วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการสอนการใช้


ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2554

________________________________________________

บริการสอนการใช้
  • ความหมายของบริการสอนการใช้
    บริการสอนการใช้มีความสำคัญต่อห้องสมุดเป็นอย่างมาก เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ที่จะต้องมีการจัดการให้ผู้ใช้มีความเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ โดยมีการให้คำแนะนำสอนการใช้หรือเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Competency) ให้แก่ผู้เรียน บรรณารักษ์จึงมีบทบาทในการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้เรียนถือเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการใช้บริการห้องสมุด
    หมายเหตุ : การู้สารสนเทศ (Information Literacy) บางครั้งจะหมายถึง ทักษะทางสารสนเทศ (Information Competency) โดยทั่วไปหมายถึง ความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน จัดระเบียบ และใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ
  • ความหมายของการรู้สารสนเทศ (Information Literacy : IL)
    การรู้สารสนเทศ (Information Literacy : IL) เป็นความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม
  • ความหมายของทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill)
    ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถตระหนักถึงความต้องการของตนเองได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ตนต้องการได้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Ability to access) และเข้าใจสารสนเทศที่มีอยู่อย่างหลากหลายในแหล่งสารสนเทศต่างๆ สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ รวมทั้งสามารถประเมินหรือวิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศต่างๆ และสามารถนำมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดความรู้ได้ ซึ่งทักษะการรู้สารสนเทศเกี่ยวข้องทั้งทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดการใช้เหตุผผล และทักษะทางภาษา ล้วนเป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กันในการที่จะทำให้เกิดทักษะรู้สารสนเทศได้
  • เป้าหมายสูงสุดของการรู้สารสนเทศ
    เป็นการทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่มีทักษะสารสนเทศ (Information Literate Person) และสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการศึกษา การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผลของการสร้างความรู้และทักษะทางสารสนเทศนี้จะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับสังคมสารสนเทศ และรองรับยุคสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • เป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์ มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้
    (1)Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้หรือวิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหาหรือผลิตความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
    (2)Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็นหรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม
    (3)Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์
    (4)Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
  • ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ มีมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้
    (1)เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    (2)ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
    (3)ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
    (4)มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
    (5)มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
    (6)สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้
  • องค์ประกอบของสารสนเทศ มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
    (1)ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดต้องการสารสนเทศ และมีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ รวมทั้งสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
    (2)ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ รู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
    (3)ความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
    (4)ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ กล่าวคือ สามารถคิด และวิเคราะห์สารสนเทศ
    (5)ความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศ ตลอดจนการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
    ดังนั้น การรู้สารสนเทศจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การรู้สารสนเทศจึงเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพของตนเอง และหากประเทศใดมีประชากรที่เรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ
  • คุณสมบัติของผู้รู้สารสนเทศในด้านอื่นๆ ประกอบไปด้วย
    (1)การรู้ห้องสมุด (Library Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่าห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสืออิเล็กทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆ ด้วย
    (2)การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น
    (3)การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
    (4) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งที่เห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้ตามสถานที่ต่างๆ
    (5)การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และสามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
    (6)การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจัทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไซต์
    (7)การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การค้นสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
    (8) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา
    (9)การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป้นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็้นต้น
  • ความสำคัญ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้(1)การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบัน มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น บทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ(2)การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง เมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากเราเป็นผู้ใช้ก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพในการให้บริการของห้องสมุด และเปรียบบเทียบบริการที่มีในห้องสมุด แล้วจึงทำการตัดสินใจเลือกรับการให้บริการของห้องสมุดที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการของเราในการนำสารสนเทศไปใช้งาน เป็นต้น(3)การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะ บุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เมื่อห้องสมุดประสบปัญหาเรื่องวารสารมีราคาที่สูงขึ้น จึงปรับเปลี่ยนมาบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน เนื่องจาก เสียค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า และหากบอกรับคู่กับสิ่งพิมพ์ก็จะได้รับส่วนลดได้อีกด้วย เพื่อให้ห้องสมุดยังคงมีการให้บริการสารสนเทศได้ดังเดิมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้จะประสบปัญหาเหล่านี้ก็ตาม(4)สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคมเศรษฐกิจ และการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจสามารถชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้น ประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
  • สรุปการรู้สารสนเทศ
    การรู้สารสนเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาขั้นต่อมาจากการรู้หนังสือที่เป็นความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิมในสังคม การรู้สารสนเทศคือเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นของมนุษย์ เป็นความสามารถพื้นฐานใหม่และเป็นความต้องการของสังคมฐานความรู้ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 หรือสหัสวรรษใหม่ ห้องสมุดและสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยพึงให้ความใส่ใจในเรื่องนี้และพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รู้สารสนเทศอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะเป็นสังคมแห่งความรู้หรือยุคดิจิทัล ต้องการบุคคลที่มีความเป็นอิสระทางปัญญา ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ลักษณะการจัดบริการสอนการใช้ของห้องสมุด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
    (1)บริการสอนหรือแนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
    -เป็นบริการที่บรรณารักษ์ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้เป็นรายบุคคลเมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด ปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท ระบบการจัดการ การจัดเก็บ และการบริการ ซึ่งบรรณารักษ์จะต้องจัดบริการให้คำแนะนำและสอนการใช้งานในห้องสมุดแก่ผู้ใช้โดยตรง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องไปขอรับบริการคำแนะนำหรือการสอนจากบรรณารักษ์ก่อน อีกทั้งบรรณารักษ์จึงควรเอาใจใส่ต่อผู้ใช้ที่มาใช้บริการห้องสมุดด้วย เพื่อให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวกับผู้ใช้ได้อย่างยั่งยืน
    (2)การให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
    -เป็นบริการที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
    -สำหรับการบริการเป็นกลุ่มจะมีทั้งการบริการที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งก็คือบริการที่ผู้ใช้เป็นผู้ร้องขอให้บรรณารักษ์สอนการใช้ห้องสมุด และบริการที่เป็นทางการ ซึ่งก็คือห้องสมุดจะมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเอาไว้ในห้องสมุด
    -ลักษณะการให้บริการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการในห้องสมุด แผนกต่างๆ ในห้องสมุด ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี บริการห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ และแนะนำให้รู้จักบุคลากรในแผนกต่างๆ
    -การแนะนำอาจจะมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และเสนอบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล วิธีการสืบค้น วิธีการศึกษาค้นคว้า สำหรับใช้ประกอบการแนะนำ หรือการสอนผู้ใช้ห้องสมุด นอกเหนือจากการแนะนำโดยบรรณารักษ์
    ***การบริการทางตรงโดยบรรณารักษ์ หรือบุคลากรห้องสมุดจะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ใช้มากกว่าการใช้สื่ออืนๆ มาแทนในการแนะนำห้องสมุด
  • สำหรับการให้บริการเป็นกลุ่ม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    (1)การนำชมห้องสมุด (Library Tour/Orientation)
    -เป็นการแนะนำของบรรณารักษ์แก่ผู้ใช้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด ผู้ใช้สามารถทราบได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศแต่ละอย่างนั้นจัดให้บริการที่ใดของห้องสมุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาแก่ผู้ใช้ที่มาใช้บริการในครั้งถัดไป ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานแก่ผู้ใช้ รวมถึงการแนะนำแผนที่ของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาตำแหน่งของบริการภายในห้องสมุดเมื่อผู้ใช้ต้องการเข้าไปใช้บริการได้
    -เป็นการแนะนำให้ผู้ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับแผนกบริการของห้องสมุดจะต้องสร้างความสัมพันธ์ในเบื้องต้นเพื่อการเข้ามาใช้ครั้งต่อไป ควรมีการแนะนำให้ผู้ใช้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดในบางแผนก เช่น บรรณารักษ์แผนกบริการอ้างอิง แผนกวารสาร เป็นต้น-การบริการหรือบริการพิเศษ เช่น การแนะนำการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการแฟ้มข้อมูล (Information Files) บริการแนะนำแหล่งข้อมูลเฉพาะ (Subject Guide)-การอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด และแนวทางค้นคว้าในห้องสมุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวิธีการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ-กฎระเบียบการใช้ห้องสมุด
    ***การนำชมห้องสมุดเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับการแนะนำเข้ามาใช้ห้องสมุดในครั้งต่อไป และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้
    (2)บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น (One-Short Lectures)
    -เป็นวิธีการและลักษณะการบริการจะคล้ายกับการให้บริการในระดับบุคคล แต่จัดให้เป็นกลุ่ม อาจจะทำก็ต่อเมื่อมีผู้ใช้ทำการร้องขอมายังบรรณารักษ์ หรือห้องสมุดจัดบริการโดยกำหนดตารางเวลาในการให้คำแนะนำ ขอบเขตของเนื้อหาที่จะแนะนำเป็นครั้งๆ
    -การแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือการค้นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้า เรียนรู้การใช้คู่มือ และสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    -ในกรณีที่เป็นการใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดออนไลน์ และการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ หรือโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางห้องสมุดอาจจะมีการจัดบรรณารักษ์ให้มีการสอนเพื่อฝึกฝนการใช้งานของผู้ใช้ให้เกิดการเรียนรู้และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือการค้นได้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานเพื่อการสืบค้นของผู้ใช้ เนื่องจาก มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้
    (3)บริการสอนการค้นคว้า
    -เป็นบริการที่ช่่วยให้ผู้ใช้มีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    -เป็นการพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว รู้จักการคัดเลือก วิเคราะห์สารสนเทศ และการใช้สารสนเทศ การประเมินและวิเคราะห์ทรัพยากร และการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ เพื่อไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน และการนำเสนอสารสนเทศ
    ***บรรณารักษ์จะสอนวิธีการสืบค้นสารสนเทศ วิธีรวบรวมข้อมูลทั้งในห้องสมุดและภายนอกห้องสมุดจากแหล่งสารสนเทศอื่นๆ
  • ลักษณะการสอนที่บรรณารักษ์สามารถทำได้ มีการจัดการสอน เพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศให้กับผู้เรียน โดยมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของผู้เรียน เพื่อเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถค้นหาสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีลักษณะการสอนดังต่อไปนี้
    (1)การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Standard-Alone Course on Class)
    สอนเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
    (2)บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials)
    เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์ มีการใช้สื่อประสมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
    (3)สมุดผึกหัด (Workbook)
    ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัด เพื่อฝึกหัดทักษะการรู้สารสนเทศ
    (4)การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-related Instruction)
    เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ
    ***เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์หรือครูผู้สอนอาจจะเป็นคนสอน (ไม่จำเป็นต้องเป็นบรรณารักษ์) มีบทบาทเข้าไปช่วยสอนการรู้สารสนเทศ โดยเฉพาะห้องสมุดโรงเรียน
    (5)การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction)
    เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม

              ไม่มีความคิดเห็น:

              แสดงความคิดเห็น