วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

เรื่อง การประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2554

________________________________________________

 การประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด


  • ความหมายของการประชาสัมพันธ์ (Public Relations)การประชาสัมพันธ์  หมายถึง การใช้ความพยายามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้สามารถสร้างและรักษาค่านิยม (Goodwill) เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรกับชุมชม และยังเป็นการจัดการขององค์การเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับข่าวสารกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดเห็น (Opinion) ทัศนคติ (Attitude) และค่านิยม (Value) หรือเป็นการติดต่อสื่อสารกับชุมชมทั้งภายในภายนอกเพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กรกับสาธารณชน รวมทั้งความพยายามที่ได้วางแผนอย่างต่อเนื่องที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งความปรารถนาดีและความเข้าใจกันระหว่างองค์การและสาธารณชน นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ยังเป็นหน้าที่ในการบริหารเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ กำหนดปรัชญาและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์จะต้องสื่อสารกันทั้งในกลุ่มภายในองค์การและภายนอกองค์การเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายขององค์การและความคาดหวังของสังคม จึงสามารถสรุปได้ว่า การประชาสัมพันธ์เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากหน่วยงานหรือจากผู้บริหารไปยังกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องโดยการใช้สื่อต่างๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีของหน่วยงานให้กลุ่มชนเป้าหมายยอมรับต่อไป

    แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการเขียน
    www.ranong2.dusit.ac.th/KM&R/ca19.doc

  • วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
    (1)เพื่อสร้างภาพพจน์หรือภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์การ ซึ่่งจะมีผลติดตามมาหลายอย่าง เช่น มีผู้ใช้ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น หนังสือและสื่อความรู้อื่นๆ มีการหมุนเวียนการใช้มากขึ้น ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากชุมชนและรัฐบาล จะเห็นได้ว่า ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้เกิดความสนใจในกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นมาเพื่อแนะนำหนังสือ ในกรณีที่หนังสือนั้นไม่มีผู้ใช้ ไม่ต้องการให้หนังสืออยู่บนชั้นโดยไม่ถูกหยิบยืมจากผู้ใช้เลย ซึ่งจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเงินงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาหนังสือ ดังนั้น ต้องมีการทำการสำรวจหนังสือเที่ไม่มีผู้ใช้เพื่อนำมาจัดกิจกรรมเล่าเรื่องหนังสือ เพื่อเล่าให้ผู้ใช้ในห้องสมุดฟังและรับทราบว่าเนื้อหาภายในหนังสือนั้นมีประโยชน์และมีคุณค่าในการนำไปใช้งาน
    (2)เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดที่ประชาชนมีต่อองค์การ สถาบันเป็นสิ่งที่ไม่พังปรารถนาอย่างยิ่งเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียหายได้ เช่น ลดปริมาณผู้เข้าใช้ห้องสมุดลง เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์การ จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันชื่อเสียงไม่ให้เสื่อมเสียหรือเกิดความเข้าใจผิดในองค์การ
    (3)เพื่อกระตุ้นความสนใจ
    (4)เพื่อสร้างความนิยมแก่ชุมชนในละแวกใกล้เคียงให้สามารถเข้ามาใช้ได้
    (5)เพื่อสร้างความนิยมในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
    (6)เพื่อชี้แจงและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
    (7)เพื่อเพิ่มพูนความเป็นมิตรไมตรีจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ห้องสมุดไม่สามารถอยู่เพียงลำพังได้ จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด
  • กระบวนการประชาสัมพันธ์
    กระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
    (1)การวิจัย-การรับฟังความคิดเห็น (Research-Listening) เป็นขั้นตอนการดำเนินงานขั้นแรก เป็นการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากการวิจัยและรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นการสำรวจตรวจสอบประชามติ ความคิดเห็น ทัศนคติ ตลอดจนปฏิกิริยาที่ประชาชนผู้เกี่ยวข้องมีต่อการดำเนินงานหรือต่อนโยบายขององค์กร
    หรือกล่าวได้ว่าการวิจัยมีขึ้นมาเพื่อต้องการทราบว่าเกิดอะไรขึ้นในขณะนั้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยมีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยมีการตั้งคำถามที่จะต้องมีความกว้าง เพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่ต้องการ ส่วนการรับฟังความคิดเห็น เป็นการสนทนา การพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นการพูดคุยเพื่อให้ได้แผนที่จะมาใช้ในการเตรียมการประชาสัมพันธ์
    (2)การวางแผนและการตัดสินใจ (Planning-Decision Making) การดำเนินงานในขั้นนี้เป็นการนำเอาทัศนคติและปฏิกิริยาต่างๆ ที่ค้นคว้ารวบรวมมาได้มาพิจารณาประกอบการวางแผน กำหนดนโยบายและโครงการขององค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายและโครงการที่มีประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
    (3)การติดต่อสื่อสาร (Communication) คือ การปฏิบัติการสื่อสารกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินงานตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้ โดยจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
    (4)การประเมินผล (Evaluation) เป็นการดำเนินงานในขั้นสุดท้าย เป็นการวัดผลว่าการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ได้ทำไปแล้วนั้น ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางแผนหรือกำหนดโครงการไว้หรือไม่ ซึ่งเป็นการประเมินว่าได้ผลดีมากน้อยเพียงใด หรือการได้รับผลตอบรับดีหรือไม่ดี
  • องค์ประกอบของการสื่อสาร
    (1)ผู้ส่งสาร เป็นผู้ริเริ่มที่จะบอกผู้อื่นว่าต้องการให้รับรู้เรื่องอะไร โดยใช้วิธีใดก็ได้  ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีคิด พูด เขียน หรือโฆษณา มีความเชือมโยงกับวิธีในการวางแผน ผู้ส่งสารที่ดีควรมีคุณลักษณะ ดังนี้ คือ มีทักษะในการสื่อสารที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง มีการพูดที่ชัดเจนและตรงประเด็น มีความรอบรู้ สามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว มีทัศนคติที่ดีในเรื่องที่ตนนั้นจะต้องทำการประชาสัมพันธ์ มีความรู้เกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อสารและมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้อื่น เช่น วัฒนธรรมขององค์กร วัฒนธรรมของผู้รับสาร เป็นต้น
    (2)สาร เป็นสิ่งที่ต้องการบอกหรือประกาศให้รับรู้ สารสามารถแบ่งออกได้เป็นภาษา (ระดับของสาร) เนื้อหาของสาร ที่มาของสาร (มาจากแหล่งใดบ้าง) ซึ่งสารนั้นจะมาจากแหล่งต่างๆ ที่ให้ข้อมูลสารสนเทศ
    (3)ช่องทางหรือสื่อ (Channel หรือ Media) ช่องทางที่ต้องการส่งสารนั้นออกไป ต้องทำการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการส่งสาร เช่น การประกาศหรือโฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุ เป็นต้น
    (4)ผู้รับสาร เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะส่งสารนั้นออกไป ให้เกิดการรับรู้และเข้าใจในสารที่่ต้องการส่ง
    (5)ระบบสังคม เป็นสิ่งที่กำหนดให้ผู้ส่งสารมีบทบาทหน้าที่ทางสังคมเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้รู้ว่าคนกลุ่มนั้นต้องการอะไร
  • กลุ่มเป้าหมายของการสื่อสาร
    (1)การสื่อสารภายในองค์การ ประกอบไปด้วย การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชา (ผู้บริหาร) การสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชา การสื่อสารจากผู้ร่วมงานระดับเดียวกัน และการสื่อสารต่างระดับสายงาน จะเห็นได้ว่าการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ เป็นการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายในองค์การ ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจาก จะทำให้ภายในองค์การเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและป้องกันการเข้าใจผิด
    (2)การสื่อสารภายนอกองค์การ การสื่อสารภายนอกนี้กระทำได้ 2 วิธี คือ การสื่อสารที่สถาบันควบคุมได้ กับ การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน
  • หลักในการสื่อสาร
    หลักกว้างๆ ในการสื่อสารให้มีประสิทธิผล คือ
    1.ความถูกต้องน่าเชื่อถือ หมายถึง ความถูกต้องน่าเชื่อถือของสารและบุคคลผู้ส่งสาร หรือ แหล่งสาร สำหรับตัวผู้ส่งสารและแหล่งสารนั้น ความน่าเชื่อถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะหลายประการ ดังนี้
              (1)ความรู้ ประสบการณ์ของแหล่งสาร
              (2)บุคลิกภาพของผู้ส่งสาร
              (3)การมีคุณสมบัติที่สอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาของงาน
              (4)วิธีการสื่อสาร
    2.ความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
    3.ความแจ่มแจ้ง
    4.ความเหมาะสมกับกาละเทศะ
    5.ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    6.ความเหมาะสมในการใช้สื่อ
    7.ความสามารถของผู้รับสาร
  • การสื่อสารประชาสัมพันธ์
    ลักษณะเฉพาะของการสื่อสารประชาสัมพันธ์
    (1)การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง
    (2)การประชาสัมพันธ์ทำได้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
    (2.1)แบบที่เป็นทางการ การติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้ ฝ่ายบริหารมักจะใช้ในการชื้แจงบอกกล่าวกับประชาชนทั้งภายในและภายนอกองค์การ เป็นการติดตอสื่อสารที่ต้องมีระเบียบแบบแผนและข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน และอาจทำเป็นลายลักษณ์อักษร
    (2.2)แบบที่ไม่เป็นทางการ ส่วนมากจะใช้ในการติดต่อระหว่างบุคคล ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในองค์การ การติดต่อสื่อสารแบบนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการสร้างความเข้าใจที่ดี หรือแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนต่างๆ
    (3)การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ คือ
        -เป็นการสื่อสารเพื่อแจ้งให้ทราบ
        -เป็นการสื่อสารเพื่อให้ความรู้
        -เป็นการสื่อสารเพื่อให้ความบันเทิง
        -เป็นการสื่อสารเพื่อจูงใจ
    (4)การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารที่สามารถควบคุมสื่อได้เอง และอาศัยสื่อมวลชนทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์มาทำการสื่อสาร
    (5)มีการจัดกลุ่มเป้าหมาย
  • การวางแผนการประชาสัมพันธ์
    การวางแผนประชาสัมพันธ์ หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเพื่อให้การดำเนินงานนั้นๆ มีความสอดคล้องต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยแผนการประชาสัมพันธ์อย่างน้อยจะต้องระบกิจกรรมต่างๆ พร้อมกำหนดเวลาและรายละเอียดที่เหมาะสม
  • ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
    การประชาสัมพันธ์จะช่วยให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสถาบัน และกลุ่มประชาชน ฉะนั้น การประชาสัมพันธ์ถึงมีความสำคัญในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
    (1)ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบัน องค์การกับกลุ่มปราะชาชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มประชาชนภายในหน่วยงานและกลุ่มประชาชนภายนอก
    (2)เป็นกลไกในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ชื่อเสียง ศรัทธาให้เกิดแก่สถาบัน องค์การ หรือหน่วยงาน
    (3)ช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของสถาบัน องค์การ เป็นไปได้ด้วยดี
    (4)เป็นกลไกในการชักจูงโน้มน้าวใจ ให้เกิดการยอมรับ สนับสนุน และเกิดการปฏิบัติตาม
    (5)เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดในองค์การ สถาบันที่เป็นหน่วยงานธุรกิจ นำมาใช้ในการสื่อารสินค้า หรือบริการไปยังผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
    (6)เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสถาบัน องค์การ
  • ความหมายของภาพลักษณ์
    ภาพลักษณ์ หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในใจ อาจเป็นภาพใดๆ ก็ได้ ซึ่งเป็นความประทับใจของบุคคลที่มีต่อองค์กร บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งความประทับใจนี้มีรากฐานมาจากความสัมพันธ์หรือผลกระทบระหว่างบุคคลกับสิ่งนั้นๆ ภาพลักษณ์มีความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์มาก เมื่อใดองค์การมีการพิจารณาถึงการประชาสัมพันธ์ก็จะมีคำว่าภาพลักษณ์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เนื่องจากการประชาสัมพันธ์เป็นงานที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์และเป็นงานที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เพื่อผลแห่งชื่อเสียง ความเชื่อถือ ศรัทธาจากประชาชนที่มีต่อองค์กร ในทางตรงกันข้ามหน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตามหากมีภาพลักษณ์ไปในทางที่เสื่อมเสียแล้ว หน่วยงานนั้นย่อมไม่ได้รับความยอมรับนับถือ หรือความไว้วางใจจากประชาชน อาจมีความระแวงสงสัยหรือเกลียดชัง รวมทั้งอาจไม่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานนั้นๆ แต่ถ้าหากหน่วยงานมีภาพลักษณ์ที่ดี ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานย่อมเป็นสิ่งที่ดี ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ย่อมเกิดจากความเพียรพยายามด้วยระยะเวลาอันยาวนาน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเมื่อภาพลักษณ์นั้นตราตรึงอยู่ในจิตใจของประชาชนแล้ว ก็จะประทับแน่นอยู่ในจิตใจของประชาชนตราบนานเท่านาน
  • ภาพลักษณ์ขององค์การ
    ทุกองค์การ ทุกหน่วยงานต้องการให้หน่วยงานของตนมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่การจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดีได้นั้นต้องอาศัยเวลาและการสั่งสมแนวปฏิบัติที่ดี และต้องการคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรเป็นเครื่องผลักดัน เมื่อเกิดมีขึ้นแล้วหน่วยงานนั้นก็ควรพยายามรักษาภาพลักษณ์นั้นไว้ ซึ่งฝ่ายประชาสัมพันธ์ขององค์การจะมีหน้าที่เผยแพร่สู่สาธารณชน
  • การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคน
    คนทั่วไปมักมีความคิดที่ว่า การสร้างภาพลักษณ์ในองค์กรหรือหน่วยงานเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็มีความถูกต้องในบางส่วนเท่านั้น แต่โดยแท้จริงแล้วการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในองค์กร ซึ่งจะต้องให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี องค์กรจะไม่มีวันทำสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนในองค์กร เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ย่อมต้องมีการติดต่อกับประชาชนและมีบทบาทในการสร้างความประทับใจหรือภาพลักษณ์ที่ดี
  • การเกิดภาพลักษณ์
    ภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
    (1)ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยที่สถาบัน องค์การไม่ได้ดำเนินการใดๆ
    (2)ภาพลักษณ์ที่เกิดจากกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตามที่สถาบัน องค์การ ต้องการจะให้เป็น
  • การวางแผนการประชาสัมพันธ์
    การวางแผนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเพื่อให้การดำเนินงานนั้นๆ มีความสอดคล้องต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยแผนการประชาสัมพันธ์อย่างน้อยจะต้องระบุกิจกรรมต่างๆ พร้อมกำหนดเวลาและรายละเอียดที่เหมาะสม
  • ความสำคัญของการวางแผนการประชาสัมพันธ์
    (1)การวางแผนกำหนดแนวทางปฏิบัติ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติมีขวัญและกำลังใจในการทำงานมาก
    (2)การวางแผนช่วยให้เกิดการประสานงานภายใน ช่วยเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการประสานงานระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
    (3)การวางแผนช่วยให้สามารถระบุปัญหาในการที่จะใช้การประชาสัมพันธ์แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ทางสถาบันเผชิญอยู่
    (4)การวางแผนช่วยให้ติดตามประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลักษณะการวางแผนการประชาสัมพันธ์ที่ดี
    การวางแผนการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีลักษณะดังต่อไปนี้
    (1)มีความยืดหยุ่น
    (2)สามารถปฏิบัติได้
    (3)เหมาะสมกับเวลา
    (4)มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
    (5)สามารถประเมินผลได้

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเล่าหนังสือ (Book Talk)

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

เรื่อง การเล่าหนังสือ (Book Talk)

ประจำวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2554
_______________________________________________


การเล่าหนังสือ (Book Talk)
  • ความหมายของการเล่าหนังสือ
    การเล่าหนังสือ (Book Talk) เป็นการนำเอาหนังสือที่เลือกมาพูดให้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ โดยเลือกจากจุดเด่นของหนังสือมาเล่า พร้อมทั้งมีหนังสือมาแสดงในขณะที่ผู้เล่ากำลังเล่าเรื่องด้วย เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือเพือดึงดูดให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้ฟังที่จะติดตามหนังสือเล่มนั้นมากยิ่งขึ้น 
  • การเตรียมการและวิธีการเล่าเรื่องหนังสือ
    (1)ทำการเลือกหนังสือที่จะเล่า โดยต้องมีการคำนึงถึงผู้ฟังและผู้เล่าด้วย
    (2)พิจารณาจำนวนผู้ฟัง ระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงจะเห็นได้ว่ามีความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกัน เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะสนใจในเรื่องที่ไม่เหมือนกัน หรืออาจมีความสนใจร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ฟังต้องทำการพิจารณาว่าจะนำประเด็นใดในหนังสือมาพูดเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ฟัง ดังนั้น ต้องอาศัยจิตวิทยาในการเล่าให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังที่มาฟัง
    (3)พิจารณาภูมิหลังของกลุ่มผู้ฟัง ผู้เล่าจะต้องทราบว่ากลุ่มผู้ฟังที่มาฟังเป็นใคร กำลังสนใจในเรื่องอะไร มีประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร และกำลังประสบปัญหาในเรื่องใด เพื่อให้สามารถเลือกหนังสือที่มีความเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มฟังได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางก่อให้เกิดการส่งเสริมการค้นคว้าหาข้อมูลมากขึ้นในกลุ่มผู้ฟัง
    (4)จัดหัวข้อเรื่องที่จะเล่า กำหนดจำนวนหนังสือที่จะนำมาเล่าในหัวข้อนั้นๆ ต้องมีการจัดระเบียบในการฟัง มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเล่า คือ เพื่อรณรงค์ให้มีคนสนใจอ่านหนังสือในห้องสมุดมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ใช้รู้จักหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น
    (5)กำหนดเวลาในการเล่า หลังจากที่ผู้เล่าสามารถกำหนดหัวข้อในการนำมาเล่าได้แล้ว จะใช้เวลาในการเล่าประมาณ 40 นาที และเหลือเวลาไว้อีกประมาณ 10 นาที เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้สอบถามข้อสงสัย หรือแลกเปลี่ยนทัศนคติหรือความคิดเห็นในเชิงวิชาการระหว่างผู้ฟังกับผู้เล่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ คือ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือมากยิ่งขึ้น
    (6)ทำโน้ตที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด หรือทำเป็นโครงเรื่องก่อนที่จะมีการพูด เป็นการบันทึกประเด็นสำคัญในการพูด ต้องมีการจัดทำบรรณานุกรมและมีการอ้างอิงที่ถูกต้อง
    (7)บางครั้งใช้วิธีการอ่านก็ได้ เช่น อ่านโคลงหรือกลอน หรือความเรียงบางเรื่องที่ใช้ภาษาไพเราะ และสละสลวย
  • การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
    การวิจารณ์หนังสือเป็นการพิจารณาหนังสือเกี่ยวกับลักษณะการเขียนเนื้อว่ามีจุดดีหรือจุดเด่น ความประทับใจ หรือการให้ความรู้ ข้อคิดในเรื่องใด มีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนอยู่ในวิธีการเขียน หรือเนื้อหาสาระของเรื่องในตอนใดบ้าง อาจจะมีการเชิญนักเขียน หรือวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิจารณ์หนังสือ และเป็นบุคคลที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ฟังมาวิจารณ์หนังสือ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจในหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น ส่งเสริมการอ่านให้กับผู้ใช้ในห้องสมุด เนื่องจาก เป็นการแนะนำเนื้อหาภายในหนังสือว่ามีเนื้อหาที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
  • จุดประสงค์ของการจัดการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด
    (1)ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือที่มีคุณค่ามากขึ้น
    (2)ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณในการอ่าน
    (3)เป็นการแนะนำหนังสือดีที่ควรอ่าน
  • ลักษณะของนักวิจารณ์หนังสือที่ดี
    (1)เป็นนักอ่าน หรือชอบอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
    (2)เป็นผู้พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของหนังสือ และวิธีการวิจารณ์
    (3)ควรได้ศึกษาชีวิตและงานของนักเขียน ทัศนคติที่ปรากฏเด่นในงานประพันธ์ ลีลาการเขียน และควรศึกษาผลงานอื่นๆ ของผู้เขียนด้วย
    (4)มีความสามารถในการอ่านและมีวิจารณญาณอันดี
    (5)มีใจเป็นกลาง
  • ประโยชน์จากการวิจารณ์ (นักวิจารณ์หนังสือที่มีความรู้และมีใจเป็นธรรมย่อมได้รับสิ่งประโยชน์จากการวิจารณ์ เนืองจากปราศจากอคติในการวิจารณ์ ย่อมวิจารณ์อย่างมีเหตุมีผล และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ฟัง)
    (1)ทำให้เกิดความคิด สติปัญญา ไม่ปล่อยให้สิ่งใดผ่านไป โดยไม่พิจารณา
    (2)ทำให้ผู้วิจารณ์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น
    (3)สามารถแก้ไขสิ่งบกพร่องให้ดีได้
    (4)ช่วยทำให้เป็นผู้มีเหตุผล เพราะการวิจารณ์จะต้องคำนึงถึงหลัก และต้องวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
    (5)ความเที่ยงธรรมในการวิจารณ์ การไม่ใช้อารมณ์ จะช่วยปลูกฝังนิสัยดีติดตัวไปด้วย
  • การจัดนิทรรศการ (Library Display)
    ความหมายของนิทรรศการ
    นิทรรศการ ถือเป็นการแสดงการให้การศึกษาแก่ผู้ที่มาชมอย่างหนึ่ง ซึ่งการแสดงงานให้ชมนั้นอาจมีผู้บรรยายให้ฟัง หรือไม่มีก็ได้ จะใช้สถานที่ในอาคาร หรือภายนอกอาคารก็ได้ ข้อควรคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการต้องจัดอย่างมีระเบียบเรียบร้อย สามารถดูได้ง่าย อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความแจ่มชัด และก่อให้เกิดความรู้
  • วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการของห้องสมุด
    (1)กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการอ่านหนังสือ
    (2)แสดงให้ผู้ใช้ทราบว่ามีการให้บริการใดในห้องสมุด และทรัพยากรภายในห้องสมุดจะช่วยคนในชุมชนได้อย่างไร
    (3)แจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวของห้องสมุด และเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกภายนอกให้ผู้ใช้ทราบ
    (4)เชิญชวนให้ผู้ใช้เข้าใช้ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น
    (5)เพื่อจัดบรรยากาศในห้งอสมุดให้สดใส สวยงาม สบายตา น่าเข้าไปอ่านหนังสือ และน่าใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มมากขึ้น
  • ความรู้ที่บรรณารักษ์พึงมีเพื่อประโยชน์ในการจัดนิทรรศการที่ดี
    (1)ความรู้เรื่องศิลปะ
    (2)ความรู้ในสาระของข้อมูลแต่ละเรื่อง
    (3)มีความคิดสร้างสรรค์
    (4)มีความเข้าใจในองค์ประกอบศิลปะ
  • การแบ่งประเภทนิทรรศการ สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
    (1)นิทรรศการใหญ่
    (2)นิทรรศการย่อย
    (3)นิทรรศการให้คำแนะนำโดยตรง
    (4)นิทรรศการความรู้
    (5)นิทรรศการหนังสือ
    (6)นิทรรศการเทศกาลและวันสำคัญ

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Library Trend

กระบวนวิชา 009355

สรุปเรื่อง Library Trend

ประจำวันที่  23  กรกฎาคม  พ.ศ.2554
________________________________

Library Trend

  • บทนำ
    -Library Trend  จัดเป็นการบริการสารสนเทศรูปแบบใหม่ (New Service) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ประเภท  มีดังต่อไปนี้
  1. Cloud  Computing
    -การบริการของห้องสมุดทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ Cloud Computing ทั้งระบบ
    -ข้อควรระมัดระวังในการนำมาประยุกต์ใช้ ควรตรวจสอบดูก่อนว่ามีความเหมาะสมต่อสถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดหรือไม่  ตัวอย่างของ Cloud Computing เช่น Facebook , Gmail
    Cloud Computing สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 มิติ ดังนี้
    1.1ที่ตั้ง การทำงานที่เราไม่สามารถประมวลผลบบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ โดยที่ไม่รู้ว่าถูกเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด เป็นการทำงานโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แล้วประมวลผลโดยเน็ตเวิร์คกลางของโลก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการทำงานที่เราไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นไปอยู่ที่ใด โดยที่เราไม่ทราบแหล่งที่ตั้งของข้อมูลที่จัดเก็บและเครื่อง Server ดังนั้น Cloud Computing จึงเป็นการทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีเครื่อง Server เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำการประมวลผลข้อมูล   
    1.2กลุ่มก้อน ไม่ได้มี Server ตั้งอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เครื่อง Server กลางจึงไม่ได้มีเพียงแค่จุดเดียว เห็นได้จาก Gmail สามารถรองรับคนได้ทั่วโลก โดยไม่มีการจำกัดจำนวนของผู้เข้าใช้ มีการตั้งเครื่อง Server แบบกระจายทั่วโลก โดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่าตั้งอยู่ที่ใดบ้าง
    -OCLC (www.oclc.org) มีคำขวัญที่กล่าวไว้ว่า The World's Libraries Connected เป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดซึ่งมีส่วนช่วยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งนั้นสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันโดยมีการจัดทำระบบ Cloud ILS และ Cloud OPAC ซึ่งห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Server OPAC หรือ Program ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เกิดการสิ้นเปลืองเงินงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ห้องสมุดจึงควรที่จะเช่าพื้นที่จาก OCLC เนื่องจาก สามารถเชื่อมต่อกับห้องสมุดอื่นๆ อีกหลายแห่ง
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามกลุ่มผู้ใช้ ได้ดังนี้
    (1)ระดับองค์กร เช่น Cloud Library
    (2)ระดับบุคคลหรือบริการ เช่น Gmail , Facebook , Meebo
    (3)Cloud แบบผสม เช่น Dropbox จะเห็นได้ว่าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการใช้ Cloud แบบผสม คือ มีการใช้ทั้งแบบ Public และ Hybrid เป็นการเก็บรวบรวมงานหรือการนำข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาไว้บนเว็บไซต์แล้วให้คนอื่นสามารถมาดาวน์โหลดจาก URL ไปใช้งานด้วยตนเอง เป็นการทำ Cloud ในระดับ Storage
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามการให้บริการ ได้ดังนี้
    (1)Public Cloud เป็นการให้บริการสาธารณะ หรือระดับองค์กร เช่น Gmail , Facebook
    (2)Private Cloud เป็นการให้บริการแบบส่วนบุคคล เช่น การใช้ Dropbox ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    (3)Hybrid Cloud เป็นการรวมทั้งแบบ Private และแบบ Public รวมไว้ด้วยกัน สามารถให้บริการได้ทั่วโลก เนื่องจากมีการจัดทำเป็นแบบสาธารณะ 
    Cloud Computing สามารถแบ่งแยกตามประเภทของเทคโนโลยี
    (1)SaaS (Software as a Service) เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์มาทำการติดตั้งทีละเครื่องเหมือนแต่ก่อน เพียงแค่เราทราบ URL เท่านั้นก็สามารถทำการติดตั้งได้ทุกเครื่อง ตัวอย่างเช่น 
    Google Docs สามารถใช้พิมพ์งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น Word , Excel , PowerPoint การทำแบบสอบถามหรือแบบสำรวจความ
    http://www.zoho.com/ มีระบบงานแบบ Business เช่น ระบบการเงิน ระบบงานบุคคล แต่จะไม่เสียค่าใช้จ่ายระบบการเงิน มีการเสียค่าใช้จ่ายตามเรทที่ต้องการใช้งาน 
    (2)Iaas (Infrastructure as a Service) เป็นการให้บริการของผู้ให้บริการ Server ที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องเช่าพื้นที่หรือซื้อเครื่อง Server เป็นจำนวนมากในการให้บริการแก่ผู้ใช้ และผู้ใช้บริการก็สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Gmail
    (3)Paas (Platform as a Service) เป็นการให้บริการโดยโปรแกรมเมอร์ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อรองรับให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทั่วโลก
  2. Mobile Device
    เป็นการบริการที่ใช้ภายในงานของห้องสมุดที่ต้องอยู่บน Mobile ด้วย ต้องทำการสำรวจก่อนว่าผู้ใช้นั้นมีการใช้โทรศัพท์มือถือจริงหรือไม่ และหากมีการใช้จะใช้โทรศัพท์ประเภทใดมากที่สุด ซึ่งสามารถรู้จักและทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ได้จาก Truehits.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมสถิติของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาผู้ใช้มาทำการประเมินก่อนที่จะออกแบบเว็บไซต์เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ให้ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งผู้ใช้จะมีการใช้อุปกรณ์ในการเข้าถึงเว็บไซต์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
    2.1)Smart Phone เช่น Java , Debian ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่อยู่บนมือถือ
    2.2)Tablet เช่น Android (Galaxy Tab , Galaxy s , LG , HTC)
    2.3)eReader เช่น IOS , Ipad
    2.4)Netbook เช่น Window รวมถึง Notebook โดยทั่วไป ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ไร้สาย รองรับการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง
    ข้อสังเกต IPAD เสียเปรียบ Galaxy Tab เนื่องจาก IPAD ไม่สามารถแสดง Flash ได้ ในขณะที่ Galaxy Tab สามารถแสดง Flash ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Flash นั้นเป็นสิ่งที่มีการนำไปใช้เป็นส่วนประกอบบนหน้าเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก 
  3. Digital Content & Publishing เช่น eBook , IR , Digital Library , OJS
    เกิดขึ้นเนื่องมาจากองค์กรทั่วโลกมีงบประมาณลดลง อีกทั้งภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงส่งผลให้มีเงินรายได้ไม่เพียงพอ และไม่สามารถจ้างคนให้มาทำงานเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งคนที่ทำงานอยู่แล้วก็ต้องแบกรับภาระในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และรับผิดชอบในงานขององค์กรมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นแล้วห้องสมุดขาดงบประมาณในการบอกรับเป็นสมาชิกวารสาร เนื่องจาก วารสารมีราคาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่งบประมาณที่ห้องสมุดได้รับลดน้อยลง ส่งผลให้ห้องสมุดหลายแห่งมีการสร้าง Content ของตนเองขึ้นมาใช้ภายในห้องสมุดของตน ซึ่งมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเมื่อเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องมีการผลิตผลงานทางวิชาการขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหรือบทความทางวิชาการ คู่มือ ตำราทางวิชาการ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการให้บริการภายในห้องสมุด ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญภายในห้องสมุด
    สำหรับขั้นตอนในการจัดทำ ebook ต้องคำนึงถึง
    1)การได้มาของเนื้อหา เป็นการนำผลงานของอาจารย์มาจัดทำในรูปแบบของ eBook เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการภายในห้องสมุด
    2)กระบวนการผลิตและรูปแบบ ในการเลือกรูปแบบต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร เนื่องจากรูปแบบในการจัดทำจะแตกต่างกันตามวัยของผู้อ่าน โดยต้องทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการรูปแบบใด และควรผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
    รูปแบบของ eBook มีดังนี้
    (1).doc เป็นการพิมพ์ด้วย Microsoft Word แล้วนำไปเผยแพร่
    (2).pdf สามารถดาวน์โหลดได้ง่ายและรวดเร็ว
    (3)Flip eBook เช่น โปรแกรม Flip Album อาจจะสามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้หรือไม่ได้ก็ได้
    (4)Flip Flash eBook  สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้ และยังแสดงไฟล์ Flash บนเว็บไซต์ได้
    (5)ePublishing มีรูปแบบที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ หรือหนังสือต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
    (6).ePub เช่น Smart Phone , IPAD , Galaxy Tab , IPhone ซึ่งเป็นนามสกุลของไฟล์เอกสารทีมีความคล้ายคลึงกับไฟล์ PDF เป็นมาตรฐานหรือนามสกุลของไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่
    (7)Digital Multimedia Book เมื่อคลิกที่รูปภาพแล้วจะเล่นวิดีโอขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หรือ เมื่อหากคลิกที่รูปภาพแล้วจะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว ไม่ได้เป็นภาพนิ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ ที่รูปภาพอาจมีการทำการเชื่อมโยงไปยังวิดีโอก็ได้
    3)ลิขสิทธิ์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ต้นฉบับ กับ ลิขสิทธิ์การเผยแพร่ ซึ่งหากมีการนำไปจัดทำเป็น eBook ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน 
  4. Crosswalk Metada
    เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นการเดินข้ามข้อมูลชุดหนึ่งไปยังข้อมูลอีกชุดหนึ่ง เป็นการนำเมทาดาตาที่มากกว่าหนึ่งชุดมาผสมผสานกัน หรือมากกว่า 1 ประเภทหรือ 1 รูปแบบมาผสมกันในวัตถุ 1 ชิ้น ซึ่งเมทาดาตามีหลายรูปแบบ ดังนี้
    (1)MARC
    (2)MARCML
    (3)Dublin Core
    (4)ISAD (g) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำจดหมายเหตุดิจิตอล
    (5)CDWA เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์
    (6)RDF เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำ High KM ในรูปแบบของ Web 3.0 หรือ Web Sementic
    (7)OWL เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการจัดทำ High KM ในรูปแบบของ Web 3.0 หรือ Web Sementic
    (8)MODS เป็นมาตรฐานในการใช้ทำ Digital Collection Library แต่มี Element มากกว่า Dublin Core
    (9)METs เป็นมาตรฐานในการใช้ทำ Digital Collection Library แต่มี Element มากกว่า Dublin Core
    (10)PDF Metadata
    (11)Doc Metadata
    (12)EXIF เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN 
    (13)XMP เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN
    (14)IPTC เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิตอล เช่น การทำงานของนักข่าว CNN 
  5. Open Technology
    เป็นมาตรฐานที่เปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงข้อมูลบรรณานุกรมของแต่ละสถาบันได้
    ILS หรือ DBS <---> DBS , Apps
    5.1)Z39.5 (ILS <---> ILS) เป็นมาตรฐานของการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS กับ ILS หรือ เป็นการดูดบรรณานุกรมที่มีการลงรายการไว้เรียบร้อยแล้วเข้าไปยังห้องสมุด จึงเป็นการช่วยประหยัดเวลาและลดภาระงานให้กับบรรณารักษ์ เนื่องจาก บรรณารักษ์ไม่ต้องทำการลงรายการเอง สามารถคัดลอกบรรณานุกรมที่มีผู้จัดทำไว้โดยการนำเลข ISBN ป้อนเข้าไปยังโปรแกรม จากนั้นโปรแกรมก็จะดูดบรรณานุกรมของห้องสมุดอื่นมาใส่ไว้ให้เรียบร้อย
    5.2)Z39.88 (ILS <---> Apps) เป็นมาตรฐานที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งช่วยในการให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Reference Manager Software ของห้องสมุด ร่วมกับ Reference Manager Application อื่นๆ นับว่าเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือหรือบรรณานุกรมอื่นๆ
    -OAI-PHM เป็นแนวคิดในการจัดทำ One Search ตัวอย่างเช่น http://tnrr.in.th ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย ซึ่งเกิดมาจากความคาดหวังของผู้ใช้เมือค้นหาข้อมูลเพียงครั้งเดียวก็จะปรากฎสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างครบถ้วน ไม่ต้องไปค้นหาจากเว็บไซต์อื่นๆ อีก และต้องมีการบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้ใช้ได้รับว่ามาจากแหล่งใดบ้าง และที่สำคัญผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีรูปแบบ Visual กับกับร่วมด้วย ไม่ควรทำผลลัพธ์ในรูปแบบ Text เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    www.vijai.net เป็น One Search แบบ Web Query
    Linked data ---> Semantric Web / Web3.0 
    -  Metadata
    -  Bibliography
    Semantic Web เป็นการสืบค้นที่ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้นหาเป็นประโยคได้ สำหรับ Web 3.0 จะเป็นการพิมพ์คำค้นแล้วแนะนำคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ใช้ได้ หรือแนะนำคำอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคำที่สืบค้นมาให้ผู้ใช้ได้ สำหรับ Search Engine ที่เป็นต้นแบบของ Web 3.0 คือ http://www.wolframalpha.com และ http://164.115.5.61/thesaurus
    Linked Data สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
    (1)Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ที่ให้สิทธิ์คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งมีข้อจำกัด คือ ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว
    (2)Web 2.0 เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเองได้บนอินเตอร์เน็ต
    (3)Web 3.0 หัวใจหลัก คือ Semantic Web ถ้าเป็น Semantic Web เป็นการสืบค้นข้อมูลที่ต้องป้อนเป็นประโยค ต้องเป็นประโยคสืบค้นที่มีความหมาย จึงจะถือเป็น Web เชิงความหมาย สามารถให้คำตอบแก่ผู้ใช้ได้
  6. Data & Information Mining / Visualization 
    ระบบฐานข้อมูลที่สามารถให้ผลลัพธ์ได้มากกว่าที่ผู้ใช้ค้นหา ผู้ใช้จะต้องได้ข้อมูลที่มากกว่า Text คือ ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลในรูปแบบที่เป็นสื่อประสมหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งในการค้นหาข้อมูลในแต่ละครั้งจะต้องทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    (1)Search
    (2)การวิเคราะห์
    (3)การแสดงผลเป็นเส้นกราฟที่มีการโยงความสัมพันธ์กัน
    www.boliven.com เป็นการให้บริการที่มีการเชื่อมโยงคำสืบค้นไปให้ผู้ใช้ได้ด้วย Visual Search เช่น www.vadl.cc.gatech.edu เป็นเว็บห้องสมุดดิจิตอล
    เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับรูปภาพ ซึ่งสามารถค้นโทนสีของภาพได้
    http://labs.ideeinc.com/visual
    www.krazydad.com/colrpickr
    http://labs.ideeinc.com/multicocour
  7. Green Library 
    เป็นแนวคิดที่เกิดมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงเกิดเป็นแนวคิดทำอย่างไรที่จะให้ห้องสมุดมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนขึ้น  หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ จึงได้มีการจัดทำโครงการขึ้นภายในห้องสมุดให้มีการจัดกิจกรรมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนขึ้นมา เพื่อคำนึงถึงสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นดโครงการห้องสมุดสีเขียวขึ้นมา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
    7.1)Green Building เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารและการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น การปลูกต้นไม้บนหลังคา และนำเอาต้นไม้เข้ามาไว้ในบางจุดภายในห้องสมุดตามความเหมาะสม การนำโต๊ะอ่านหนังสือมาไว้ใกล้หน้าต่าง เพื่อให้ผู้ใช้ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติในการอ่านหนังสือ การใช้สวิตซ์ไฟที่ผู้ใช้ไม่ต้องเปิด-ปิดด้วยตนเอง แต่จะเป็นแบบอัตโนมัติที่สว่างขึ้นมาเองหากผู้ใช้เดินไปภายในบริเวณที่อ่านหนังสือของตน หรือจะเปิดเฉพาะบริเวณที่มีผู้ใช้มานั่งอ่านหนังสือเท่่านั้น
    ตัวอย่างเว็บไซต์ที่จัดโครงการหรือกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวขึ้นมา คือ www.beat2010.net
    7.2)Green ICT เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำซ้ำหนังสือจากการถ่ายเอกสารเป็นการสแกนหนังสือแทน  มีการใช้อุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ที่ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน นอกจากนี้การนำ cloud มาใช้ในองค์กรก็สามารถช่วยลดพลังงานได้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่อง Server มาใช้ภายในห้องสมุด โดยการซื้อเครื่อง Server จากภายนอกแทน จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

    Web 4.0
    เป็นเว็บที่มีการก้าวเข้าสู่ระบบ Automatic AV
    ตัวอย่างเว็บไซต์ต้นแบบของ Web 4.0 มีดังนี้
    -www.researchgate.net
    -www.biomedexperts.com เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของคำที่สืบค้นมาให้ทั้งหมด
    จะเห็นได้ว่า Web 4.0 เป็นเว็บที่สามารถดึงเอาข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนทั้งหมดที่ผู้ใช้เคยมีประวัติการเข้าร่วมทำกิจกรรมหรือมีข้อมูลอยู่บนเว็บไซต์ที่ใดบ้างมายังผู้ใช้ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้สามารถทราบประวัติทั้งหมดได้ทันที ถึงอย่างไรก็ตาม Web 4.0 ก็ยังคงเป็นปัญหาในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เนื่องจาก มีการนำเอาข้อมูลทุกอย่างของผู้ใช้มาทำการรวบรวม ย่อมก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิบางอย่างของผู้ใช้ได้นั่นเอง


     

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมห้องสมุด

กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

ประจำวันที่  22  กรกฎาคม  พ.ศ.2554


สรุปเรื่อง กิจกรรมห้องสมุด
______________________________________________

กิจกรรมห้องสมุด

  • ความหมายของกิจกรรมห้องสมุด
    -เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือในโอกาสต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด และส่งเสริมการอ่าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการอ่านตลอดชีวิต จึงทำให้มีความแตกต่างกับงานบริการที่จัดขึ้นในห้องสมุด ซึ่งจะเป็นงานที่จะคงอยู่ภายในห้องสมุดตลอดไป และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เป็นงานประจำที่บรรณารักษ์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการวางแผนว่าจะจัดทำเป็นระยะเวลานานเท่าใด เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด ก่อให้เกิดการปรับปรุงในการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    -บรรณารักษ์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมที่มีความน่าสนใจขึ้นมาเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการของห้องสมุดมากขึ้น โดยมีความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องตามติดความทันสมัย เพื่อให้สามารถจัดบริการที่ทันสมัยให้กับผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพของบรรณารักษ์เองในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและเกิดความรู้สึกที่ดี มีความประทับใจในบริการและกลับมาใช้ห้องสมุดในภายหลัง 
    Information Literacy หมายถึง การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศเพื่อให้สามารถคัดเลือกและประเมินคุณค่าของสารสนเทศเหล่านั้นได้ ทำให้ได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการในการนำไปใช้งาน
  • ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
    การจัดกิจกรรมของห้องสมุดนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ห้องสมุดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทำให้คนทั่วไปทราบถึงวิธีการดำเนินงานภายในห้องสมุดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศที่จัดไว้ในห้องสมุดมีอะไรบ้าง และครอบคลุมถึงสิ่งที่ห้องสมุดจัดทำว่ามีอะไรบ้าง
    ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุดมีการนำหลักการตลาดมาใช้เพื่อให้เกิดการโน้มน้าวจูงใจให้คนทั่วไปหันมาใช้บริการจากห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อต่อการกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้บริการห้องสมุด โดยในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น และทำให้คนเกิดนิสัยรักการอ่าน มองเห็นความสำคัญในการอ่านหนังสือ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยในการเปิดมุมมองทางความคิดให้กว้างไกล มีความรอบรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 
  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด มีดังนี้
    (1)เพื่อประชาสัมพันธ์งานและบริการต่างๆ ของห้องสมุด
    (2)เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือ
    (3)เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยากอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากขึ้น
    (4)เพื่อเป็นก้าวแรกของการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อผู้เข้าชมกิจกรรมแต่ละครั้ง
  • ประเภทของกิจกรรมของห้องสมุด สามารถจัดแบ่ตามประเภทวัตถุประสงค์ที่จัดได้ดังนี้
    (1)กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
    (2)กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
    (3)กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
    (4)กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป สำหรับบุคคลทั่วไป
    (5)กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
    เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสนใจในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน มีดังต่อไปนี้
    -การเล่านิทาน
    -การเล่าเรื่องหนังสือ
    -การตอบปัญหาจากหนังสือ
    -การอภิปราย
    -การออกร้านหนังสือ (ในงานนิทรรศการ)
    -การแสดงละครหุ่นมือ (วรรณกรรมสำหรับเด็ก)
    -การโต้วาที (การคิดหัวข้อการโต้วาทีที่เป็นการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมตัวในการศึกษาหาข้อมูลมาใช้ในการโต้วาที เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ)
    -การประกวด (วาดภาพ แต่งกลอน ถ่ายภาพ เป็นต้น)
    -การแข่งขัน
    -การจัดแสดงหนังสือใหม่
    -การวาดภาพโดยใช้จินตนาการจากการฟังนิทาน
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การแนะนำการใช้ห้องสมุด
    -การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
    -การนำชมห้องสมุด
    -การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด หรือที่เรียกว่า ยุวบรรณารักษ์
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
    เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การจัดนิทรรศการ
    -การประกวดคำขวัญ
    -การประกวดเรียงความ
    -การตอบปัญหา
    -การประกวดวาดภาพ
    -การให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป
    เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
    -การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
    -การจัดนิทรรศการ
    -การสาธิตภูมิปัญญา
    -การจัดป้ายนิเทศเสริมความรู้
    -การฉายสื่อมัลติมีเดีย
    -การตอบปัญหาสารานุกรมไทยและหนังสือความรู้รอบตัว
    ข้อสังเกต ในการจัดนิทรรศการนั้นจะเป็นการเลือกใช้วัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง ส่วนป้ายนิเทศนั้นเป็นป้ายที่ใช้เสริมความรู้ เป็นการสื่อความรู้โดยไม่มีการใช้ข้อความที่มาก จึงเป็นองค์ความรู้แบบสั้นๆ   โดยใช้ข้อความสั้นๆ เพื่อบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น ใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
  5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 
    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
    -การจัดมุมรักการอ่าน
    -การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
    -การจัดห้องสมุดเคลื่อนที่
  • การเล่านิทาน (Story telling)*การเล่านิทานมีจุดเริ่มต้นในการบอกเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีการปรับเปลี่ยนเรื่องเล่าให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าโครงเดิม
    การเล่านิทานเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน เพราะนิทานให้ทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพิ่มพูนความรู้ทางภาษา เสริมสร้างจินตนาการ ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง เนื่องจากเกิดความคล้อยตามจากการเรียนรู้จากการฟังนิทาน นอกจากนี้ผู้เล่านิทานต้องมีการใช้จิตวิทยาในการศึกษาความสนใจของผู้ฟังว่าให้ความสนใจในเรื่องใดบ้างก่อนทำการเล่า เนื่องจาก ในการเล่านิทานย่อมมีทั้งผู้ฟังที่เป็นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ดังนั้นผู้เล่าจึงต้องพิจารณาเรื่องที่จะนำมาเล่าให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่จะมาฟังด้วย ซึ่งจะมีความสนใจเหมือนกัในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ผู้เล่าต้องพยายามสื่อไปให้ถึงนิทานที่เป็นตัวเล่มให้ได้ เนื่องจากเราใช้นิทานเป็นสื่อนำไปสู่การอ่าน ถ้าผู้เล่าสามารถเล่าเรื่องให้สนุก เด็กก็จะเกิดความสงสัยและซักถามผู้เล่าหลังจากฟังเรื่องเล่าจบ และผู้เล่าทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป นักเรียนจะอยากรู้จนต้องหาหนังสือมาอ่านเอง จึงเห็นได้ว่าการเล่านิทานนั้นมีบทบาทช่วยสั่งสอนด้านศีลธรรมจรรยา ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
  • ประเภทของนิทานที่มีในไทย
    (1)นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์
    (2)นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก
    -นิทานที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวอ้างมาจากพุทธวัจนะ มีอยู่ในคำเทศน์ เช่น เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก
    (3)นิทานประเภทคำกลอน
    (4)นิทานชาดกนอกนิบาตชาดก
    -นิทานที่ไม่ได้มาจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ เป็นนิทานพื้นเมืองของประเทศต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ได้อ้างมาจากพุทธวัจนะ
    (5)นิทานพื้นเมือง
    -เช่น เกาะหนูเกาะแมว ตายายปลูกถั่วปลูกงา
    (6)นิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ
    (7)นิทานสุภาษิต
    (8)นิทานยอพระเกียรติ
    -เป็นนิทานที่เชิดชูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ไทย หรือผู้นำบางประเทศ
  • การเลือกนิทานสำหรับเล่า
    วรรณกรรมที่เลือกมาเล่าให้เด็กฟังควรเป็น
    (1)นิทานปรัมปรา
    (2)ร้อยกรอง
    (3)สารคดี
    (4)ประวัติบุคคลสำคัญ
    -เด็กสามารถใช้ในการเรียนรู้เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
    การเล่านิทานเป็นศิลปะอันจะฝึกฝนได้ ดังนั้น ผู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำจนจำขึ้นใจ บางครั้งอาจใช้หนังสือประกอบในการเล่าได้ ไม่ควรก้มหน้าก้มาในการเล่า โดยไม่สนใจผู้ฟัง อีกทั้งยังต้องมีทักษะในการเล่าเรื่องด้วยคำพูดที่ไพเราะ มีความดึงดูดใจ ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเล่าเรื่อง และเลือกนิทานที่มีเนื้อหาชวนให้ติดตาม
  • นิทานที่เหมาะสำหรับการเล่า
    (1)มีความเคลื่อนไหวอยู่ในเรื่อง
    (2)มีเนื้อเรื่องเร้าใจ ชวนให้ติดตามว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
    (3)มีพรรณนาโวหาร ในการใช้ภาษาที่ถูกต้องให้เด็กฟัง
    (4)มีการใช้คำซ้ำๆ ข้อความซ้ำๆ และคล้องจองกัน
    (5)ตัวละครมีปฏิภาณไหวพริบ
    (6)เนื้อเรื่องมีความรู้สึกสะเทือนใจ
    (7)ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไป
    (8)เรื่องเกี่ยวกับสัตว์เล็กๆ
    (9)นิทานสุภาษิตและนิทานอีสป
    (10)เรื่องขำขัน
    (11)ตำนาน นิทานพื้นเมือง เทพนิยาย เทพปกิรณัม
  • วิธีการเล่านิทาน
    (1)มีการจัดให้เด็กนั่งเตรียมพร้อมสำหรับการฟัง
    (2)มีการสร้างบรรยากาศในการเล่า
    (3)สามารถเล่าได้อย่างมั่นใจ
    (4)การใช้ภาษาสำนวนที่ง่ายๆ
    (5)จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องเล่า
    (6)ผู้เล่าต้องพยายามสร้างมโนภาพในเรื่องที่จะเล่า
    (7)ควรแสดงท่าทางประกอบตามความสมควรเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
    ในการเล่านิทานผู้เล่าควรหลีกเลี่ยงในการก้มหน้าก้มตาเพื่อเล่าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สบตากับผู้ฟังเลย ผู้เล่าจึงควรพยายามมองผู้ฟังในขณะที่เล่าให้ทั่วถึง
  • ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการฟังนิทาน
    (1)ทำให้เด็กรู้จักเลือกอ่านหนังสือที่ตนเองชอบ
    (2)รู้จักแก้ปัญหาให้ตนเองได้เมื่อนำตนเข้าไปเปรียบเทียบกับตัวละครในเรื่อง
    (3)ทำให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขวาง
    (4)เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึก เกิดการหัวเราะและมีจินตนาการร่วมไปกับการเล่านิทาน
    (5)ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ

    วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    RSS (Really Simple Syndication)

    กระบวนวิชา 009355

    สรุปเรื่อง RSS (Really Simple Syndication)

    ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2554
    __________________________________

    RSS (Really Simple Syndication)


    • บทนำ
      ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแบ่งปันข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บบล็อค ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้
    • ความหมายของ RSS
      RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Update ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
    • ข้อดีของ RSS
      RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น
    • จุดเด่นของ RSS
      ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลอัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะเวลาความถี่ในการอัพเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื่อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

      • วิธีการบอกรับ RSS ใน iGoogle
        (1)สร้างบัญชีของ Google โดยทำการสมัคร G-mail ก่อน
        (2)ทำการลงชื่อเข้าใช้ G-mail เพื่อทำการลงทะเบียนเข้าใช้บัญชีของ Google
        (3)เมื่อเข้าสู่ G-mail ของเราแล้ว ให้ทำการคลิกที่คำว่า iGoogle ที่มุมขวามือบนสุดของหน้าเว็บ
        (4)จากนั้นมองหาสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย RSS feed บนหน้าเว็บเพจที่เราต้องการนำมาไว้ที่หน้าแรก iGoogle
        (5)เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสารในหน้าเว็บไซต์ที่เราสนใจก็จะปรากฎอยู่ในหน้าแรกของ iGoogle ของเราแสดงขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเข้าไปติดตามข่าวสารเหล่านั้นได้

      บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service)

      กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

      ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2554

      สรุปเรื่อง บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service)
      _______________________________________________


      บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service)
      • ความหมายของบริการข่าวสารทันสมัย
        -เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารที่ทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสาขาที่สนใจ เป็นการแจ้งสารสนเทศที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ห้องสมุดได้รับเข้ามา ซึ่งจะต้องคอยให้ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับทราบถึงข้อมูลข่าวสารหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นล่าสุดในปัจจุบัน โดยมีบริการข่าวสารทันสมัยที่เป็นระบบที่ห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะต้องทำการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เอกสารในเรื่องใหม่ๆ โดยทำการคัดเลือกให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ส่วนบุคคล หรือเป็นกลุ่ม และทำการจัดเก็บบันทึกเพื่อจัดส่งให้ตามความต้องการของผู้ใช้
        ห้องสมุดจะมีการจัดบริการข่าวสารทันสมัยให้แก่ผู้ใช้อยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
        (1)To education เป็นการช่วยให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้ที่มีมาแต่เดิมในอดีตหรือเป็นความรู้ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
        (2)To inform เป็นการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ทราบ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ที่ผู้ใช้จะต้องทราบในทันทีเนื่องจากเป็นข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้พลาดในข้อมูลข่าวสารที่สำคัญในปัจจุบันที่มีความทันสมัยต่อผู้ใช้ ซึ่งจะให้บริการทั้งที่เป็นรายบุคคล หรือกลุ่ม เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่ามีทรัพยากรสารสนเทศใดบ้างที่เข้ามาใหม่ในห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ หรืออาจเป็นการแจ้งว่าจะมีการจัดการประชุมใดเกิดขึ้นมาบ้าง
      • Current Awareness Service (CAS) 
        เป็นบริการสารสนเทศทันสมัย เป็นบริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นเกิดขึ้น ในรูปแบบที่หลากหลายจากสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร เอกสารการประชุม วิทยานิพนธ์ เป็นต้น สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เสียง (Audio) วิดีโอ และสือประสม
      • CAS อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า
        -Selective Dissemination of Information service (SDI)
        -Alerting services
        -Alerts
        -Current alerting services
        -Individual article supply
      • ความแตกต่างระหว่าง CAS กับ SDI
        CAS (Current Awareness Service)
        เป็นบริการที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่มีการจัดทำอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้ใช้ โดยห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะต้องมีการติดตามและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาในการให้บริการแก่ผู้ใช้
        SDI (Selective Dissemination of Information service)
        เป็นบริการเฉพาะที่จัดอยู่ใน CAS มีการจัดทำตามคำร้องขอของผู้ใช้ เป็นการบริการเฉพาะส่วนบุคคล ซึ่งถ้าหากหมดวัตถุประสงค์หรือหมดความต้องการของผู้ใช้บริการก็จะหยุดให้บริการนี้ทันที
      • ปรัชญาของการบริการ
        -เอกสารที่ต้องการสำหรับบุคคลที่ใช่ในเวลาที่ทัน เป็นบริการที่ผู้ใช้ได้รับเอกสารที่ตรงกับต้องการในการนำไปใช้งานได้ทันเวลาที่ผู้ใช้ต้องการนำเอกสารนั้นนำไปใช้งานได้ทันที โดยต้องทำการแจ้งผู้ใช้ในทันที
        ("The right book/documents to the right person at the right time")
      • วัตถุประสงค์
        -เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงต่อความต้องอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสในการเข้าถึงซึ่งช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้ เป็นบริการข่าวสารทันสมัยที่จัดเป็นบริการเชิงรุกในการให้บริการนำส่งข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำการร้องขอ หรือเรียกได้ว่าเป็นบริการนำส่งเอกสารที่ทางห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะมีการจัดให้บริการผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา
        -บริการข่าวสารทันสมัยจะประกอบไปด้วย เอกสารการวิจัย เว็บไซต์ กลุ่มสนทนา สิ่งพิมพ์หรือฐานข้อมูลหรืออินเทอร์เน็ต ข่าวหรือเหตุการณ์ พัฒนาการการด้านการตลาดที่เกี่ยวข้อง แจ้งข่าวหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
      • รูปแบบการบริการข่าวสารทันสมัย (CAS)
        (1)รูปแบบเดิม คือ การเวียนเอกสาร หรือจัดส่งโดยตรง
        -ห้องสมุดจะต้องมีการสำเนาหน้าปก สารบัญ หน้าแรกของบทความ หรือสาระสังเขปแนบไปกับเอกสารฉบับนั้น
        -ตัดข่าวหนังสือพิมพ์ส่ง หรือสรุปข่าว
        -นำเสนอจดหมายข่าว Newletter เป็นลักษณะในการให้บริการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศที่ออกใหม่ที่ห้องสมุดได้ทำการบอกรับ หรือแจ้งเป็นหนังสือเวียน โดยมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารทุกเดือน หรือทุก 15 วัน
        -งาน CAS ใช้เวลาในการจัดทำเป็นระยะเวลานาน จึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการผู้ใช้ เช่น มีการให้บริการ RSS เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข่าวสารในปัจจุบันที่มีความทันต่อเหตุการณ์ในห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศมาให้บริการ
        (2)ผู้ค้าฐานข้อมูล เริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
        -Injenta จะให้บริการส่งบทความใหม่ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ แจ้งทางอีเมล์
        -Emerald จัดทำบริการจดหมายข่าว TOC และแจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด โยแจ้งทางอีเมล์
        -Google จัดบริการ Alert แจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด โดยแจ้งทางอีเมล์
      • การเวียนเอกสารแบบเดิม การเวียนเอกสารจัดทำได้ 3 วิธี ดังนี้
        (1)ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป และส่งกลับมายังสถาบันบริการเมื่อผู้ใช้คนสุดท้ายใช้เสร็จแล้ว
        (2)แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยจัดกลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่ เมื่อเวียนใช้ภายในกลุ่มแล้วให้ส่งกลับมาที่สถาบันบริการสารสนเทศก่อนทุกครั้ง จากนั้นจึงจัดส่งไปยังกลุ่มอื่นต่อไป
        (3)จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน โดยให้ผู้ใช้ส่งกลับมาที่สถาบันบริการสารสนเทศทุกครั้งก่อนจะส่งให้ผู้ใช้คนต่อไป
        -การกำหนดให้ผู้ใช้ส่งเอกสารกลับมายังสถาบันบริการสารสนเทศบ่อยๆ จะสามารถควบคุมการจัดส่งระหว่างผู้ใช้
        -การกำหนดให้ส่งกลับบ่อยๆ เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ใช้บริการ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการชำรุดสูญหาย
        -การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการเวียนเอกสารวิธีใดต้องพิจารณาถึงสภาพการใช้และความรับผิดชอบของสมาชิกประกอบ
      • ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร
        (1)ไม่ควรจัดบริการนี้แก่สมาชิกใหม่ จนกว่าจะแน่ใจว่าเป็นบริการที่สมาชิกต้องการจริงๆ เนื่องจาก จะทำให้สิ้นเปลืองเวลาหากผู้ใช้คนนั้นไม่ได้ต้องการใช้เอกสารนั้นจริง ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับเอกสารล่าช้า เสียเวลาในการรับเอกสาร
        (2)ไปเยี่ยมผู้ใช้ในที่ทำงานเป็นครั้งคราว เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ส่งเอกสารที่นำไปหมุนเวียนเร็วขึ้น
        (3)จัดลำดับให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง เพื่อความเสมอภาคในการได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน
      • แบบฟอร์มในการเวียน
        -การจัดทำแบบฟอร์มการเวียนเอกสาร อาจมีลักษณะและรายละเอียดแตกต่างกันตามขนาดของสถาบันบริการสารสนเทศและจำนวนผู้ใช้บริการ
      • ข้อดีของการเวียนเอกสาร คือ
        (1)เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้ที่แน่นอน โดยเฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลจากสถาบันสารสนเทศหรือผู้ที่ไม่สามารถมาใช้บริการที่สถาบันสารสนเทศด้วยตนเองได้เป็นประจำ ซึ่งเป็นการประเมินการใช้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปสิ่งตีพิมพ์ในห้องสมุด ในการให้บริการข่าวสารทันสมัยจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อน เป็นผลดีกว่าการนำสิ่งพิมพ์ไปจัดวางไว้ตามชั้นหนังสือ ซึ่งสิ่งพิมพ์เหล่านั้นอาจไม่เคยถูกผู้ใช้หยิบยืมหรืออยู่ในที่ที่มองไม่เห็น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด เนื่องจาก ไม่ถูกนำมาหมุนเวียนและไม่มีผู้ใช้มาใช้ประโยชน์
        (2)เป็นการให้โอกาสผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสารแต่ละรายการ รวมทั้งข่าวหรือโฆษณาในเอกสารบางรายการ ซึ่งอาจมีความสำคัญมากกว่าเนื้อหา เช่น โฆษณาแนะนำอุปกรณ์ใหม่ๆ
      • ข้อด้อยของการเวียนเอกสาร คือ
        (1)ผู้ใช้ที่ได้เอกสารคนสุดท้ายอาจได้รับสารสนเทศที่ล้าสมัยแล้ว
        (2)เสี่ยงต่อการชำรุด สุญหายของเอกสาร
        (3)เพิ่มภาระงานมากขึ้น
      • การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศหใหม่
        -เป็นการนำทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับเข้ามาใหม่มาจัดแสดงในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยระยะเวลาจัดแสดงไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
        การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
        (1)สถานที่จัดแสดง
        -ควรเป็นบริกเวณที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ผ่านเป็นประจำ หากไม่สามารถจัดในบริเวณที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ผ่าน ควรทำประกาศติดไว้บริเวณที่มีผู้ผ่านเป็นประจำ และมีคำเชิญชวนดึงดูดความสนใจของผู้ใช้
        นอกจากนี้อาจจัดในสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้กับทางเข้าออกของห้องสมุด รวมทั้งในบริเวณที่เป็นทางเดินที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ง่าย สามารถค้นหาได้สะดวก
        (2)ประเภทของทรัพยากรที่นำมาจัดแสดง
        -ควรเลือกจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่มีรูปแบบที่หลากหลายที่มีความทันสมัยมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เนื่องจากอาจมีผู้ใช้ที่ต้องการติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกที่รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความต้องการของตนได้อย่างเหมาะสม โดยที่ไม่ควรเลือกเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งมาให้บริการ
        (3)วิธีการจัดแสดง
        -ควรจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันหรือประเภทเดียวกันมาไว้ในบริการเดียวกัน หรืออาจทำการจัดแบ่งวารสารจำนวนมากที่กำหนดออกไม่ตรงตามเวลาส่งผลให้ผู้ใช้ต้องคอยติดตามดูสิ่งเหล่านั้น เพื่อช่วยทำให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาและสะดุดตาผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
        (4)ระยะเวลาในการจัดแสดง
        - ส่วนใหญ่จะจัดแสดงประมาณ 2 สัปดาห์ สถาบันสารสนเทศบางแห่งจะใช้วิธีทยอยนำออกมาแสดง หรือนำรวมออกมาแสดงในครั้งเดียวเท่านั้น
        (5)การอนุญาตให้ใช้ในขณะที่จัดแสดง ในระหว่างที่จัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆอาจจะมีการอนุญาตให้ผู้ใช้ยืมออกได้เพื่อสนองความต้องการใช้ของผู้ใช้ แต่มีข้อเสียคือผู้ที่มีทีหลังจะไม่มีโอกาสได้เห็น
        (6)การดำเนินการทางเทคนิค
        -ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ที่นำมาจัดแสดงนั้นส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรที่ดำเนินการทางเทคนิคมาเรียบร้อยแล้ว บ่างรายการใช้เวลาในการดำเนินการทางเทคนิคนานมากจึงทำให้สารสนเทศล้าสมัยไปแล้ว ดังนั้น จึงควรพิจารณาด้วยว่าทรัพยากรสารสนเทศรายการใด ควรนำจัดแสดงก่อนหรือหลังการดำเนินการทางเทคนิค เช่น หนังสือที่มีข้อมูลรายการในเล่ม จะดำเนินการทางเทคนิคก่อนนำออกแสดงเพราะสามารถทำได้เร็ว รวมทั้งรายการที่ต้องวิเคราะห์หมวดหมู่เองจะจัดแสดงก่อนแล้วจึงไปดำเนินการทางเทคนิค และจะดำเนินการทางเทคนิคให้ก่อนถ้ามีผู้ใช้แสดงความจำนงต้องการใช้
      • การจัดส่งบริการ CAS
        CAS จะมีประโยชน์เมื่อสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ได้ 2 ข้อ คือ
        (1)ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์
        (2)ตามความต้องการต่อผู้รับ
      • การจัดส่งหรือการเผยแพร่บริการ สามารถทำได้ ดังนี้
        (1)สิ่่งพิมพ์ (Print)
        (2)โทรคมนาคม (Telecomms) คอมพิวเตอร์ (Computer) อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ
      • สิ่งพิมพ์ (Print)
        Current Awareness Bulletin ในรูปสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นวิธีการที่ดีและนิยมแพร่หลาย สามารถใช้ได้กับองค์กรทุกขนาด ตั้งแต่ไม่ถึง 20 คน ไปจนถึงทั้งมหาวิทยาลัย การจัดบริการจะขึ้นอยู่กับความถี่ในการขอใช้บริการ
        ข้อดีของการพิมพ์
        -สามารถใช้สีได้
        -ผู้ใช้สามารถจดบันทึกลงบนกระดาษได้
        -สามารถนำกลับมาดูได้ใหม่ในวันหลัง หรืออาจนำรายการในหัวเรื่องที่สนใจมารวมกันไว้เพื่อให้บริการ
        ข้อด้อยของการพิมพ์
        -อาจสูญหายง่าย หากวางไว้ผิดที่
        -เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ
        -ถูกพับ ฉีกขาดเสียหายง่าย อาจทำให้ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
        -รักษาความลับได้ยาก เนื่องจากทุกคนสามารถเปิดอ่านได้
      • โทรคมนาคม (Telecomms)
        -โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ มือถือ
        -Voice-mail หรือ E-mail
        (1)Voice-mail
        ข้อดี คือ
        -ผู้ใช้คุ้นเคยกับการสื่อสารด้วยคำพูด ซึ่งบางครั้งผู้รับชอบฟังมากกว่าอ่าน
        ข้อเสีย คือ
        -บางคนอาจรู้สึกรำคาญหรือรู้สึกไม่ดีที่ต้องฟังข้อมูลทั้งหมด และหากขณะกำลังฟังมีผู้อื่นมาพูดแทรกอาจทำให้พลากข้อมูลที่สำคัญ
        (2)Mail
        ข้อดี คือ
        -จัดส่งได้รวดเร็ว
        -ราคาถูก
        -ประหยัดพื้นที่
        -ไม่ฉีกขาด
        -รักษาความลับได้
        ข้อเสีย คือ
        -แฟ้มข้อมูลอาจเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากความผิดพลาดทางเทคนิค
        -การถูกรบกวนในระบบเครือข่าย อาจเผลอลบข้อมูลก่อนที่อ่านจบ
        -ลืม password ไม่สามารถเข้าใช้ได้
        -ผู้ใช้ไม่ได้สนใจหรือตรวจดูข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับข้อมูล ทำให้อาจพลากข้อมูลข่าวสารนั้นได้

      วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

      บริการสอนการใช้ (2)

      กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

      สรุปเรื่อง บริการสอนการใช้ (2)


      ประจำวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2554
      ________________________________________________

      บริการสอนการใช้ (ต่อ)
      • งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศ แบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
        (1)บริการสารสนเทศ (Information Services)
        -ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
        (2)บริการสอนการใช้ (Instruction Services)
        -สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skills)
        (3)บริการแนะนำ (Guidance Services)
        -บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่าง คือ จะเน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม เช่น หนังสือ บทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าสอนการใช้
      • สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้มีการกำหนดบริการสอนการใช้ไว้ คือ
        -หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภท คือ ต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ
      • ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
        การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
        -สังคมที่พึงปรารถนาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
        -การพัฒนาคนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้นได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self Learning) วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง 
      • การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
        -การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดไป
      • เกณฑ์และแบบทดสอบมาตรฐาน
        (1)สหรัฐอเมริกา
        Association of College and Research Libraries (ACRL)
        แบบทดสอบ Standardized Assessment of Information Literacy Skills (SAILS)
        (2)สถาบันสากล
        Education Testing Service (ETS)
        แบบทดสอบทักษะการรู้สารสนเทศออนไลน์ Information and Communication Technology Literacy Test (iSkills)
        (3)ออสเตรเลีย
        สถาบัน Council of Australian University Librarians (CAUL)
        แบบทดสอบ Information Skill Survey (ISS)
        (4)KENT
        แบบทดสอบ TRAILS
      • ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
        -ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ หรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่างๆ
        -วิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ จะอยู่ในส่วนของบริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่งเป็นบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ การแนะนำการใช้ห้องสมุด รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศ
        -การให้บริการนี้อาจครอบคลุมถึงหลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
        -ส่วนใหญ่จะมีให้บริการในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชน แต่จะไม่มีบริการในห้องสมุดเฉพาะนอกจากบางแห่งที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษในการจัดบริการ
        ***บริการนี้ถือเป็นหน้าที่หนึ่งในการให้บริการของห้องสมุด
      • บริการสอนการใช้ห้องสมุดโดยวิธีการนำชมห้องสมุด
        -มีการจัดทำเป็นสไลด์ เว็บไซต์ วิดีโอ เพื่อใช้ในการแสดงถึงที่ตั้ง มีการใส่คำอธิบาย รวมถึงเสียงประกอบเข้าไปด้วยก็ได้ ในลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย ซึ่งการผลิตสื่อจะขึ้นต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำของห้องสมุดเป็นสำคัญ
      • Tutorials การสอน
        -เน้นกลุ่ม Target เป็นสำคัญ การนำเสนอต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
      • การผลิตสื่อ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ซึ่งจะมีการจัดบริการสอน
        -ไม่ควรผลิตสื่อที่มีความยาวมากจนเกินไป
        -ควรใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
        -อาจมีการใช้สไลด์ประกอบเสียงบรรยาย
      • Open Access (OA)
        -เอกสารหรือบทความที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี โดยมีการใช้สัญญาอนุญาต Creative Common เป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถนำเอาข้อมูลไปใช้ได้ แต่ต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาว่านำมาจากที่ใด ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หากมีการนำไปแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลง สามารถทำ Subtitle ได้ รวมถึงการนำเอาแนวคิดมาใช้ในการจัดทำสื่อได้เช่นกัน
      •  ทักษะของผู้สอน
        (1)การสอน
        บรรณารักษ์ต้องมีทักษะในการสอน หากไม่มีทางห้องสมุดต้องมีการส่งบรรณารักษ์ไปอบรม เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถสอนผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง
        (2)การประเมิน
        ต้องมีการประเมินผู้ใช้เพื่อให้ทราบว่าสามารถสอนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
        (3)IT Web Design
        -สามารถสร้างคลิปวิดีโอ แฟลช สไลด์ต่างๆ ได้
        (4)ทักษะการสื่อสาร
        -เพื่อใช้ในการตอบคำถามหรือการสร้างปฏิสัมพันธ์แก่ผู้ใช้ที่มาใช้บริการ รวมทั้งการอธิบาย
      • การบริหารจัดการ
        การวางแผนการเตรียมการสอนการใช้ห้องสมุด ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
        (1)ประเมินความต้องการของผู้ใช้
        (2)กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
        (3)ประชาสัมพันธ์โปรแกรม
        (4)เตรียมอุปกรณ์การสอน
        (5)เตรียมบุคลากร
        (6)เตรียมสถานที่
        (7)ปฏิบัติตามแผนงาน

      วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

      บริการสอนการใช้

      กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

      สรุปเรื่อง บริการสอนการใช้


      ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2554

      ________________________________________________

      บริการสอนการใช้
      • ความหมายของบริการสอนการใช้
        บริการสอนการใช้มีความสำคัญต่อห้องสมุดเป็นอย่างมาก เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ที่จะต้องมีการจัดการให้ผู้ใช้มีความเข้าใจในระบบการจัดการสารสนเทศ โดยมีการให้คำแนะนำสอนการใช้หรือเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Competency) ให้แก่ผู้เรียน บรรณารักษ์จึงมีบทบาทในการส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้เรียนถือเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการใช้บริการห้องสมุด
        หมายเหตุ : การู้สารสนเทศ (Information Literacy) บางครั้งจะหมายถึง ทักษะทางสารสนเทศ (Information Competency) โดยทั่วไปหมายถึง ความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน จัดระเบียบ และใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ
      • ความหมายของการรู้สารสนเทศ (Information Literacy : IL)
        การรู้สารสนเทศ (Information Literacy : IL) เป็นความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม
      • ความหมายของทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill)
        ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถตระหนักถึงความต้องการของตนเองได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ตนต้องการได้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Ability to access) และเข้าใจสารสนเทศที่มีอยู่อย่างหลากหลายในแหล่งสารสนเทศต่างๆ สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ รวมทั้งสามารถประเมินหรือวิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศต่างๆ และสามารถนำมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดความรู้ได้ ซึ่งทักษะการรู้สารสนเทศเกี่ยวข้องทั้งทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดการใช้เหตุผผล และทักษะทางภาษา ล้วนเป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กันในการที่จะทำให้เกิดทักษะรู้สารสนเทศได้
      • เป้าหมายสูงสุดของการรู้สารสนเทศ
        เป็นการทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่มีทักษะสารสนเทศ (Information Literate Person) และสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการศึกษา การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผลของการสร้างความรู้และทักษะทางสารสนเทศนี้จะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับสังคมสารสนเทศ และรองรับยุคสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
      • เป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์ มี 4 ประการ ดังต่อไปนี้
        (1)Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้หรือวิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหาหรือผลิตความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
        (2)Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็นหรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม
        (3)Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุขและสร้างสรรค์
        (4)Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
      • ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ มีมุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้
        (1)เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        (2)ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
        (3)ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
        (4)มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
        (5)มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
        (6)สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้
      • องค์ประกอบของสารสนเทศ มี 5 ประการ ดังต่อไปนี้
        (1)ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดต้องการสารสนเทศ และมีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ รวมทั้งสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
        (2)ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ รู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
        (3)ความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
        (4)ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ กล่าวคือ สามารถคิด และวิเคราะห์สารสนเทศ
        (5)ความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศ ตลอดจนการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
        ดังนั้น การรู้สารสนเทศจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การรู้สารสนเทศจึงเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพของตนเอง และหากประเทศใดมีประชากรที่เรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ
      • คุณสมบัติของผู้รู้สารสนเทศในด้านอื่นๆ ประกอบไปด้วย
        (1)การรู้ห้องสมุด (Library Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่าห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสืออิเล็กทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆ ด้วย
        (2)การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น
        (3)การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
        (4) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งที่เห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้ตามสถานที่ต่างๆ
        (5)การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และสามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
        (6)การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจัทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไซต์
        (7)การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การค้นสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
        (8) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา
        (9)การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป้นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็้นต้น
      • ความสำคัญ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้(1)การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบัน มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น บทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ(2)การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง เมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากเราเป็นผู้ใช้ก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพในการให้บริการของห้องสมุด และเปรียบบเทียบบริการที่มีในห้องสมุด แล้วจึงทำการตัดสินใจเลือกรับการให้บริการของห้องสมุดที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการของเราในการนำสารสนเทศไปใช้งาน เป็นต้น(3)การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะ บุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เมื่อห้องสมุดประสบปัญหาเรื่องวารสารมีราคาที่สูงขึ้น จึงปรับเปลี่ยนมาบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน เนื่องจาก เสียค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า และหากบอกรับคู่กับสิ่งพิมพ์ก็จะได้รับส่วนลดได้อีกด้วย เพื่อให้ห้องสมุดยังคงมีการให้บริการสารสนเทศได้ดังเดิมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้จะประสบปัญหาเหล่านี้ก็ตาม(4)สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคมเศรษฐกิจ และการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจสามารถชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้น ประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
      • สรุปการรู้สารสนเทศ
        การรู้สารสนเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาขั้นต่อมาจากการรู้หนังสือที่เป็นความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิมในสังคม การรู้สารสนเทศคือเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นของมนุษย์ เป็นความสามารถพื้นฐานใหม่และเป็นความต้องการของสังคมฐานความรู้ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 หรือสหัสวรรษใหม่ ห้องสมุดและสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยพึงให้ความใส่ใจในเรื่องนี้และพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รู้สารสนเทศอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะเป็นสังคมแห่งความรู้หรือยุคดิจิทัล ต้องการบุคคลที่มีความเป็นอิสระทางปัญญา ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      • ลักษณะการจัดบริการสอนการใช้ของห้องสมุด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
        (1)บริการสอนหรือแนะนำเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction)
        -เป็นบริการที่บรรณารักษ์ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้เป็นรายบุคคลเมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด ปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท ระบบการจัดการ การจัดเก็บ และการบริการ ซึ่งบรรณารักษ์จะต้องจัดบริการให้คำแนะนำและสอนการใช้งานในห้องสมุดแก่ผู้ใช้โดยตรง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องไปขอรับบริการคำแนะนำหรือการสอนจากบรรณารักษ์ก่อน อีกทั้งบรรณารักษ์จึงควรเอาใจใส่ต่อผู้ใช้ที่มาใช้บริการห้องสมุดด้วย เพื่อให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวกับผู้ใช้ได้อย่างยั่งยืน
        (2)การให้บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)
        -เป็นบริการที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
        -สำหรับการบริการเป็นกลุ่มจะมีทั้งการบริการที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งก็คือบริการที่ผู้ใช้เป็นผู้ร้องขอให้บรรณารักษ์สอนการใช้ห้องสมุด และบริการที่เป็นทางการ ซึ่งก็คือห้องสมุดจะมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเอาไว้ในห้องสมุด
        -ลักษณะการให้บริการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการในห้องสมุด แผนกต่างๆ ในห้องสมุด ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี บริการห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ และแนะนำให้รู้จักบุคลากรในแผนกต่างๆ
        -การแนะนำอาจจะมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และเสนอบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล วิธีการสืบค้น วิธีการศึกษาค้นคว้า สำหรับใช้ประกอบการแนะนำ หรือการสอนผู้ใช้ห้องสมุด นอกเหนือจากการแนะนำโดยบรรณารักษ์
        ***การบริการทางตรงโดยบรรณารักษ์ หรือบุคลากรห้องสมุดจะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ใช้มากกว่าการใช้สื่ออืนๆ มาแทนในการแนะนำห้องสมุด
      • สำหรับการให้บริการเป็นกลุ่ม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
        (1)การนำชมห้องสมุด (Library Tour/Orientation)
        -เป็นการแนะนำของบรรณารักษ์แก่ผู้ใช้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด ผู้ใช้สามารถทราบได้ว่าทรัพยากรสารสนเทศแต่ละอย่างนั้นจัดให้บริการที่ใดของห้องสมุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาแก่ผู้ใช้ที่มาใช้บริการในครั้งถัดไป ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานแก่ผู้ใช้ รวมถึงการแนะนำแผนที่ของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาตำแหน่งของบริการภายในห้องสมุดเมื่อผู้ใช้ต้องการเข้าไปใช้บริการได้
        -เป็นการแนะนำให้ผู้ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับแผนกบริการของห้องสมุดจะต้องสร้างความสัมพันธ์ในเบื้องต้นเพื่อการเข้ามาใช้ครั้งต่อไป ควรมีการแนะนำให้ผู้ใช้รู้จักกับเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดในบางแผนก เช่น บรรณารักษ์แผนกบริการอ้างอิง แผนกวารสาร เป็นต้น-การบริการหรือบริการพิเศษ เช่น การแนะนำการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการแฟ้มข้อมูล (Information Files) บริการแนะนำแหล่งข้อมูลเฉพาะ (Subject Guide)-การอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด และแนวทางค้นคว้าในห้องสมุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงวิธีการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ-กฎระเบียบการใช้ห้องสมุด
        ***การนำชมห้องสมุดเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่ได้รับการแนะนำเข้ามาใช้ห้องสมุดในครั้งต่อไป และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้
        (2)บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น (One-Short Lectures)
        -เป็นวิธีการและลักษณะการบริการจะคล้ายกับการให้บริการในระดับบุคคล แต่จัดให้เป็นกลุ่ม อาจจะทำก็ต่อเมื่อมีผู้ใช้ทำการร้องขอมายังบรรณารักษ์ หรือห้องสมุดจัดบริการโดยกำหนดตารางเวลาในการให้คำแนะนำ ขอบเขตของเนื้อหาที่จะแนะนำเป็นครั้งๆ
        -การแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือการค้นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้า เรียนรู้การใช้คู่มือ และสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        -ในกรณีที่เป็นการใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดออนไลน์ และการใช้ฐานข้อมูลต่างๆ หรือโปรแกรมใช้งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางห้องสมุดอาจจะมีการจัดบรรณารักษ์ให้มีการสอนเพื่อฝึกฝนการใช้งานของผู้ใช้ให้เกิดการเรียนรู้และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือการค้นได้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานเพื่อการสืบค้นของผู้ใช้ เนื่องจาก มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้
        (3)บริการสอนการค้นคว้า
        -เป็นบริการที่ช่่วยให้ผู้ใช้มีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
        -เป็นการพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว รู้จักการคัดเลือก วิเคราะห์สารสนเทศ และการใช้สารสนเทศ การประเมินและวิเคราะห์ทรัพยากร และการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ จริยธรรมในการใช้สารสนเทศ เพื่อไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงาน และการนำเสนอสารสนเทศ
        ***บรรณารักษ์จะสอนวิธีการสืบค้นสารสนเทศ วิธีรวบรวมข้อมูลทั้งในห้องสมุดและภายนอกห้องสมุดจากแหล่งสารสนเทศอื่นๆ
      • ลักษณะการสอนที่บรรณารักษ์สามารถทำได้ มีการจัดการสอน เพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศให้กับผู้เรียน โดยมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของผู้เรียน เพื่อเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถค้นหาสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีลักษณะการสอนดังต่อไปนี้
        (1)การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Standard-Alone Course on Class)
        สอนเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
        (2)บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials)
        เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์ มีการใช้สื่อประสมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
        (3)สมุดผึกหัด (Workbook)
        ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัด เพื่อฝึกหัดทักษะการรู้สารสนเทศ
        (4)การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-related Instruction)
        เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นๆ
        ***เป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์หรือครูผู้สอนอาจจะเป็นคนสอน (ไม่จำเป็นต้องเป็นบรรณารักษ์) มีบทบาทเข้าไปช่วยสอนการรู้สารสนเทศ โดยเฉพาะห้องสมุดโรงเรียน
        (5)การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction)
        เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม

                  วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

                  บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)

                  กระบวนวิชา 009355 บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ

                  สรุปเรื่อง บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)

                  ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2554

                  __________________________________________________

                  บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)
                  • ความหมายของบริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services)
                    -บริการนำส่งเอกสารเป็นการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่และยังไม่ได้เผยแพร่ และจัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในการให้บริการนำส่งเอกสารจะมีการคิดค่าบริการ บางห้องสมุดอาจจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการให้บริการ  ผู้บริการนำส่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องมีการขออนุญาตจากผู้มีสิทธิ์ในผลงานเสียก่อน เพื่อตกลงทำการเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ถูต้อง อาจมีการรวมค่าภาษี (Tax) ก่อนนำสำเนาหรือบทความนำส่งลูกค้า ซึ่งบริการนี้อาจใช้เป็นแหล่งรายได้ของห้องสมุดหรือห้องสมุดทำร่วมกับผู้แทนจัดจำหน่าย
                  • บริการเสริม ILL
                    -มีการจัดทำทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ผู้ใช้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งไม่มีการให้บริการในห้องสมุด เนื่องจาก วารสารบางเล่มมีราคาสูง นอกจากนี้ ห้องสมุดสามารถติดต่อผ่านผู้แทนจัดจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ตนต้องการได้ อีกทั้ง หากห้องสมุดมีการสั่งซื้อผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย มักจะได้รับบริการพิเศษและได้รับส่วนลดเป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
                    -มีการบริการหนังสือ บทในหนังสือ บทความวารสาร รายงานการประชุม รายงาน การวิจัย สื่อโสต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากห้องสมุดไม่มีให้สำหรับจัดบริการให้แก่ผู้ใช้ได้
                    -มีการติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการจากผู้จัดจำหน่าย (บทความ) เช่น วารสารมีราคาสูง จะใช้บริการเป็นครั้งๆ เมื่อต้องการ (Pay per use)
                    -การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล
                  • ปรัชญาการบริการ
                    (1)ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
                    (2)เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้
                    (3)เพื่อแก้ปัญหาการบริการ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ น้ำท่วม และสูญหายไปจากห้องสมุด
                    (4)เพื่อเพิมศักยภาพในการบริการ หากมีการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้ใช้ได้รับริการที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการแสดงถึงคุณภาพในการให้บริการของห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
                  • วัตถุประสงค์ในการให้บริการ
                    (1) เพื่อสามารถให้บริการผู้ใช้แบบ Just in time หมายถึง การให้บริการหรือดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามให้แก่ผู้ใช้ได้ทันต่อความต้องการและทันต่อระยะเวลาเมื่อผู้ใช้ต้องการ 
                  • สาเหตุ-การส่งเอกสารเริ่มมาจากการยืมระหว่างห้องสมุด
                    -งบประมาณลดลง ผู้ใช้ถูกจำกัดการใช้งาน
                  • วิธีการบริการ
                    (1)แบบเดิม มีการบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร (Uncover/Ingenta)
                    (2)แบบปัจจุบัน มีการบริการจัดส่งสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง แนบไฟล์ จัดหาหนทาง
                  • วิธีการนำส่ง (แบบฉบับพิมพ์)
                    -มีทั้งการนำส่งภายในและภายนอกองค์กรหรือหน่วยงาน
                    (1)ทางไปรษณีย์
                    -มีความล่าช้าและใช้ระยะเวลานานกว่าทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดถึงผู้ใช้ หรืออาจสูญหาย ทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับในสิ่งที่ต้องการได้
                    (2)ทางโทรสาร
                    -เอกสารที่ผู้ใช้ได้รับ ตัวหนังสือหรือข้อความอาจไม่ชัดเจนหรือขาดหายบางส่วนได้ หรือผู้ใช้ได้รับเพียงบางส่วน
                    (3)ทางยานพาหนะ
                    -มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ ควรใช้ยานพาหนะให้เหมาะสมและคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรสารสนเทศที่จัดส่งให้กับผู้ใช้
                    Electronic Document Delivery Services คือ การจัดส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความสะดวกและรวดเร็วเป็นอย่างมาก
                    (1)ทาง E-mail
                    -มีข้อจำกัด คือ ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงจะสามารถจัดส่งได้
                    (2)นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร (Document image system)
                    -เป็นการส่งเอกสารแบบ Tiff File ไม่สามารถคัดลอกได้ เนื่องจากเป็น Image File
                    -แจ้งทางอีเมล์
                    -ส่ง URL ให้ผู้ใช้เปิดดู
                  • ผู้ให้บริการ
                    (1)สถาบันบริการสารสนเทศ
                    (1.1)การจัดส่งภายในสถาบัน
                    -ทางอีเมล์
                    -ทางระบบออนไลน e-office
                    -ยานพาหนะ
                    (1.2)การจัดส่งระหว่างสถาบัน
                    -มีการทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการให้บริการ
                    (2)ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
                    -ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta
                    --->ผู้จัดจำหน่าย
                    --->ให้บริการข้อมูลในระดับสาระสังเขปเท่านั้น หากต้องการฉบับเต็มต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ
                    -ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา Proquest/UMI Thesis
                    -ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Elsevier Science , SpringerLink , Gordon&Breach
                    -ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล Dialog , Dissertation Abstract Online-DAO
                    -ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information) Infotrieve
                    --->เมื่อทำการสั่งซื้อเสร็จ จะมาแจ้งเตือนทางอีเมล์
                    --->ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง
                    --->เป็นคนกลางที่ทำการดึงข้อมูลในแต่ละฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์มาให้
                    -ห้องสมุดจัดเตรียมให้
                    --->ในกรณีไม่มีการให้บริการแก่ผู้ใช้ได้ ต้องมีการให้แหล่งสืบค้นและสามารถไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้
                    --->ต้องมีการจัดหาหนทางจัดเตรียมไว้ให้กับผู้ใช้ ในกรณีไม่สามารถให้บริการได้
                    --->มีการจัดบริการให้รายการของ DD
                  • การดำเนินการในการขอใช้บริการ มี 2 แบบ ดังนี้
                    (1)แบบฟอร์ม DD กระดาษ อัตโนมัติ
                    (2)ขอบริการออนไลน์ หรือสมัครเป็นสมาชิก 
                    -เช่น การให้บริการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ให้บริการทางออนไลน์ หากเป็นการให้บริการแก่ห้องสมุดอื่นจะอยู่ในรูปการค้าขายเอกสาร
                  • ข้อคำนึงการให้บริการ DD
                    (1)ลิขสิทธิ์
                    (2)ค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสาร ค่าสำเนา ค่าส่ง บุคลากร ค่าลิขสิทธิ์ตอบแทน ค่าตรวจสอบแหล่งสารสนเทศ ค่าบอกรับ ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบ
                    (3)การเข้าถึงและกรรมสิทธิ์
                    (4)ความสามารถในการเข้าถึงต่างระบบ
                    (5)ค่าเสียหาย อาจมีค่าเสียหายหรือการสูญเสียเกิดขึ้น
                  • การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
                    -แจ้งผู้ขอทันที
                    -จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
                    -บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ใช้