดยเน็ตเวิร์คกลางของโลก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการทำงานที่เราไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นไปอยู่ที่ใด โดยที่เราไม่ทราบแหล่งที่ตั้งของข้อมูลที่จัดเก็บและเครื่อง Server ดังนั้น Cloud Computing จึงเป็นการทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีเครื่อง Server เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำการประมวลผลข้อมูล   
    1.2กลุ่มก้อน ไม่ได้มี Server ตั้งอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เครื่อง Server กลางจึงไม่ได้มีเพียงแค่จุดเดียว เห็นได้จาก Gmail สามารถรองรับคนได้ทั่วโลก โดยไม่มีการจำกัดจำนวนของผู้เข้าใช้ มีการตั้งเครื่อง Server แบบกระจายทั่วโลก โดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่าตั้งอยู่ที่ใดบ้าง
    -OCLC (www.oclc.org) มีคำขวัญที่กล่าวไว้ว่า The World's Libraries Connected เป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดซึ่งมีส่วนช่วยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งนั้นสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันโดยมีการจัดทำระบบ Cloud ILS และ Cloud OPAC ซึ่งห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server OPAC หรือ Program ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เกิดการสิ้นเปลืองเงินงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ห้องสมุดจึงควรที่จะเช่าพื้นที่จาก OCLC เนื่องจาก สามารถเชื่อมต่อกับห้องสมุดอื่นๆ อีกหลายแห่ง
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามกลุ่มผู้ใช้ ได้ดังนี้
    (1)ระดับองค์กร เช่น Cloud Library
    (2)ระดับบุคคลหรือบริการ เช่น Gmail , Facebook , Meebo
    (3)Cloud แบบผสม เช่น Dropbox จะเห็นได้ว่าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการใช้ Cloud แบบผสม คือ มีการใช้ทั้งแบบ Public และ Hybrid เป็นการเก็บรวบรวมงานหรือการนำข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาไว้บนเว็บไซต์แล้วให้คนอื่นสามารถมาดาวน์โหลดจาก URL ไปใช้งานด้วยตนเอง เป็นการทำ Cloud ในระดับ Storage
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามการให้บริการ ได้ดังนี้
    (1)Public Cloud เป็นการให้บริการสาธารณะ หรือระดับองค์กร เช่น Gmail , Facebook
    (2)Private Cloud เป็นการให้บริการแบบส่วนบุคคล เช่น การใช้ Dropbox ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    (3)Hybrid Cloud เป็นการรวมทั้งแบบ Private และแบบ Public รวมไว้ด้วยกัน สามารถให้บริการได้ทั่วโลก เนื่องจากมีการจัดทำเป็นแบบสาธารณะ 
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามประเภทของเทคโนโลยี
    (1)SaaS (Software as a Service) เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์มาทำการติดตั้งทีละเครื่องเหมือนแต่ก่อน เพียงแค่เราทราบ URL เท่านั้นก็สามารถทำการติดตั้งได้ทุกเครื่อง ตัวอย่างเช่น 
    Google Docs สามารถใช้พิมพ์งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น Word , Excel , PowerPoint การทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจความ
    http://www.zoho.com/ มีระบบงานแบบ Business เช่น ระบบการเงิน ระบบงานบุคคล แต่จะไม่เสียค่าใช้จ่ายระบบการเงิน มีการเสียค่าใช้จ่ายตามเรทที่ต้องการใช้งาน 
    (2)Iaas (Infrastructure as a Service) เป็นการให้บริการของผู้ให้บริการ Server ที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องเช่าพื้นที่หรือซื้อเครื่อง Server เป็นจำนวนมากในการให้บริการแก่ผู้ใช้ และผู้ใช้บริการก็สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Gmail
    (3)Paas (Platform as a Service) เป็นการให้บริการโดยโปรแกรมเมอร์ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อรองรับให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทั่วโลก
  2. Mobile Device
    เป็นการบริการที่ใช้ภายในงานของห้องสมุดที่ต้องอยู่บน Mobile ด้วย ต้องทำการสำรวจก่อนว่าผู้ใช้นั้นมีการใช้โทรศัพท์มือถือจริงหรือไม่ และหากมีการใช้จะใช้โทรศัพท์ประเภทใดมากที่สุด ซึ่งสามารถรู้จักและทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ได้จาก Truehits.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมสถิติของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาผู้ใช้มาทำการประเมินก่อนที่จะออกแบบเว็บไซต์เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ให้ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งผู้ใช้จะมีการใช้อุปกรณ์ในการเข้าถึงเว็บไซต์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
    2.1)Smart Phone เช่น Java , Debian ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่อยู่บนมือถือ
    2.2)Tablet เช่น Android (Galaxy Tab , Galaxy s , LG , HTC)
    2.3)eReader เช่น IOS , Ipad
    2.4)Netbook เช่น Window รวมถึง Notebook โดยทั่วไป ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สาย รองรับการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง
    ข้อสังเกต IPAD เสียเปรียบ Galaxy Tab เนื่องจาก IPAD ไม่สามารถแสดง Flash ได้ ในขณะที่ Galaxy Tab สามารถแสดง Flash ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Flash นั้นเป็นสิ่งที่มีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบบนหน้าเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก 
  3. Digital Content & Publishing เช่น eBook , IR , Digital Library , OJS
    เกิดขึ้นเนื่องมาจากองค์กรทั่วโลกมีงบประมาณลดลง อีกทั้งภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงส่งผลให้มีเงินรายได้ไม่เพียงพอ และไม่สามารถจ้างคนให้มาทำงานเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งคนที่ทำงานอยู่แล้วก็ต้องแบกรับภาระในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และรับผิดชอบในงานขององค์กรมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นแล้วห้องสมุดขาดงบประมาณในการบอกรับเป็นสมาชิกวารสาร เนื่องจาก วารสารมีราคาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่งบประมาณที่ห้องสมุดได้รับลดน้อยลง ส่งผลให้ห้องสมุดหลายแห่งมีการสร้าง Content ของตนเองขึ้นมาใช้ภายในห้องสมุดของตน ซึ่งมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเมื่อเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องมีการผลิตผลงานทางวิชาการขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรือบทความทางวิชาการ คู่มือ ตำราทางวิชาการ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการให้บริการภายในห้องสมุด ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญภายในห้องสมุด
    สำหรับขั้นตอนในการจัดทำ ebook ต้องคำนึงถึง
    1)การได้มาของเนื้อหา เป็นการนำผลงานของอาจารย์มาจัดทำในรูปแบบของ eBook เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการภายในห้องสมุด
    2)กระบวนการผลิตและรูปแบบ ในการเลือกรูปแบบต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร เนื่องจากรูปแบบในการจัดทำจะแตกต่างกันตามวัยของผู้อ่าน โดยต้องทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการรูปแบบใด และควรผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
    รูปแบบของ eBook มีดังนี้
    (1).doc เป็นการพิมพ์ด้วย Microsoft Word แล้วนำไปเผยแพร่
    (2).pdf สามารถดาวน์โหลดได้ง่ายและรวดเร็ว
    (3)Flip eBook เช่น โปรแกรม Flip Album อาจจะสามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้หรือไม่ได้ก็ได้
    (4)Flip Flash eBook  สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้ และยังแสดงไฟล์ Flash บนเว็บไซต์ได้
    (5)ePublishing มีรูปแบบที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ หรือหนังสือต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
    (6).ePub เช่น Smart Phone , IPAD , Galaxy Tab , IPhone ซึ่งเป็นนามสกุลของไฟล์เอกสารทีมีความคล้ายคลึงกับไฟล์ PDF เป็นมาตรฐานหรือนามสกุลของไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่
    (7)Digital Multimedia Book เมื่อคลิกที่รูปภาพแล้วจะเล่นวิดีโอขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หรือ เมื่อหากคลิกที่รูปภาพแล้วจะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว ไม่ได้เป็นภาพนิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ ที่รูปภาพอาจมีการทำการเชื่อมโยงไปยังวิดีโอก็ได้
    3)ลิขสิทธิ์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ต้นฉบับ กับ ลิขสิทธิ์การเผยแพร่ ซึ่งหากมีการนำไปจัดทำเป็น eBook ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน 
  4. Crosswalk Metada
    เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นการเดินข้ามข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีกชุดหนึ่ง เป็นการนำเมทาดาตาที่มากกว่าหนึ่งชุดมาผสมผสานกัน หรือมากกว่า 1 ประเภทหรือ 1 รูปแบบมาผสมกันในวัตถุ 1 ชิ้น ซึ่งเมทาดาตามีหลายรูปแบบ ดังนี้
    (1)MARC
    (2)MARCML
    (3)Dublin Core
    (4)ISAD (g) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำจดหมายเหตุดิจิตอล
    (5)CDWA เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์
    (6)RDF เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำ High KM ในรูปแบบของ Web 3.0 หรือ Web Sementic
    (7)OWL เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำ High KM ในรูปแบบของ Web 3.0 หรือ Web Sementic
    (8)MODS เป็นมาตรฐานในการใช้ทำ Digital Collection Library แต่มี Element มากกว่า Dublin Core
    (9)METs เป็นมาตรฐานในการใช้ทำ Digital Collection Library แต่มี Element มากกว่า Dublin Core
    (10)PDF Metadata
    (11)Doc Metadata
    (12)EXIF เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN 
    (13)XMP เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN
    (14)IPTC เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN 
  5. Open Technology
    เป็นมาตรฐานที่เปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรมของแต่ละสถาบันได้
    ILS หรือ DBS <---> DBS , Apps
    5.1)Z39.5 (ILS <---> ILS) เป็นมาตรฐานของการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS กับ ILS หรือ เป็นการดูดบรรณานุกรมที่มีการลงรายการไว้เรียบร้อยแล้วเข้าไปยังห้องสมุด จึงเป็นการช่วยประหยัดเวลาและลดภาระงานให้กับบรรณารักษ์ เนื่องจาก บรรณารักษ์ไม่ต้องทำการลงรายการเอง สามารถคัดลอกบรรณานุกรมที่มีผู้จัดทำไว้โดยการนำเลข ISBN ป้อนเข้าไปยังโปรแกรม จากนั้นโปรแกรมก็จะดูดบรรณานุกรมของห้องสมุดอื่นมาใส่ไว้ให้เรียบร้อย
    5.2)Z39.88 (ILS <---> Apps) เป็นมาตรฐานที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งช่วยในการให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Reference Manager Software ของห้องสมุด ร่วมกับ Reference Manager Application อื่นๆ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือบรรณานุกรมอื่นๆ
    -OAI-PHM เป็นแนวคิดในการจัดทำ One Search ตัวอย่างเช่น http://tnrr.in.th ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ซึ่งเกิดมาจากความคาดหวังของผู้ใช้เมือค้นหาข้อมูลเพียงครั้งเดียวก็จะปรากฎสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างครบถ้วน ไม่ต้องไปค้นหาจากเว็บไซต์อื่นๆ อีก และต้องมีการบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้ใช้ได้รับว่ามาจากแหล่งใดบ้าง และที่สำคัญผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีรูปแบบ Visual กับกับร่วมด้วย ไม่ควรทำผลลัพธ์ในรูปแบบ Text เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    www.vijai.net เป็น One Search แบบ Web Query
    Linked data ---> Semantric Web / Web3.0 
    -  Metadata
    -  Bibliography
    Semantic Web เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้นหาเป็นประโยคได้ สำหรับ Web 3.0 จะเป็นการพิมพ์คำค้นแล้วแนะนำคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ใช้ได้ หรือแนะนำคำอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคำที่สืบค้นมาให้ผู้ใช้ได้ สำหรับ Search Engine ที่เป็นต้นแบบของ Web 3.0 คือ http://www.wolframalpha.com และ http://164.115.5.61/thesaurus
    Linked Data สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
    (1)Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ที่ให้สิทธิ์คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งมีข้อจำกัด คือ ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว
    (2)Web 2.0 เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเองได้บนอินเตอร์เน็ต
    (3)Web 3.0 หัวใจหลัก คือ Semantic Web ถ้าเป็น Semantic Web เป็นการสืบค้นข้อมูลที่ต้องป้อนเป็นประโยค ต้องเป็นประโยคสืบค้นที่มีความหมาย จึงจะถือเป็น Web เชิงความหมาย สามารถให้คำตอบแก่ผู้ใช้ได้
  6. Data & Information Mining / Visualization 
    ระบบฐานข้อมูลที่สามารถให้ผลลัพธ์ได้มากกว่าที่ผู้ใช้ค้นหา ผู้ใช้จะต้องได้ข้อมูลที่มากกว่า Text คือ ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลในรูปแบบที่เป็นสื่อประสมหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งในการค้นหาข้อมูลในแต่ละครั้งจะต้องทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    (1)Search
    (2)การวิเคราะห์
    (3)การแสดงผลเป็นเส้นกราฟที่มีการโยงความสัมพันธ์กัน
    www.boliven.com เป็นการให้บริการที่มีการเชื่อมโยงคำสืบค้นไปให้ผู้ใช้ได้ด้วย Visual Search เช่น www.vadl.cc.gatech.edu เป็นเว็บห้องสมุดดิจิตอล
    เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับรูปภาพ ซึ่งสามารถค้นโทนสีของภาพได้
    http://labs.ideeinc.com/visual
    www.krazydad.com/colrpickr
    http://labs.ideeinc.com/multicocour
  7. Green Library 
    เป็นแนวคิดที่เกิดมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงเกิดเป็นแนวคิดทำอย่างไรที่จะให้ห้องสมุดมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนขึ้น  หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ จึงได้มีการจัดทำโครงการขึ้นภายในห้องสมุดให้มีการจัดกิจกรรมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนขึ้นมา เพื่อคำนึงถึงสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นดโครงการห้องสมุดสีเขียวขึ้นมา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
    7.1)Green Building เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารและการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น การปลูกต้นไม้บนหลังคา และนำเอาต้นไม้เข้ามาไว้ในบางจุดภายในห้องสมุดตามความเหมาะสม การนำโต๊ะอ่านหนังสือมาไว้ใกล้หน้าต่าง เพื่อให้ผู้ใช้ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติในการอ่านหนังสือ การใช้สวิตซ์ไฟที่ผู้ใช้ไม่ต้องเปิด-ปิดด้วยตนเอง แต่จะเป็นแบบอัตโนมัติที่สว่างขึ้นมาเองหากผู้ใช้เดินไปภายในบริเวณที่อ่านหนังสือของตน หรือจะเปิดเฉพาะบริเวณที่มีผู้ใช้มานั่งอ่านหนังสือเท่่านั้น
    ตัวอย่างเว็บไซต์ที่จัดโครงการหรือกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวขึ้นมา คือ www.beat2010.net
    7.2)Green ICT เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำซ้ำหนังสือจากการถ่ายเอกสารเป็นการสแกนหนังสือแทน  มีการใช้อุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน นอกจากนี้การนำ cloud มาใช้ในองค์กรก็สามารถช่วยลดพลังงานได้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่อง Server มาใช้ภายในห้องสมุด โดยการซื้อเครื่อง Server จากภายนอกแทน จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

    Web 4.0
    เป็นเว็บที่มีการก้าวเข้าสู่ระบบ Automatic AV
    ตัวอย่างเว็บไซต์ต้นแบบของ Web 4.0 มีดังนี้
    -www.researchgate.net
    -www.biomedexperts.com เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของคำที่สืบค้นมาให้ทั้งหมด
    จะเห็นได้ว่า Web 4.0 เป็นเว็บที่สามารถดึงเอาข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนทั้งหมดที่ผู้ใช้เคยมีประวัติการเข้าร่วมทำกิจกรรมหรือมีข้อมูลอยู่บนเว็บไซต์ที่ใดบ้างมายังผู้ใช้ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบประวัติทั้งหมดได้ทันที ถึงอย่างไรก็ตาม Web 4.0 ก็ยังคงเป็นปัญหาในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เนื่องจาก มีการนำเอาข้อมูลทุกอย่างของผู้ใช้มาทำการรวบรวม ย่อมก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิบางอย่างของผู้ใช้ได้นั่นเอง


     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น