วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

สรุปเรื่อง บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)

ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2554

__________________________________________________

บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)
  • ความหมายของบริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)
    -บริการนำส่งเอกสารเป็นการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่และยังไม่ได้เผยแพร่ และจัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในการให้บริการนำส่งเอกสารจะมีการคิดค่าบริการ บางห้องสมุดอาจจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการให้บริการ  ผู้บริการนำส่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องมีการขออนุญาตจากผู้มีสิทธิ์ในผลงานเสียก่อน เพื่อตกลงทำการเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ถูต้อง อาจมีการรวมค่าภาษี (Tax) ก่อนนำสำเนาหรือบทความนำส่งลูกค้า ซึ่งบริการนี้อาจใช้เป็นแหล่งรายได้ของห้องสมุดหรือห้องสมุดทำร่วมกับผู้แทนจัดจำหน่าย
  • บริการเสริม ILL
    -มีการจัดทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ผู้ใช้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งไม่มีการให้บริการในห้องสมุด เนื่องจาก วารสารบางเล่มมีราคาสูง นอกจากนี้ ห้องสมุดสามารถติดต่อผ่านผู้แทนจัดจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ตนต้องการได้ อีกทั้ง หากห้องสมุดมีการสั่งซื้อผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย มักจะได้รับบริการพิเศษและได้รับส่วนลดเป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
    -มีการบริการหนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม รายงาน การวิจัย สื่อโสต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากห้องสมุดไม่มีให้สำหรับจัดบริการให้แก่ผู้ใช้ได้
    -มีการติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย (บทความ) เช่น วารสารมีราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ (Pay per use)
    -การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล
  • ปรัชญาการบริการ
    (1)ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
    (2)เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้
    (3)เพื่อแก้ปัญหาการบริการ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ น้ำท่วม และสูญหายไปจากห้องสมุด
    (4)เพื่อเพิมศักยภาพในการบริการ หากมีการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้ใช้ได้รับริการที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการแสดงถึงคุณภาพในการให้บริการของห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
  • วัตถุประสงค์ในการให้บริการ
    (1) เพื่อสามารถให้บริการผู้ใช้แบบ Just in time หมายถึง การให้บริการหรือดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามให้แก่ผู้ใช้ได้ทันต่อความต้องการและทันต่อระยะเวลาเมื่อผู้ใช้ต้องการ 
  • สาเหตุ-การส่งเอกสารเริ่มมาจากการยืมระหว่างห้องสมุด
    -งบประมาณลดลง ผู้ใช้ถูกจำกัดการใช้งาน
  • วิธีการบริการ
    (1)แบบเดิม มีการบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร (Uncover/Ingenta)
    (2)แบบปัจจุบัน มีการบริการจัดส่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์ จัดหาหนทาง
  • วิธีการนำส่ง (แบบฉบับพิมพ์)
    -มีทั้งการนำส่งภายในและภายนอกองค์กรหรือหน่วยงาน
    (1)ทางไปรษณีย์
    -มีความล่าช้าและใช้ระยะเวลานานกว่าทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดถึงผู้ใช้ หรืออาจสูญหาย ทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับในสิ่งที่ต้องการได้
    (2)ทางโทรสาร
    -เอกสารที่ผู้ใช้ได้รับ ตัวหนังสือหรือข้อความอาจไม่ชัดเจนหรือขาดหายบางส่วนได้ หรือผู้ใช้ได้รับเพียงบางส่วน
    (3)ทางยานพาหนะ
    -มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ ควรใช้ยานพาหนะให้เหมาะสมและคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรสารสนเทศที่จัดส่งให้กับผู้ใช้
    Electronic Document Delivery Services คือ การจัดส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความสะดวกและรวดเร็วเป็นอย่างมาก
    (1)ทาง E-mail
    -มีข้อจำกัด คือ ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงจะสามารถจัดส่งได้
    (2)นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร (Document image system)
    -เป็นการส่งเอกสารแบบ Tiff File ไม่สามารถคัดลอกได้ เนื่องจากเป็น Image File
    -แจ้งทางอีเมล์
    -ส่ง URL ให้ผู้ใช้เปิดดู
  • ผู้ให้บริการ
    (1)สถาบันบริการสารสนเทศ
    (1.1)การจัดส่งภายในสถาบัน
    -ทางอีเมล์
    -ทางระบบออนไลน e-office
    -ยานพาหนะ
    (1.2)การจัดส่งระหว่างสถาบัน
    -มีการทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการให้บริการ
    (2)ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
    -ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta
    --->ผู้จัดจำหน่าย
    --->ให้บริการข้อมูลในระดับสาระสังเขปเท่านั้น หากต้องการฉบับเต็มต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ
    -ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา Proquest/UMI Thesis
    -ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Elsevier Science , SpringerLink , Gordon&Breach
    -ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล Dialog , Dissertation Abstract Online-DAO
    -ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information) Infotrieve
    --->เมื่อทำการสั่งซื้อเสร็จ จะมาแจ้งเตือนทางอีเมล์
    --->ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง
    --->เป็นคนกลางที่ทำการดึงข้อมูลในแต่ละฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์มาให้
    -ห้องสมุดจัดเตรียมให้
    --->ในกรณีไม่มีการให้บริการแก่ผู้ใช้ได้ ต้องมีการให้แหล่งสืบค้นและสามารถไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้
    --->ต้องมีการจัดหาหนทางจัดเตรียมไว้ให้กับผู้ใช้ ในกรณีไม่สามารถให้บริการได้
    --->มีการจัดบริการให้รายการของ DD
  • การดำเนินการในการขอใช้บริการ มี 2 แบบ ดังนี้
    (1)แบบฟอร์ม DD กระดาษ อัตโนมัติ
    (2)ขอบริการออนไลน์ หรือสมัครเป็นสมาชิก 
    -เช่น การให้บริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ให้บริการทางออนไลน์ หากเป็นการให้บริการแก่ห้องสมุดอื่นจะอยู่ในรูปการค้าขายเอกสาร
  • ข้อคำนึงการให้บริการ DD
    (1)ลิขสิทธิ์
    (2)ค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสาร ค่าสำเนา ค่าส่ง บุคลากร ค่าลิขสิทธิ์ตอบแทน ค่าตรวจสอบแหล่งสารสนเทศ ค่าบอกรับ ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบ
    (3)การเข้าถึงและกรรมสิทธิ์
    (4)ความสามารถในการเข้าถึงต่างระบบ
    (5)ค่าเสียหาย อาจมีค่าเสียหายหรือการสูญเสียเกิดขึ้น
  • การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
    -แจ้งผู้ขอทันที
    -จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
    -บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น