วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมห้องสมุด

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

ประจำวันที่  22  กรกฎาคม  พ.ศ.2554


สรุปเรื่อง กิจกรรมห้องสมุด
______________________________________________

กิจกรรมห้องสมุด

  • ความหมายของกิจกรรมห้องสมุด
    -เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือในโอกาสต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด และส่งเสริมการอ่าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการอ่านตลอดชีวิต จึงทำให้มีความแตกต่างกับงานบริการที่จัดขึ้นในห้องสมุด ซึ่งจะเป็นงานที่จะคงอยู่ภายในห้องสมุดตลอดไป และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เป็นงานประจำที่บรรณารักษ์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการวางแผนว่าจะจัดทำเป็นระยะเวลานานเท่าใด เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด ก่อให้เกิดการปรับปรุงในการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    -บรรณารักษ์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมที่มีความน่าสนใจขึ้นมาเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการของห้องสมุดมากขึ้น โดยมีความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องตามติดความทันสมัย เพื่อให้สามารถจัดบริการที่ทันสมัยให้กับผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพของบรรณารักษ์เองในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและเกิดความรู้สึกที่ดี มีความประทับใจในบริการและกลับมาใช้ห้องสมุดในภายหลัง 
    Information Literacy หมายถึง การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศเพื่อให้สามารถคัดเลือกและประเมินคุณค่าของสารสนเทศเหล่านั้นได้ ทำให้ได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการในการนำไปใช้งาน
  • ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
    การจัดกิจกรรมของห้องสมุดนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ห้องสมุดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทำให้คนทั่วไปทราบถึงวิธีการดำเนินงานภายในห้องสมุดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศที่จัดไว้ในห้องสมุดมีอะไรบ้าง และครอบคลุมถึงสิ่งที่ห้องสมุดจัดทำว่ามีอะไรบ้าง
    ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุดมีการนำหลักการตลาดมาใช้เพื่อให้เกิดการโน้มน้าวจูงใจให้คนทั่วไปหันมาใช้บริการจากห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อต่อการกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้บริการห้องสมุด โดยในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น และทำให้คนเกิดนิสัยรักการอ่าน มองเห็นความสำคัญในการอ่านหนังสือ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยในการเปิดมุมมองทางความคิดให้กว้างไกล มีความรอบรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด มีดังนี้
    (1)เพื่อประชาสัมพันธ์งานและบริการต่างๆ ของห้องสมุด
    (2)เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือ
    (3)เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยากอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากขึ้น
    (4)เพื่อเป็นก้าวแรกของการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อผู้เข้าชมกิจกรรมแต่ละครั้ง
  • ประเภทของกิจกรรมของห้องสมุด สามารถจัดแบ่ตามประเภทวัตถุประสงค์ที่จัดได้ดังนี้
    (1)กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
    (2)กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
    (3)กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
    (4)กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป สำหรับบุคคลทั่วไป
    (5)กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
    เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสนใจในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน มีดังต่อไปนี้
    -การเล่านิทาน
    -การเล่าเรื่องหนังสือ
    -การตอบปัญหาจากหนังสือ
    -การอภิปราย
    -การออกร้านหนังสือ (ในงานนิทรรศการ)
    -การแสดงละครหุ่นมือ (วรรณกรรมสำหรับเด็ก)
    -การโต้วาที (การคิดหัวข้อการโต้วาทีที่เป็นการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมตัวในการศึกษาหาข้อมูลมาใช้ในการโต้วาที เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ)
    -การประกวด (วาดภาพ แต่งกลอน ถ่ายภาพ เป็นต้น)
    -การแข่งขัน
    -การจัดแสดงหนังสือใหม่
    -การวาดภาพโดยใช้จินตนาการจากการฟังนิทาน
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การแนะนำการใช้ห้องสมุด
    -การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
    -การนำชมห้องสมุด
    -การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด หรือที่เรียกว่า ยุวบรรณารักษ์
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
    เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การจัดนิทรรศการ
    -การประกวดคำขวัญ
    -การประกวดเรียงความ
    -การตอบปัญหา
    -การประกวดวาดภาพ
    -การให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป
    เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
    -การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
    -การจัดนิทรรศการ
    -การสาธิตภูมิปัญญา
    -การจัดป้ายนิเทศเสริมความรู้
    -การฉายสื่อมัลติมีเดีย
    -การตอบปัญหาสารานุกรมไทยและหนังสือความรู้รอบตัว
    ข้อสังเกต ในการจัดนิทรรศการนั้นจะเป็นการเลือกใช้วัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง ส่วนป้ายนิเทศนั้นเป็นป้ายที่ใช้เสริมความรู้ เป็นการสื่อความรู้โดยไม่มีการใช้ข้อความที่มาก จึงเป็นองค์ความรู้แบบสั้นๆ   โดยใช้ข้อความสั้นๆ เพื่อบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น ใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
  5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 
    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การจัดมุมรักการอ่าน
    -การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
    -การจัดห้องสมุดเคลื่อนที่
  • การเล่านิทาน (Story telling)*การเล่านิทานมีจุดเริ่มต้นในการบอกเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีการปรับเปลี่ยนเรื่องเล่าให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าโครงเดิม
    การเล่านิทานเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน เพราะนิทานให้ทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพิ่มพูนความรู้ทางภาษา เสริมสร้างจินตนาการ ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง เนื่องจากเกิดความคล้อยตามจากการเรียนรู้จากการฟังนิทาน นอกจากนี้ผู้เล่านิทานต้องมีการใช้จิตวิทยาในการศึกษาความสนใจของผู้ฟังว่าให้ความสนใจในเรื่องใดบ้างก่อนทำการเล่า เนื่องจาก ในการเล่านิทานย่อมมีทั้งผู้ฟังที่เป็นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ดังนั้นผู้เล่าจึงต้องพิจารณาเรื่องที่จะนำมาเล่าให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่จะมาฟังด้วย ซึ่งจะมีความสนใจเหมือนกัในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ผู้เล่าต้องพยายามสื่อไปให้ถึงนิทานที่เป็นตัวเล่มให้ได้ เนื่องจากเราใช้นิทานเป็นสื่อนำไปสู่การอ่าน ถ้าผู้เล่าสามารถเล่าเรื่องให้สนุก เด็กก็จะเกิดความสงสัยและซักถามผู้เล่าหลังจากฟังเรื่องเล่าจบ และผู้เล่าทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป นักเรียนจะอยากรู้จนต้องหาหนังสือมาอ่านเอง จึงเห็นได้ว่าการเล่านิทานนั้นมีบทบาทช่วยสั่งสอนด้านศีลธรรมจรรยา ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
  • ประเภทของนิทานที่มีในไทย
    (1)นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์
    (2)นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก
    -นิทานที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวอ้างมาจากพุทธวัจนะ มีอยู่ในคำเทศน์ เช่น เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
    (3)นิทานประเภทคำกลอน
    (4)นิทานชาดกนอกนิบาตชาดก
    -นิทานที่ไม่ได้มาจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ เป็นนิทานพื้นเมืองของประเทศต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ได้อ้างมาจากพุทธวัจนะ
    (5)นิทานพื้นเมือง
    -เช่น เกาะหนูเกาะแมว ตายายปลูกถั่วปลูกงา
    (6)นิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ
    (7)นิทานสุภาษิต
    (8)นิทานยอพระเกียรติ
    -เป็นนิทานที่เชิดชูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ไทย หรือผู้นำบางประเทศ
  • การเลือกนิทานสำหรับเล่า
    วรรณกรรมที่เลือกมาเล่าให้เด็กฟังควรเป็น
    (1)นิทานปรัมปรา
    (2)ร้อยกรอง
    (3)สารคดี
    (4)ประวัติบุคคลสำคัญ
    -เด็กสามารถใช้ในการเรียนรู้เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
    การเล่านิทานเป็นศิลปะอันจะฝึกฝนได้ ดังนั้น ผู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำจนจำขึ้นใจ บางครั้งอาจใช้หนังสือประกอบในการเล่าได้ ไม่ควรก้มหน้าก้มาในการเล่า โดยไม่สนใจผู้ฟัง อีกทั้งยังต้องมีทักษะในการเล่าเรื่องด้วยคำพูดที่ไพเราะ มีความดึงดูดใจ ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเล่าเรื่อง และเลือกนิทานที่มีเนื้อหาชวนให้ติดตาม
  • นิทานที่เหมาะสำหรับการเล่า
    (1)มีความเคลื่อนไหวอยู่ในเรื่อง
    (2)มีเนื้อเรื่องเร้าใจ ชวนให้ติดตามว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
    (3)มีพรรณนาโวหาร ในการใช้ภาษาที่ถูกต้องให้เด็กฟัง
    (4)มีการใช้คำซ้ำๆ ข้อความซ้ำๆ และคล้องจองกัน
    (5)ตัวละครมีปฏิภาณไหวพริบ
    (6)เนื้อเรื่องมีความรู้สึกสะเทือนใจ
    (7)ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไป
    (8)เรื่องเกี่ยวกับสัตว์เล็กๆ
    (9)นิทานสุภาษิตและนิทานอีสป
    (10)เรื่องขำขัน
    (11)ตำนาน นิทานพื้นเมือง เทพนิยาย เทพปกิรณัม
  • วิธีการเล่านิทาน
    (1)มีการจัดให้เด็กนั่งเตรียมพร้อมสำหรับการฟัง
    (2)มีการสร้างบรรยากาศในการเล่า
    (3)สามารถเล่าได้อย่างมั่นใจ
    (4)การใช้ภาษาสำนวนที่ง่ายๆ
    (5)จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องเล่า
    (6)ผู้เล่าต้องพยายามสร้างมโนภาพในเรื่องที่จะเล่า
    (7)ควรแสดงท่าทางประกอบตามความสมควรเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
    ในการเล่านิทานผู้เล่าควรหลีกเลี่ยงในการก้มหน้าก้มตาเพื่อเล่าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สบตากับผู้ฟังเลย ผู้เล่าจึงควรพยายามมองผู้ฟังในขณะที่เล่าให้ทั่วถึง
  • ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการฟังนิทาน
    (1)ทำให้เด็กรู้จักเลือกอ่านหนังสือที่ตนเองชอบ
    (2)รู้จักแก้ปัญหาให้ตนเองได้เมื่อนำตนเข้าไปเปรียบเทียบกับตัวละครในเรื่อง
    (3)ทำให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขวาง
    (4)เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึก เกิดการหัวเราะและมีจินตนาการร่วมไปกับการเล่านิทาน
    (5)ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น