วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (2)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการสอนการใช้ (2)


ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2554
________________________________________________

บริการสอนการใช้ (ต่อ)
  • งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ แบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    (1)บริการสารสนเทศ (Information Services)
    -ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
    (2)บริการสอนการใช้ (Instruction Services)
    -สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skills)
    (3)บริการแนะนำ (Guidance Services)
    -บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่าง คือ จะเน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม เช่น หนังสือ บทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าสอนการใช้
  • สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้มีการกำหนดบริการสอนการใช้ไว้ คือ
    -หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือ ต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ
  • ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
    การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    -สังคมที่พึงปรารถนาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
    -การพัฒนาคนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้นได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self Learning) วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 
  • การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
    -การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดไป
  • เกณฑ์และแบบทดสอบมาตรฐาน
    (1)สหรัฐอเมริกา
    Association of College and Research Libraries (ACRL)
    แบบทดสอบ Standardized Assessment of Information Literacy Skills (SAILS)
    (2)สถาบันสากล
    Education Testing Service (ETS)
    แบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศออนไลน์ Information and Communication Technology Literacy Test (iSkills)
    (3)ออสเตรเลีย
    สถาบัน Council of Australian University Librarians (CAUL)
    แบบทดสอบ Information Skill Survey (ISS)
    (4)KENT
    แบบทดสอบ TRAILS
  • ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
    -ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่างๆ
    -วิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ จะอยู่ในส่วนของบริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่งเป็นบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ การแนะนำการใช้ห้องสมุด รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศ
    -การให้บริการนี้อาจครอบคลุมถึงหลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
    -ส่วนใหญ่จะมีให้บริการในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชน แต่จะไม่มีบริการในห้องสมุดเฉพาะนอกจากบางแห่งที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษในการจัดบริการ
    ***บริการนี้ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในการให้บริการของห้องสมุด
  • บริการสอนการใช้ห้องสมุดโดยวิธีการนำชมห้องสมุด
    -มีการจัดทำเป็นสไลด์ เว็บไซต์ วิดีโอ เพื่อใช้ในการแสดงถึงที่ตั้ง มีการใส่คำอธิบาย รวมถึงเสียงประกอบเข้าไปด้วยก็ได้ ในลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย ซึ่งการผลิตสื่อจะขึ้นต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำของห้องสมุดเป็นสำคัญ
  • Tutorials การสอน
    -เน้นกลุ่ม Target เป็นสำคัญ การนำเสนอต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
  • การผลิตสื่อ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ซึ่งจะมีการจัดบริการสอน
    -ไม่ควรผลิตสื่อที่มีความยาวมากจนเกินไป
    -ควรใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
    -อาจมีการใช้สไลด์ประกอบเสียงบรรยาย
  • Open Access (OA)
    -เอกสารหรือบทความที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี โดยมีการใช้สัญญาอนุญาต Creative Common เป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถนำเอาข้อมูลไปใช้ได้ แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาว่านำมาจากที่ใด ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หากมีการนำไปแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง สามารถทำ Subtitle ได้ รวมถึงการนำเอาแนวคิดมาใช้ในการจัดทำสื่อได้เช่นกัน
  •  ทักษะของผู้สอน
    (1)การสอน
    บรรณารักษ์ต้องมีทักษะในการสอน หากไม่มีทางห้องสมุดต้องมีการส่งบรรณารักษ์ไปอบรม เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถสอนผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง
    (2)การประเมิน
    ต้องมีการประเมินผู้ใช้เพื่อให้ทราบว่าสามารถสอนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
    (3)IT Web Design
    -สามารถสร้างคลิปวิดีโอ แฟลช สไลด์ต่างๆ ได้
    (4)ทักษะการสื่อสาร
    -เพื่อใช้ในการตอบคำถามหรือการสร้างปฏิสัมพันธ์แก่ผู้ใช้ที่มาใช้บริการ รวมทั้งการอธิบาย
  • การบริหารจัดการ
    การวางแผนการเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
    (1)ประเมินความต้องการของผู้ใช้
    (2)กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
    (3)ประชาสัมพันธ์โปรแกรม
    (4)เตรียมอุปกรณ์การสอน
    (5)เตรียมบุคลากร
    (6)เตรียมสถานที่
    (7)ปฏิบัติตามแผนงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น